ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนักจัดระบบชุมชน : ขับเคลื่อนสังคมอย่างมีส่วนร่วม
หลักสูตรนักจัดระบบชุมชน : ขับเคลื่อนสังคมอย่างมีส่วนร่วม
แผนงานเสริมสร้างศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ (นธส.) มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ (มสส.) จัดหลักสูตรนักจัดระบบชุมชน: ขับเคลื่อนสังคมอย่างมีส่วนร่วม ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนงานเชิงรุกระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560) ของสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานของภาคีเครือข่ายสำนัก 9 แกนนำประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนทำงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ให้สามารถเข้าร่วม-หนุนเสริมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมสู่ความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพได้อย่างมีพลัง
หลักสูตรนี้เหมาะกับ
- ภาคีเครือข่ายสำนัก 9 สสส.
- แกนนำผู้ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมกลุ่มต่างๆ
- คนทำงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพให้ผู้ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม
คุณสมบัติผู้สมัคร
- เชื่อเรื่องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพ ผ่านการสร้างการรวมกลุ่มหรือเครือข่ายของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม
- มีประสบการณ์การทำงานเสริมพลังอำนาจให้ประชาชน ผ่านการรวมกลุ่มและจัดระบบการทำงาน เพื่อให้ประชาชนลุกขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว (Active Citizens) มีส่วนร่วมตัดสินใจในนโยบายสำคัญ และสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้
- เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตรได้เต็มเวลา และรับผิดชอบกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ด้วยตนเองได้เต็มที่
- มีบุคคลอ้างอิงซึ่งเป็นที่ยอมรับในชุมชนหรือสังคมอย่างน้อย 2 คน
เป้าหมายของหลักสูตร
- ผู้ร่วมหลักสูตรเข้าใจและรู้จักตนเอง สามารถพัฒนาอำนาจภายใน มองเห็นเส้นทางการเติบโตทางจิตวิญญาณ สามารถดูแลสุขภาวะตนเอง และเชื่อมโยงตนเองเข้ากับการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับองค์กร เครือข่าย และสังคม
- ผู้ร่วมหลักสูตรเชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์และพลังของประชาชนคนธรรมดาในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เข้าใจและเห็นความสำคัญของการสร้างและส่งเสริมการรวมกลุ่มหรือการทำงานเป็นเครือข่ายของกลุ่มคนชายขอบเพื่อร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
- ผู้ร่วมหลักสูตรมีความรู้เรื่องการจัดระบบการรวมกลุ่ม พลังกลุ่ม และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม และมีทักษะในการทำงานจัดระบบชุมชน (Community Organizing) ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งการจัดระบบชุมชนเชิงภูมิศาสตร์ และเชิงประเด็น
กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้
- ใช้วิธีการหลากหลาย เช่น การอบรม อภิปรายแลกเปลี่ยน ลงภาคสนาม สรุปบทเรียน การโค้ช การอ่านหนังสือ เอกสาร และดูภาพยนตร์ รวมทั้งเสริมความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างต่อเนื่อง
- เรียนรู้ร่วมกันผ่านโครงการและงานจริงของผู้ร่วมหลักสูตร โดยผู้จัดกระบวนการเรียนรู้เป็นผู้อำนวยกระบวนการ สร้างพื้นที่ และเกื้อหนุนการเรียนรู้
- นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง และกลับมาแลกเปลี่ยน-สรุปบทเรียนร่วมกัน
- สร้างกลุ่มเพื่อนร่วมทางที่ยึดถือคุณค่าและหลักการทำงานแนวทางเดียวกัน สร้างความไว้วางใจและความรู้สึกปลอดภัยจากการเคารพและเห็นคุณค่าของความแตกต่างหลากหลายภายในกลุ่ม เพื่อการเรียนรู้และเติบโตทั้งในงานและชีวิตอย่างมีความสุข
จัดเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร
หลักสูตรนักจัดระบบชุมชน: ขับเคลื่อนสังคมอย่างมีส่วนร่วมเป็นหลักสูตรระยะ 1 ปี 6 เดือน (อบรมต่อเนื่อง 9 ครั้ง ครั้งละ 3-5 วัน โดยจัดคร่อมวันหยุดยาวหรือวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ละครั้งจัดห่างกันหนึ่งถึงสองเดือน และทริปดูงานในประเทศ 1 ครั้ง) โดยในปี พ.ศ. 2558 – 2560 จะเปิดอบรม 2 รุ่น รุ่นละ 10-15 คน
รุ่นที่ 1 มิถุนายน 2558 – พฤศจิกายน 2559
รุ่นที่ 2 สิงหาคม 2559 – มกราคม 2561
สถานที่จัด : เน้นพื้นที่ที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกัน เงียบสงบ และส่งเสริมเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เช่น
เรือนร้อยฉนำ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ถนนเจริญนคร กรุงเทพฯ
อาศรมวงศ์สนิท คลอง 15 ถนนรังสิต-องครักษ์ นครนายก
ศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม อำเภอแม่ริม เชียงใหม่
และในพื้นที่ปฏิบัติงานจริงของผู้ร่วมหลักสูตร
อบรมครั้งที่ 1 ฐานคิดสำหรับคนทำงานเพื่อความเป็นธรรมกับคนชายขอบ โดย อวยพร เขื่อนแก้ว
- กรอบวิเคราะห์เรื่องความไม่เป็นธรรมระดับโครงสร้างและความไม่เป็นธรรมที่ทับซ้อนในคนชายขอบอัตลักษณ์ต่างๆ
- กรอบวิเคราะห์เรื่องอำนาจ
- การฟื้นฟูอำนาจภายในของผู้ได้รับผลกระทบจากการเป็นชายขอบ
- ภาวะการนำและโครงสร้างองค์กรแบบนำร่วม
- ขบวนการเคลื่อนไหวสังคมของกลุ่มคนชายขอบ และบทบาทกัลยาณมิตรที่สนับสนุนคนชายขอบในการทำงานสร้างความเป็นธรรม
- การทำงานสร้างความเป็นธรรม 3 รูปแบบ คือ การบริการสังคม การพัฒนาสังคม และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม
- สุขภาวะของปัจเจกที่เชื่อมกับบริบทสังคม การแปรเปลี่ยนอารมณ์ลบจากการทำงาน การฝึกสติในชีวิตประจำวัน โยคะ และการใช้ฐานกายเพื่อดูแลสุขภาวะ
อบรมครั้งที่ 2 การจัดระบบชุมชน 1 โดย ศรินพร พุ่มมณี
- การผสมกลมกลืนและการศึกษาชุมชน (Integration and Social Investigation) ทำความรู้จักชุมชน-พื้นที่เป้าหมาย ทำความเข้าใจบริบท ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ ระบบคุณค่า โครงสร้างของชุมชน ปัญหา ฯลฯ รวมทั้งวิเคราะห์โครงสร้างอำนาจและความสัมพันธ์ในชุมชน
- การเลือกประเด็นทำงาน (Identifying Issue) เลื่อกเรื่องที่มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก คนในชุมชนรู้สึกรุนแรงต่อเรื่องนั้น
- เป็นปัญหาที่เอาชนะได้ในเวลาไม่นาน สามารถสร้างแนวร่วมในการทำงาน และขยายผลไปสู่ประเด็นอื่นได้
อบรมครั้งที่ 3 การจัดระบบชุมชน 2 โดย ศรินพร พุ่มมณี
- การซ้อมบทบาท (Role Playing) ฝึกคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในการเจรจากับผู้มีอำนาจ และการเตรียมตัวรับมือ
- การกำหนดแผนงานเบื้องต้นสำหรับการเคลื่อนไหว (Tentative Plan of Action) เตรียมกรอบการทำงานแบบกว้างๆ สำหรับการปฏิบัติการ เพื่อให้การเคลื่อนไหวมีทิศทาง
- การทำงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม (Groundwork) การพุดคุยให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย และกระตุ้นให้เข้าร่วมแก้ไขปัญหา เป็นโอกาสของการแลกเปลี่ยนเชิงลึก และเตรียมความพร้อมในการทำงานร่วมกัน
- การอำนวยการประชุม (Meeting) สร้างเวทีเพื่อวางแผน จัดบทบาท และตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดอำนาจและความมั่นใจร่วมกันในการทำงาน
อบรมครั้งที่ 4 การปฏิบัติการสันติวิธีและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ โดย กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
- ความหมายของความรุนแรง
- การจัดการความขัดแย้ง 3 รูปแบบ คือ การยอมจำนน การใช้ความรุนแรง และปฏิบัติการไร้ความรุนแรง
- การจัดองค์กรของขบวนการไม่ใช้ความรุนแรง และการออกแบบปฏิบัติการไร้ความรุนแรง
- ภาพขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างความสำเร็จ-ความล้มเหลว และการขยายตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่
- การวิเคราะห์ขบวนการทางสังคมแต่ละรูปแบบ กลยุทธ์ สภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ และการเชื่อมโยงสู่การเคลื่อนไหวรูปแบบอื่นๆ
อบรมครั้งที่ 5 การจัดระบบชุมชน 3 โดย ศรินพร พุ่มมณี
- การรวมคน/การปฏิบัติการ (Mobilization/Action) ปฏิบัติการของกลุ่มเป้าหมายในการเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจ เป็นการฝึกใช้อำนาจจริงในการเผชิญหน้า ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองเพิ่มขึ้น และพัฒนาจิตสำนึกเรื่องความเท่าเทียม
- การประเมินผล (Evaluation) ทบทวนการทำงานหลังปฏิบัติการว่ามีอะไรที่เรียนรู้เพิ่มขึ้น
- การทบทวนย้อนมองตนเอง (Reflection) เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผล เพื่อย้อนดูคุณค่าและค่านิยมต่างๆ ที่พยายามสร้างขึ้นในองค์กรชุมชน ได้แก่ การเสียสละ บทบาทของผู้นำ และการใช้อำนาจ อาจแทรกการวิเคราะห์สังคมร่วมด้วย
อบรมครั้งที่ 6 การจัดระบบชุมชน 4 โดย ศรินพร พุ่มมณี
- การจัดระบบองค์กรประชาชน (People’s Organization) พัฒนายกระดับการทำงาน เพื่อเชื่อมเครือข่ายกับประเด็นใหญ่หรือเชิงนโยบายมากขึ้น เช่น ที่อยู่อาศัย ทรัพยากร โดยวิเคราะห์เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ให้เห็นประเด็นร่วมกับเครือข่ายอื่น เห็นความสำคัญของการร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านการหนุนช่วยกัน และจัดระบบเครือข่ายเชิงประเด็น
- การเข้าร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่นๆ (Movement) ความสำคัญของการทำงานเป็นขบวนการ ความคิดเชิงยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์สถานการณ์สังคมปัจจุบัน ร่วมสร้างจินตภาพสังคมใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามประเด็น และหนุนช่วยระหว่างประเด็นและเครือข่าย
อบรมครั้งที่ 7 การวิเคราะห์สังคม และปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health) โดย ประชา หุตานุวัตร
- กระบวนทัศน์ใหม่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แบบใหม่ จิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน
- ความคิดแบบเอเชียกับการกระบวนทัศน์ใหม่
- เข้าใจอุดมการณ์แบบต่างๆ: เสรีนิยมและประชาธิปไตย ทุนนิยมและสังคมนิยมสังคมประชาธิปไตยและสรีนิยมเพื่อสังคม โลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์การเมืองใหม่
- วิเคราะห์สังคมไทย ภาพรวมสังคมไทยกับการเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัย การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมไทย และการต่อสู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ภาพฝันใหม่สำหรับสังคมไทยในอนาคต และการก้าวย่างสู่ความฝัน
- ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอบรมครั้งที่ 8 และ 9 การจัดระบบชุมชน 5 และ 6 โดย ศรินพร พุ่มมณี
- การจัดระบบองค์กรประชาชน (People’s Organization) และการเข้าร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่นๆ ต่อเนื่องจากการจัดระบบชุมชน 4
ค่าใช้จ่ายในการร่วมหลักสูตร
สำหรับแกนนำผู้ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมกลุ่มต่างๆ แผนงาน นธส. สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมทั้งค่าเดินทางมาร่วมกระบวนการเรียนรู้ ส่วนคนทำงานภาครัฐ เอกชน และภาคีเครือข่ายของสำนัก 9 สสส. แผนงานฯ สนับสนุนเฉพาะค่าใช้จ่ายในกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น และขอให้ท่านหรือหน่วยงานของท่านดูแลค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาร่วมกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
กำหนดการสมัครเข้าร่วมหลักสูตร
รับสมัครผู้ร่วมหลักสูตร รุ่น 1
ดาวน์โหลดใบสมัครที่ เฟสบุ๊ค แฟนงานนธส. หรือ http://goo.gl/GhBjCp
ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ที่แผนงานนธส.
เลขที่ 126/146 ชั้น 3 ซ.บำราศนราดูร
อาคารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อาคาร 10
ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
อีเมล : [email protected]
โทรศัพท์/โทรสาร : 02-580-2612
ตั้งแต่วันนี้ถึง 5 พ.ค. 2558
10 เม.ย. – 5 พ.ค. 2558
โทรศัพท์ยืนยันการส่งใบสมัครที่ผู้ประสานงานหลักสูตร
โทร: 08-8269-1942, 08-4923-2317, 08-9787-1880
28 เม.ย. 2558
งาน “เปิดบ้านนธส.” แนะนำแผนงานนธส. และหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) งามดูพลี
เวลา 09:00 – 17:00 น
ลงทะเบียนล่วงหน้าที่ เฟสบุ๊ค แผนงานนธส.
หรืออีเมล [email protected]
12 พ.ค. 2558
ประกาศรายชื่อผู้ได้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่เฟสบุ๊ค แผนงานนธส.
19 – 20 พ.ค. 2558
กระบวนการสัมภาษณ์ โดยคณะอำนวยการหลักสูตร
21 พ.ค. 2558
ประกาศรายชื่อผู้ร่วมหลักสูตรรุ่น 1 ที่ เฟ