ขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ที่มา : ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคเหนือตอนบน
ภาพประกอบจากเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดลำปาง
เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดลำปางจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยง 2559 – 2560
วันที่ 25 ต.ค.2559 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีหมวดเกล้า ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พระอาจารย์สาธิต ธีรปญฺโญ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาภิวัฒน์และผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดลำปาง เป็นประธานประชุมคณะทำงานเครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดลำปางในการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการจังหวัดยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยงจังหวัดลำปาง 2559 – 2560 เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยงจังหวัดลำปาง
จังหวัดลำปางอยู่ในอันดับที่ 9 ของประเทศที่มีสถิติผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลกระทบภาพลักษณ์ในการจัดงานสงกรานต์ของจังหวัดลำปางอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้งานสงกรานต์ของลำปางมีการเต้นโป๊เปลือย อุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท และพลังหลักจากกลุ่มนักศึกษาของแต่ละสถาบันจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนช่วยกันป้องกัน แก้ไขปัญหา และร่วมกันดูแลเรื่องของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลให้เกิดการก่ออาชญากรรมและการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเนื่องจากปัจจุบันมีการผลิตและการจำหน่ายที่หาซื้อได้ง่ายขึ้น และได้รับแรงกระทบจากโซเชียลที่กำลังมาแรงในด้านของการชักชวน การแนะนำในการดื่มและการโฆษณาขายบนสื่อต่างๆ ผลกระทบทางสังคม ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมในเรื่องของการขับขี่รถ การถูกรถชนจากคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่จนทำให้ประสบกับปัญหา การพิการ ขาดเสาหลักในการดูแลเลี้ยงดูครอบครัว ผลกระทบทางครอบครัว เกิดการลักทรัพย์ การลักเล็กขโมยน้อย เนื่องจากขาดการได้รับการอบรมสั่งสอนของพ่อ แม่และผู้ปกครอง ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจจะมีพ่อ แม่ ผู้ปกครองที่ติดแอลกอฮอล์ ติดการพนันจนละเลยการดูแลแก่เด็กเยาวชนในปกครอง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังส่งผลในเรื่องของการทะเลาะ ตบตีคนในครอบครัวซึ่งเป็นตัวอย่างไม่ดีให้แก่เด็กเห็นแล้วจดจำ ทำให้เกิดการเลียนแบบ
ซึ่งปัจจุบันจำนวนเพศหญิงมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าจำนวนผู้ชายเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 10.2 ต่อปี มีการกระตุ้นจากทางผู้ขายโดยการออกแบบรสชาติ สีสันให้มีความคล้ายคลึงกับเครื่องดื่มธรรมดาทั่วไปและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทำให้เกิดการสับสนในการเลือกเครื่องดื่ม แลการใช้โปรโมชั่น การลด แลก แจก แถม ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการลิ้มลอง รวมถึงการลดขนาดของบรรจุภัณฑ์ลงเพื่อให้สินค้าได้ออกจำหน่ายมากขึ้น การทำของที่ระลึก การทำโฆษณาแฝงบนสื่อต่าง ๆ จนทำให้เกิดการจดจำ ซึ่งการทำการตลาดเหล่านี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กเยาวชน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กำหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีการจำกัดเวลาในการขาย การจำกัดสถานที่มนการจำหน่ายและสถานที่ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ บริเวณวัด สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานที่ราชการ หอพัก สถานศึกษา สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (ทั้งแบบปั๊มหลอด ปั๊มแก็ส) และสวนสาธารณะ สถานที่เหล่านี้ถือเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย หากผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอเพื่อพิจารณาการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารเครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดลำปางการเข้าร่วมงานวิชาการสุราแห่งชาติ ณ โรงแรมรามากาเด้นท์ กรุงเทพมหานคร (คัดเลือกตัวแทนจังหวัดลำปางเข้าร่วม 2 ท่าน)และการคัดเลือกตัวแทนเยาวชนระดับแกนนำ ผู้นำ และมีประสบการณ์ จำนวน 4 คนเพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดลำปาง เข้าร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพเยาวชนนักรณรงค์งดเหล้าของภาค ในวันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน