กำจัดลูกน้ำยุงลาย ลดไข้เลือดออก

ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


เร่งกำจัดลูกน้ำยุงลาย ลดไข้เลือดออก thaihealth


แฟ้มภาพ


สธ.สงขลาหนุนมาตรการเข้มจัดการลูกน้ำยุงลาย พาหะโรคไข้เลือดออก พร้อมแนะจัดเก็บขยะในชุมชน เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์  ป้องกันโรคไข้เลือดออก


นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ในฐานะประธานพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์” ร่วมใจปราบยุงลาย ต้านภัยไข้เลือดออก” ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสงขลา กล่าวว่า ในปีนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม –17 มีนาคม 256 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของ จ.สงขลา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 1,563 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 10 -14 ปี 344 ราย รองลงมากลุ่มอายุ 5-9 ปี 278 ราย และอายุ กลุ่มอายุ 15-19 ปี 236 ราย


นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ “ ป้องกันไม่ให้ยุงเกิด และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ” โดยการป้องกันไม่ให้ยุงเกิด ก็คือ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย และการป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั่นเอง ซึ่งขอให้ปฏิบัติ 3 เก็บ คือ 1) เก็บบ้าน ให้สะอาด ให้โปร่ง โล่ง ไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 2) เก็บขยะเศษภาชนะ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3) เก็บน้ำ ปิดภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ รวมทั้ง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัว การขัดล้างขอบภาชนะ เพื่อขัดไข่ยุงลายก่อนล้างภาชนะ ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติ 3 เก็บ อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ส่วนการป้องกันยุงกัด ได้แก่ ทายากันยุง จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า นอนกางมุ้ง เป็นต้น


นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกยังความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น การซื้อยามากินเอง หรือใช้ยาแก้ปวดลดไข้ประเภทแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือ กลุ่มเอ็นเสด และ สเตียรอยด์ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะ เลือดออกได้ง่ายและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนั้นหากมีไข้สูงลอยระยะนี้ ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออก ขอให้ใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล และการเช็ดตัวลดไข้ หากเป็นไข้แล้ววันที่สองไข้ไม่ลดลงให้รีบไปพบแพทย์ หรือไปสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

Shares:
QR Code :
QR Code