กิจกรรมทางกาย คือตัวช่วยการเผาผลาญที่ดีสำหรับเด็ก ๆ
ที่มา : คู่มือแนวทางโรงเรียนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย
แฟ้มภาพ
ในทุก ๆ วันของสัปดาห์เด็กและวัยรุ่นควรมีกิจกรรมทางกาย ระดับปานกลางถึงระดับหนักเฉลี่ยอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน โดยกิจกรรมทางกายที่ทำส่วนใหญ่ควรเป็นกิจกรรมแบบแอโรบิก
กิจกรรมแบบแอโรบิก (Aerobic Activity) หมายถึง กิจกรรมที่ต้องหายใจขณะ เคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังเพื่อนำเอาออกซิเจนเข้าไปเป็นตัวช่วยในการเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการทำกิจกรรม ส่วนใหญ่จะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานหรือกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การกระโดด การปั่นจักรยาน หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น ขณะที่กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบทต่าง ๆ ที่ครอบคลุมกิจกรรมใน 3 ด้าน ดังนี้
1. กิจกรรมทางกายในการทำงาน (Work-related Activity) ที่ครอบคลุมถึงการทำงานต่าง ๆ ทั้ งที่ได้รับหรือไม่ได้รับค่าจ้าง เช่น การศึกษา/ฝึกอบรม การทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนหรือห้องเรียน การทำงานบ้าน/กิจกรรมในครัวเรือน การทำงานเกษตรกรรม เป็นต้น
2. กิจกรรมทางกายในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Transportation, or Travel from Place to Place) ด้วยการเดิน หรือปั่นจักรยานเพื่อการสัญจร เช่น การเดินทางไปโรงเรียน การเดินทาง เพื่อไปจับจ่ายใช้สอย/ซื้อเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปตลาด ไปทำบุญ หรือ ไปศาสนสถาน เป็นต้น
3. กิจกรรมทางกายเพื่อนันทนาการ หรือกิจกรรมยามว่าง (Leisure time, or Recreational Activity) เช่น การออกกำลังกาย และเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ การเต้นรำ กิจกรรมนันทนาการที่ปฏิบัติ ในเวลาว่าง เป็นต้น
ทั้งนี้ กิจกรรมทางกายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ นั้น ควรเป็นกิจกรรมที่มีระดับความหนักปานกลางถึงระดับหนัก ซึ่งมีวิธีการสังเกตหรือ แยกระดับความหนักของกิจกรรมทางกาย ดังนี้
1) กิจกรรมทางกายระดับปานกลาง (Moderate Intensity) หมายถึง กิจกรรม ที่ต้องเคลื่อนไหว ออกแรง และใช้พละกำลัง ของร่างกายในระดับปานกลาง ส่งผลให้การ หายใจเร็วขึ้นพอสมควร และอัตราการเต้น ของหัวใจเพิ่มขึ้นจากปกติเล็กน้อย แต่ไม่ถึง กับมีอาการหอบ มีเหงื่อซึม สามารถพูด เป็นประโยคได้
2) กิจกรรมทางกายระดับหนัก (Vigorous Intensity) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ออกแรง และใช้พละกำลังของร่างกายอย่าง หนัก ส่งผลให้มีการหายใจแรง และ อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วขึ้น อย่างมาก ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ หรือ ไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้