ขับเคลื่อน ‘ระบบสุขภาพอำเภอ’ เพื่อเด็กปฐมวัย

ที่มา : แฟนเพจอีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา


ภาพประกอบจากแฟจเพนอีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา


ขับเคลื่อน 'ระบบสุขภาพอำเภอ' เพื่อเด็กปฐมวัย thaihealth


จันทบุรีขับเคลื่อน “ระบบสุขภาพอำเภอ” เพื่อเด็กปฐมวัย


โครงการศูนย์วิชาการเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิธีลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ เพื่อเด็กปฐมวัยพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรี ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องประชุมมณีทิพย์ ชั้น 1 โรงแรมนิวแทรเวิลลอรด์จ อ.เมือง จ.จันทบุรี


ดร.สุคนธ์ วรรธนะอมร อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โครงการศูนย์วิชาการเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ในการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัยตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 6 ปี ให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ซึ่งส่งผลให้เด็กมีระดับสติปัญญาที่ดีและเติบโตเป็นคนดี มีคุณภาพ การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอเพื่อเด็กปฐมวัยกับเทศบาลตำบลเกาะขวาง เทศบาลเมืองท่าช้าง เทศบาลตำบลท่าช้าง จึงเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ ที่จะเกิดแก่เด็กปฐมวัย


โดยมีเป้าหมายศึกษาสถานการณ์ปัญหาความต้องการ ระบบกลไก และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาวะเด็กปฐมวัยที่ สามารถนำไปใช้ในระดับครอบครัวและชุมชน สนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยในพื้นที่แบบก้าวกระโดด พัฒนาระบบติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในระยะยาว พัฒนาระบบส่งต่อการดูแลเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัยระหว่างบ้าน สถานศึกษาและหน่วยบริการสาธารณสุข และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายของเด็กปฐมวัยระดับตำบลและระดับอำเภอ


ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีตามวิสัยทัศน์ ภายใน 5 ปี เด็กปฐมวัยจังหวัดจันทบุรีจะมีความสมบูรณ์ทั้งสมอง กาย ใจและสังคมที่ดี “เมื่อลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้ว จะต้องดำเนินงานใน 8 เรื่อง คือ 1.จัดตั้งคณะทำงานเด็กปฐมวัยระดับตำบล 2.จัดตั้งคณะทำงานเด็กปฐมวัยระดับอำเภอ 3.จัดทำข้อมูลสถานการณ์เด็กปฐมวัยของตำบล 4.จัดเวทีคืนข้อมูลสถานการณ์เด็กปฐมวัยของพื้นที่ 5.จัดทำแนวทางการดูแลการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย 6.จัดทำแนวทางการส่งต่อการดูแลเด็กปฐมวัยระหว่างบ้าน สถานศึกษาและหน่วยบริการสุขภาพ 7.จัดทำข้อเสนอโครงการและผลการดำเนิ นโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เกิ ดจากการใช้ข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่และ 8.จัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อเด็กปฐมวัยของพื้นที่” ดร.สุคนธ์ กล่าว


นายเฉลิมพล ศักดิ์คำ นายกเทศมนตรีเมืองท่าช้าง กล่าวว่า เทศบาลเมืองท่าช้างต้องการดูแลเอาใจใส่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ทั้งหมดเพื่อส่งเสริมให้ลูกหลาน ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง


นายประยุทธ วาสนาวิน นายกเทศมนตรีตำบลเกาะขวาง กล่าวว่า รพ.สต.และ อสม.คือจิตอาสาที่ทำงานกับท้องถิ่นมาโดยตลอดตั้งแต่แรกเกิดจนตาย จึงถือเป็นคนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพเด็กปฐมวัย เนื่องจากเด็กเล็กเป็นวัยที่มีความสำคัญของท้องถิ่น ดังนั้นท้องถิ่นเต็มใจที่จะดูแลเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย


นายพิสุทธิ์ สุรสังข์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กล่าวว่า การมาร่วมกันพัฒนาระบบสุขภาพให้ เกิดขึ้นนั้นต้องรู้ระบบของสุขภาพใน 5 องค์ประกอบหลัก 1.คณะทำงาน โดยผู้บริหารต้องเป็นผู้นำมอบนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 2.กลุ่มเป้าหมาย คือเด็กที่จะต้องดูแลตั้งแต่ในครรภ์ 3.การจัดกิจกรรมหรือบริการที่จำเป็น 4.ความร่วมมือ ทั้งหน่วยงานระดับอำเภอ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข อปท. ศพด. 5.ทำแล้วได้อะไร จะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เกิดระบบที่จะพัฒนาต่อยอดต่อไปได้อย่างไร


ด้าน นายประทีป ประยูรยิ้ม ปลัดอำเภอเมืองจันทบุรี รักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองจันทบุรี กล่าวว่า จันทบุรีขอฝากความหวังไว้ที่ทุกคน เราจะเดินหน้าพร้อมกันทุกหน่วยงาน บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2-5 ปี ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

Shares:
QR Code :
QR Code