การสื่อสารในครอบครัว เพิ่มความรักความเข้าใจ

     /data/content/24821/cms/e_cdqrsux23459.jpg    


          การสื่อสารที่ดีมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตคู่ของคุณอย่างยิ่ง เพราะในชีวิตประจำวันของคุณจะต้องสื่อสารกับคนรักและคนรอบข้างอยู่เสมอ หากคุณมีการสื่อสารที่ดีก็จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาจากการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน หรือการเข้าใจผิด คุณควรใช้การสื่อสารบอกความรักความห่วงใยที่คุณมีต่อคนรัก รวมทั้งใช้การสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่มีด้วย


          เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคู่สมรสที่อยู่กันอย่างทุกข์ใจกับคู่ที่อยู่กันอย่างมีความสุข พบความแตกต่างที่น่าสนใจดังนี้


          คู่ที่มีความสุข


          มีอารมณ์ขัน สดชื่น ยิ้ม และหัวเราะให้กันมากกว่า


          มีคำพูดที่ให้กำลังใจมากกว่า


          แม้อีกฝ่ายหนึ่งพูดไม่ดีมาอีกฝ่ายก็จะใจเย็น


          ยอมรับว่าตนผิดได้ และไม่ปกป้องตนเอง


          รับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายมากกว่า


          เห็นพ้องต้องกันมากกว่าจะขัดแย้งกัน ช่วยกันแก้ไขปัญหามากกว่าจะทะเลาะกัน (ประนีประนอม ร่วมกันคิด หาทางออก แสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น


          คู่ที่มีความทุกข์


          อารมณ์เสียบ่อยกว่า ไม่ค่อยแสดงอารมณ์เชิงบวก (ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ)


          มักมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันในเชิงลบ


          ชอบหาเรื่อง ชอบมองเชิงลบ จับผิด


          ต่างฝ่ายมักจะปกป้องตัวเอง ไม่ยอมรับผิด


          ไม่ค่อยรับฟังความเห็นของอีกฝ่าย


          ทะเลาะกัน และมีปฏิกิริยาที่รุนแรงต่อกัน เช่น การบ่น ตำหนิ ปฏิเสธ ไม่รับผิดชอบ แก้ตัว วิพากษ์วิจารณ์/data/content/24821/cms/e_abefinstw128.jpgมากกว่าที่จะร่วมมือแก้ปัญหา


          สาเหตุของการสื่อสารเชิงลบที่ไม่สร้างสรรค์ อาจมีดังนี้


          ความเข้าใจผิดที่เกิดจากการสื่อสารบกพร่อง


          ความแตกต่างระหว่างเพศ


          มุมมองและความต้องการแตกต่างกัน


          สไตล์การสื่อสารแตกต่างกัน


          การแปลความหมายผิด


          การปกป้องตนเอง กลัวการไม่ยอมรับ


          การสื่อสารทางลบ


          การสื่อสารทางลบจะแสดงออกทั้งภาษาท่าทางและคำพูด ในด้านท่าทาง เช่น


          การจ้อง และมองอย่างไม่เหมาะสม


          สีหน้าบึ้งตึง


          เฉยเมยเพิกเฉย ท่าทีเย็นชา


          ขาดความใกล้ชิด


          ไม่มีการปฏิสัมพันธ์โดยการสัมผัส


          /data/content/24821/cms/e_dfginptvw278.jpgทางคำพูด ซึ่งการแสดงออกอาจมีลักษณะดังนี้


          คลุมเครือ พูดไม่ชัดเจน กำกวม ไม่รู้เรื่อง หรือไม่บอกให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร


          เจ้ากี้เจ้าการ เป็นลักษณะของการกำหนดกฎเกณฑ์ให้คนอื่นทำ เช่น "ทำไมคุณไม่ไปจ่ายค่าน้ำค่าไฟตอนนี้เลยล่ะ"                


          สั่งเป็นการกำหนดให้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น "กลับบ้านเร็วหน่อยนะวันนี้"


          สอน ใช้คำพูดโดยแสดงถึงการใช้คำพูดสอนกล่าว เช่น "คุณเป็นพ่อคนแล้ว น่าจะมีความรับผิดชอบมากกว่านี้"


          ประชด เช่น "ตะวันยังไม่ตกดินเลย ทำไมกลับมาแต่วันเชียว"


          กล่าวหา เช่น "คุณไม่เคยช่วยฉันเลี้ยงลูกเลย"


          เปรียบเทียบ เช่น "สามีของคุณวรรณ ไม่เห็นเขาเป็นเหมือนคุณเลย"


          ติ เช่น "ทำอะไรไม่เคยเรียบร้อยเลย"


          บ่น เช่น พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ยืดยาวในเรื่องหนึ่ง ๆ


          ด่าว่า เช่น การใช้คำหยาบ ไม่สุภาพ นอกจากนั้น อาจมีลักษณะอื่น ๆ ดังนี้


          ไม่พูดเพราะคิดว่าอีกฝ่ายรู้แล้ว


          พูดผ่านคนอื่น ทำให้เกิดความเข้าใจผิด


          ด่วนสรุปทั้งที่ยังฟังความไม่ครบถ้วน


          แปลความหมายในเชิงลบ


          ชอบพูดถึงความผิดพลาดในอดีตของอีกฝ่าย


          ไม่ใส่ใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด


          ไม่ยอมพูดคุยกัน หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เพราะคิดว่าพูดทีไรทะเลาะกันทุกที แต่ภายในอาจเต็มไปด้วยความโกรธ น้อยใจ ไม่สบายใจ เป็นต้น


          การเริ่มต้นชีวิตคู่เป็นช่วงที่สำคัญมาก หากคุณเริ่มต้นด้วยการสื่อสารที่ดีมาตั้งแต่แรก ก็จะส่งผลให้คุณมีการสื่อสารที่ดีต่อไปด้วย แต่ถ้าการสื่อสารในช่วงต้นไม่ดี ก็อาจเป็นการยากที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารให้ดีในภาย/data/content/24821/cms/e_befhprtuyz39.jpgหลัง


          การสื่อสารทางบวก


          การสื่อสารทางบวก มีองค์ประกอบที่ควรแสดงออกดังนี้


          สีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงอาการใส่ใจ รับฟัง


          การสบสายตา จะทำให้การพูดจาง่ายขึ้น และอาจช่วยระงับอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุยได้


          ท่าทาง แสดงออกว่าสนใจรับฟังสิ่งที่เขาหรือเธอพูด เช่น การผงกศีรษะ การโน้มตัวเข้าหา


          การสัมผัส จะช่วยให้เกิดความรู้สึกทางใจถึงความรักใคร่ อบอุ่น และสนิทสนม เช่น การจับมือ โอบกอด


          ระยะห่าง ควรมีการพูดคุยระยะใกล้ เพื่อที่จะไม่คลาดเคลื่อนในการรับฟัง และไม่ต้องตะโกนใส่กัน


          การสื่อสารทางบวก อาจทำได้โดย


          พูดอย่างชัดเจนและตรงประเด็น


          เปิดเผยความคิดเห็นและความรู้สึกของคุณอย่างตรงไปตรงมา


          อย่าเดาใจกัน เพราะอาจเกิดความเข้าใจผิด


          เรียนรู้ศิลปะในการพูดว่า สิ่งไหนควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด และควรพูดเมื่อไร


          เปิดโอกาสให้คนรักพูดคุยด้วย อย่าพูดฝ่ายเดียว


          หากจะพูดคุยเรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่ ก็ควรเริ่มต้นการสนทนาในเชิงบวกเพื่อให้บรรยากาศดีขึ้น


          พยายามอย่ารื้อฟื้นเรื่องในอดีต


          อย่าเงียบเมื่ออีกฝ่ายพยายามจะสื่อสารด้วย


          ตั้งใจฟัง และตั้งคำถามอย่างเหมาะสม


          ควบคุมอารมณ์ ก่อนจะแสดงท่าทีอะไรออกมา


          อย่าพูดแทรก ขัดคอ หรือโต้ตอบโดยที่ยังฟังไม่จบ


          /data/content/24821/cms/e_acgqvwy56789.jpgพยายามทำความเข้าใจความรู้สึกหรือความต้องการของคนรัก


          เมื่ออีกฝ่ายพูดจาไม่เข้าหู อย่าตีความในเชิงลบทันที


          รับฟังความคิดเห็น ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม


          ในเมื่อคนรักของคุณคือคนสำคัญ คุณควรปฏิบัติต่อคนรักของคุณให้ถูกต้อง เริ่มต้นที่พูดจาดีต่อกัน ให้เกียรติกัน การพูดคำสุภาพต่อกันเหล่านี้จะเป็นแรงเสริมที่ดีในการทำให้อีกฝ่ายมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น การพูดอย่างมีศิลปะในสิ่งที่คุณชอบ และไม่ชอบอย่างตรงไปตรงมาจะช่วยทำให้คุณและคนรักทำสิ่งที่ถูกใจกันและกันมากขึ้น และการให้กำลังใจจะช่วยประคองชีวิตคู่ของคุณให้มีความผูกพันรักใคร่กันมากขึ้น

 



             ที่มา : สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว


             ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ