ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย ภายใต้กรอบหัวข้อ “การส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีในท้องถิ่น”

ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย
ภายใต้กรอบหัวข้อ “การส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีในท้องถิ่น”
๑. ชื่อโครงการ
“ประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย”
๒. ผู้ดำเนินโครงการ
คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ส่งเสริม และฟื้นฟูประเพณีไทย และองค์กรร่วมจัด ๑๑ องค์กร
๓. ความเป็นมาของโครงการ
ประเพณี เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่าง ๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะด้านศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของ พุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงาม เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณ
ความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประเพณีอันดีงามของประเทศไทยไปในทางที่เสื่อมลง ประกอบกับขาดสื่อในการถ่ายทอดเจตนารมณ์ หรือสาระสำคัญที่ถ่องแท้ของประเพณีนั้น ๆ ทำให้เกิดการบิดเบือนของประเพณี คณะอนุกรรมาธิการศึกษา ส่งเสริม และฟื้นฟูประเพณีไทย ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับประเพณีที่สำคัญต่าง ๆ ของไทย และเห็นว่าอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงได้มีการจัดสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง “วิกฤติประเพณีไทย : แก้อย่างไร ใครจะแก้?” เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ ซึ่งจากการสัมมนาและระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนา ได้มีข้อคิดเห็นและข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งคือ ควรปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยการจัดวิชาที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือหน่วยงานของรัฐ อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ รวมตลอดจนสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทย ให้คงอยู่สืบต่อไป คณะอนุกรรมาธิการศึกษา ส่งเสริม และฟื้นฟูประเพณีไทย เห็นว่า การจะให้เยาวชนได้มีการตระหนักถึงสาระสำคัญของประเพณีนั้น ๆ จะต้องเริ่มจากการให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการเข้าไปศึกษาประเพณีนั้นๆ อย่างถ่องแท้ โดยให้นักเรียน นักศึกษา ได้สร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น เกี่ยวกับประเพณีไทย อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่มั่วสุมในแหล่งอบายมุข และสารเสพติด คณะอนุกรรมาธิการ จึงได้เสนอให้คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา จัดโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย ขึ้น
๔. วัตถุประสงค์
๔.๑ เพื่อสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้เข้าใจสาระสำคัญของอัตลักษณ์ชุมชนและประเพณีไทยในท้องถิ่นอย่างถ่องแท้
๔.๒ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะต่อกลุ่มเยาวชนด้าน งานผลิตภาพยนตร์สั้นให้สามารถรับใช้สังคม และประชนอย่างสร้างสรรค์และทันสถานการณ์
๔.๓ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๕. กลุ่มเป้าหมาย
๕.๑ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ม.๓) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ม.๖)
๔.๒ นักเรียนระดับอาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๕.๓ นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
๖. รายละเอียดของโครงการ และกรอบระยะเวลาดำเนินการ
๖.๑ ระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการ (กันยายน ๒๕๕๖ – เมษายน ๒๕๕๗)
กันยายน – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
๑ พฤศจิกายน – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ – ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗
๑ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๗ มีนาคม ๒๕๕๗
๒ เมษายน ๒๕๕๗
  • ประชาสัมพันธ์โครงการและประกาศรับสมัคร
  • จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดทำภาพยนตร์สั้นและให้ความรู้เกี่ยวประเพณีไทย
  • รับผลงาน
  • ตัดสินผลงาน
  • ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล
  • จัดพิธีมอบรางวัล
๖.๒ งบประมาณ
๑. ค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินโครงการ
– ค่าจัดทำโปสเตอร์และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ = ๓๐,๐๐๐ บาท
๒. ค่าใช้จ่ายสำหรับการมอบรางวัล
๒.๑ เงินรางวัล
รางวัลแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ประกอบด้วย
(๑) รางวัลที่ ๑ จำนวน ๑ รางวัล
รางวัลละ ๓๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๔ ระดับ
(๑ รางวัล x ๓๐,๐๐๐ บาท x ๔ ระดับ) ๑๒๐,๐๐๐ บาท
(๒) รางวัลที่ ๒ จำนวน ๑ รางวัล
รางวัลละ ๒๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๔ ระดับ
(๑ รางวัล x ๒๐,๐๐๐ บาท x ๔ ระดับ) ๘๐,๐๐๐ บาท
(๓) รางวัลที่ ๓ จำนวน ๑ รางวัล
รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๔ ระดับ
(๑ รางวัล x ๑๐,๐๐๐ บาท x ๔ ระดับ) ๔๐,๐๐๐ บาท
(๔) รางวัลชมเชย จำนวน ๒ รางวัล
รางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๔ ระดับ
(๒ รางวัล x ๕,๐๐๐ บาท x ๔ ระดับ) ๔๐,๐๐๐ บาท = ๒๘๐,๐๐๐ บาท
๒.๒ ค่าโล่รางวัล
(๑,๕๐๐ บาท x ๒๐ รางวัล) = ๓๐,๐๐๐ บาท
๒.๓ ค่ากรอบใบประกาศเกียรติคุณ
(๕๐๐ บาท x ๒๐ รางวัล) = ๑๐,๐๐๐ บาท
รวมประมาณทั้งสิ้น = ๓๕๐,๐๐๐ บาท
๖.๓ ประเภทผู้มีสิทธิได้รับรางวัล
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา โดยจะได้รับเงินรางวัล โล่รางวัล และเกียรติบัตร โดยรางวัล แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่
(๑) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
– รางวัลที่ ๑ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๒ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๓ ๑ รางวัล
– รางวัลชมเชย ๒ รางวัล
(๒) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
– รางวัลที่ ๑ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๒ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๓ ๑ รางวัล
– รางวัลชมเชย ๒ รางวัล
(๓) ระดับอาชีวศึกษา
– รางวัลที่ ๑ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๒ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๓ ๑ รางวัล
– รางวัลชมเชย ๒ รางวัล
(๔) ระดับอุดมศึกษา
– รางวัลที่ ๑ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๒ ๑ รางวัล
– รางวัลที่ ๓ ๑ รางวัล
– รางวัลชมเชย ๒ รางวัล
๖.๔ คุณสมบัติทั่วไปผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
(๑) คุณสมบัติของผู้แข่งขัน
(๑) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ม.๓)
(๒) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ม.๖)
(๓) ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.)
(๔) ระดับอุดมศึกษา
(๒) ประเภทและจำนวนผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
๒.๑ แข่งขันเป็นทีม ทีมละ ๓ – ๕ คน
โดยระดับที่ ๑) เน้นเรื่องประเพณีในท้องถิ่น และระดับที่ ๒) – ๔) เน้นแนวคิดของการส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีไทย
๒.๒ ประเภทผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
(๑) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ม.๓)
(๒) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ม.๖)
(๓) ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.)
(๔) ระดับอุดมศึกษา
๒.๓ วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน
๒.๓.๑ ส่งใบสมัครพร้อมรายชื่อทีมผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
๒.๓.๒ ผลิตภาพยนตร์สั้นในกรอบหัวข้อ “การส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีไทยในท้องถิ่น” โดยประเพณีแบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ
(๑) ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา เป็นประเพณีเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนาหรือการทำกิจกรรมที่มุ่งหวังให้ได้บุญ
(๒) ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองของสังคมโดยทั่วไปจะมีระยะเวลา สถานที่และกลุ่มคนชัดเจน
(๓) ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
(๔) ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในด้านเกษตรกรรม การประมงหรือการล่าสัตว์
๒.๓.๓ กติกาและเงื่อนไข :
• ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้กำลังศึกษาในระดับตามข้อ ๒.๒
• ทีมผู้ส่งผลงานเข้าประกวดประกอบด้วยหัวหน้าทีมและผู้ร่วมทีม ทีมละ ๓ – ๕ คน
• ส่งภาพยนตร์สั้นเข้าประกวดได้ทีมละ ๑ เรื่อง
• ความยาวไม่เกิน ๑๒ นาที
• ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถตั้งชื่อเรื่องได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับหัวข้อ (theme) และเนื้อหา
• ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องผลิตภาพยนตร์สั้นด้วยกล้องวีดีโอดิจิตอลและต้องเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์และดำเนินการผลิตเองทั้งหมด
• ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องส่งโครงเรื่องย่อ (plot) ความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ พร้อมส่งแผ่น dvd ที่บันทึกผลงานภาพยนตร์สั้น ภายในกำหนดระยะเวลารับผลงาน
• ภาพยนตร์สั้นที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่ โดยไม่เคยส่งประกวดหรือได้รับรางวัล หรือเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนทางสื่อใด ๆ มาก่อน
๒.๓.๔ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องส่งผลงานตามข้อ ๖.๕
๒.๓.๕ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
๒.๓.๖ ผลงานทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย หัวข้อ “การส่งเสริมและฟื้นฟูประเพณีไทยในท้องถิ่น” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ส่งเสริม และฟื้นฟูประเพณีไทย ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
๖.๕ สถานที่ส่งผลงาน
ระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
ภาคเหนือ :
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔ (เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน)
อาคารอำนวยการกลาง ชั้น ๔,๕ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่
ภาคใต้ :
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖ (สงขลา – สตูล)
อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ถ.สะเดา ต.บ่อยาง
อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา ๙๐๐๐๐
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ (ขอนแก่น)
เลขที่ ๑๐๐/๑ หมู่ที่ ๑๕ ถนนกสิกรทุ่งสร้าง ตำบลศิลา อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ ๔๐๐๐๐
ภาคกลาง :
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ห้องสมุด ชั้น ๓ อาคารทำการ
ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
ระดับอาชีวศึกษา (อยู่ระหว่างการประสานงาน)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ที่อยู่ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
ระดับอุดมศึกษา (อยู่ระหว่างการประสานงาน)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ที่อยู่ อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
หมายเหตุ วงเล็บมุมซองว่า ส่งโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย
๖.๖ สิ่งที่ต้องส่ง
๑. ใบสมัคร กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์
๒. ผลงานประกวด
๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้สมัครและลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
๔. สำเนาบัตรนักเรียน นักศึกษาและนิสิต
๖.๗ วิธีการส่งผลงาน
– ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์เท่านั้น (โดยให้ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)
๖.๘ เกณฑ์การคัดเลือก
จะพิจารณาจากเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
(๑) แก่นเรื่อง (theme) ความสมบูรณ์สอดคล้องของเนื้อหาตามกรอบหัวข้อ
(๒) เทคนิคของภาพยนตร์ เช่น การจัดภาพ มุมกล้อง การเก็บภาพ การตัดต่อ
(๓) ความสมบูรณ์และการทำหน้าที่ของภาพยนตร์ (film functions)
(๔) ระบบเสียง ระบบภาพ มีความสัมพันธ์ เสียงชัดเจน
(๕) บทภาพยนตร์
แผนการดำเนินโครงการ
จัดประกวดภาพยนตร์สั้นเพื่อส่งเสริมประเพณีไทย
ของคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ส่งเสริม และฟื้นฟูประเพณีไทย
ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(กันยายน ๒๕๕๖ – เมษายน ๒๕๕๗)
หมายเหตุ
จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดทำภาพยนตร์สั้นและความรู้เกี่ยวกับประเพณีไทย จำนวน ๔ ครั้ง ได้แก่
๑. ภาคเหนือ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔ (เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน) กลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
๒. ภาคใต้ วันศุกร์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖ (สงขลา – สตูล) กลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ (ขอนแก่น) กลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
๔. ภาคกลาง ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ให้ความรู้ ๓ ระดับ กลุ่มเป้าหมาย ๑๕๐ คน ได้แก่
๔.๑ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ม.๓) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ม.๖) กลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
๔.๒ ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.) กลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
๔.๓ ระดับอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
ที่มา : คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
Shares:
QR Code :
QR Code