ก่อนดูแล ‘โลก’ หันมาดูแล ‘ตัวเรา’ ให้พร้อมก่อน

วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง

 

ก่อนดูแล ‘โลก’ หันมาดูแล ‘ตัวเรา’ ให้พร้อมก่อน            หนูดี ชื่อเรียกติดปากของสาวสวยอย่าง วนิษา เรซ เป็นที่รู้จัก เมื่อเธอถูกนำเสนอผ่านสื่อ ในการเปิดบริษัท ทำหลักสูตรเพื่ออบรมเรื่อง สมองกับ 3 ภารกิจที่ดำเนินการอยู่ คือ โรงเรียนวนิษา ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว แล้วยังมีธุรกิจเกี่ยวกับงานเขียน สิ่งพิมพ์เป็นของ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ รวมถึงการดูแลงาน มูลนิธิมหาชนแห่งปัญญา ซึ่งร่วมกับน้องสาวตั้งขึ้น

 

            หนูดี ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการฝึกดูแล สมองพร้อมกับให้คำแนะนำการเริ่มฝึกดูแลสมองของคนเราด้วยวิธีเริ่มต้นที่ว่า ความคิดไม่หยุดนิ่ง จึงมักจะคิดถึงโครงการใหญ่ๆ อาจดูน่ากลัว ใช้เวลาวางแผนนาน แต่ที่สุดไม่ได้ลงมือทำ

 

            เธอจะพูดเสมอว่า อย่าคิดว่าการดูแลสมองเป็นเรื่องใหญ่เกินไป ให้เริ่มคิดว่านับแต่ก่อนออกจากบ้าน ขับรถ เพียงหายใจเข้าออกช้าๆ 3 ครั้ง เป็นการทำให้สมองปรับเข้าสู่คลื่นที่ช้าลง ตั้งสติขับรถได้ปลอดภัยมากขึ้น ถือเป็นการดูแลสมองอันหนึ่ง

 

            แม้แต่การยิ้ม เดิมทีเธอคิดว่า ยิ้มอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าปรับให้ยิ้มยกมุมปากขึ้น สมองมีการหลั่งสารเอนโดรฟิน หรือสารเคมีความสุขออกมาเพราะจากงานวิจัยเกี่ยวกับการยิ้ม ระบุว่าถ้าจะยิ้ม มีลักษณะยิ้มอันหนึ่ง อันหนึ่ง ทำให้สมองหลั่งสารเคมีความสุขได้จริงคือ ต้องยิ้มแบบจริงใจมากๆ ถ้ายิ้มอย่างนี้ 15 ครั้ง สมองจะหลั่งสารเคมีความสุขออกมาเพียงพอที่จะดึงอารมณ์เสียๆ ได้ดีขึ้น

 

            ฉะนั้นถ้าโมโหใคร อาจยิ้มให้คนสัก 15 คน ก็เป็นวิธีการดูแลสมองซึ่งได้ผลทางวิทยาศาสตร์จริงๆ และหนูดีเธอได้เริ่มสิ่งเหล่านี้เล็กๆ น้อยๆ จนทำให้เราอยากและกล้ามากขึ้นที่จะดูแลสมอง ไปจนถึงวิธีเปิดเพลงทำให้เราสุขใจยามอาบน้ำ หรือเวลาจับดอกไม้ จับพืช สมองเราสั่งเวลาจับพืช กับจับโลหะให้ผลต่างกัน เทียบกันไม่ได้ เหตุผลเหล่านี้ทำให้ หนูดีปลูกต้นไม้มากมาย

 

                                                                  การดูแลสมอง ก็เหมือนดูแลร่างกาย happy body ให้มีสุขภาพแข็งแรง ส่งผลถึงการดูแลการใช้ชีวิต เป็นการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน เป็นคำตอบที่หนูดี แจกแจงมาพร้อมกันที่ว่า คุณภาพชีวิตคนทำงานเธอเริ่มจากชีวิตส่วนตัวก่อน จากมุมมองที่ว่า ชีวิตทั้งชีวิต 24 ชั่วโมง ทำอย่างไรให้มีคุณภาพ

 

            เธอยกตัวอย่างว่า ถ้าเราใช้ชีวิตในที่ทำงานมีคุณภาพ 8-10 ชั่วโมง แล้วกลับบ้านไปอยู่เหงาหงอยคนเดียว เข้านอนแบบเศร้าๆ แล้วตื่นมาแบบไม่มีความสุข ไม่มีพลังงานอยากทำสิ่งต่างๆ ต่อ คงไม่ใช่ เวลามองชีวิตส่วนเธอจึงมองเป็นสมองมากกว่า ที่ว่าใช้ชีวิตแบบให้เกียรติสมอง

 

            ด้วยการจัดระเบียบในที่ทำงานให้สมอง เช่นเรานั่งในที่ทำงานตลอดให้ลุกเดินไปเดินมาด้วย เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้สมอง เลือกเพื่อนร่วมงานให้คิดเชิงบวก เพื่อป้อนความคิดเชิงสร้างสรรค์ให้สมอง ใส่ใจที่จะออกกำลังกายกินอาหารที่ดีกับสุขภาพ กลับบ้านมีเวลาพักนิ่งๆ สักครึ่งหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน

 

            เป็นความโชคดีอีกอย่าง หนูดีบอกว่าเธอปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว ได้นั่งสมาธิ คนเราลงทุนเวลาวันละ 10-12 นาที เช้าหรือเย็นในการปฏิบัติตนดึงตัวเองออกจากโลกมาสังเกตการณ์ เพื่อทำให้เราแยกสิ่งรอบตัวได้

 

            ดังนั้น ใครที่อยากสร้างสมดุลชีวิต อยากให้ใช้วิธี “ตั้งเวลา” มากกว่าวิธี “แบ่งเวลา” เพราะโครงสร้างของชีวิตคนๆ หนึ่ง ต้อนค้นหาว่ามีอะไรบ้าง ที่ทำให้เรามีความสุข เราต้องการทำอะไร ส่วนตัวของหนูดี ให้การมีเวลาอยู่กับตัวเอง เวลาท่องเที่ยว เวลานั่งนิ่งๆ เวลาพบปะครอบครัว เป็นการ “ตั้งเวลา” ไว้ก่อน แล้วค่อยจัดงานลงไปตามเวลา

 

            คนเราต้องมีเวลาหยุดคิดเกี่ยวกับชีวิตที่มีมากมาย ตัวหนูดีเองเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตมาแล้ว กระทั่งอาจารย์คนหนึ่ง เคยพูดคำหนึ่งว่าเวลาจะคิด เราออกไปช่วยโลก อย่าคิดว่า โลก มีอะไรให้ช่วยขนาดนั้น เราเริ่มจากการช่วยตัวเองก่อน แล้วก็อย่าลืมว่าโลกอยู่มาได้เป็นล้านปีมาก่อนจะมีเราแล้ว ก็จะอยู่ไปอีกเป็นล้านปีโดยที่ไม่มีเรา เพราะฉะนั้น เริ่มจากการที่ดูแลตัวเองก่อน

 

            ฉะนั้น เธอจึงไม่แนะนำและไม่เห็นด้วยกับการให้ใช้ชีวิตแบบทำงานทำงานๆๆ แล้วลืมตัวเอง คุณภาพชีวิตก็ไม่เกิดขึ้น

 

            การตั้งเวลา จะนำไปสู่เป้าหมายที่เราวางไว้ได้ชัดเจน ในสิ่งที่ปรารถนา อยากทำ อยากได้ อยากประสบความสำเร็จในเรื่องใด

 

            การวางแผนชีวิตของหนูดี ใช้เวลาเริ่มจาก ตอนจบก่อน สมมติว่าหนูดีเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี มานั่งย้อนตอน 70, 60, 50 เรื่อยมาถึง 30 ปี คิดว่าหนูดีอยากทำอะไร เหมือนนักธุรกิจต้องเริ่มตนด้วยตนเองก่อน

 

            หนูดีจึงมองว่า คุณภาพชีวิตคนทำงาน น่าจะเริ่มที่เป้าหมายของเราแต่ละปีของชีวิตการทำงาน สอดคล้องกับเป้าหมายทั้งชีวิต และเป้าหมายสำคัญขององค์กรหรือไม่

 

            การวางแผนเพื่อเป้าหมาย คือการจัดการคุณภาพชีวิตให้มีคุณค่าที่ดี

 

 

 

 

 

 

ที่มา: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเยาวชน

 

 

 

update 11-06-51

Shares:
QR Code :
QR Code