การพัฒนาจิตสำหรับผู้สูงอายุ
ที่มา : ชุดความรู้ การพัฒนาเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โรงเรียนผู้สูงอายุ
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ดูแลควรจะใส่ใจ และหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงเพื่อดูแลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ ผู้มีสุขภาพจิตดีจะสามารถจัดระเบียบชีวิตได้เหมาะสมกับตัวเองและสังคมทั่วไป ทำให้เกิดความพอใจในชีวิต สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ รู้จักยอมรับความจริงของชีวิต รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็น อย่างดี จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้เป็นอย่างมาก
วิธีการดูแลสุขภาพจิต
1.ขยับแขน-ขา การออกกำลังกาย ทั้งเดิน เต้นรำ นอกจากเป็นการรักษา สุขภาพทางกายแล้วยังช่วยให้สารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ออกมาทำให้เรารู้สึกมี ความสุขมากขึ้น ลดความเครียด ลดความวิตกกังวลได้
2. การพบปะครอบครัว หาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น รับประทานอาหาร พร้อมหน้ากัน ทำบุญ ปลูกต้นไม้
3. โทรศัพท์หาเพื่อน ในบางครั้งปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถผ่านไปได้ทุกครั้ง หัวใจแม้จะแกร่งเพียงใดก็ยังต้องการที่พึ่งพิงเสมอ ยกหูโทรศัพท์หาเพื่อนรู้ใจ สักคน แล้วระบายความรู้สึกให้เพื่อนได้รับรู้ เพราะการมีคนรับฟังและให้คำปรึกษา จะทำให้ชีวิตที่ไม่สมดุลเข้าที่เข้าทางมากขึ้น อย่างน้อยก็ยังรู้สึกว่าไม่ได้แบกปัญหาอยู่คนเดียวในโลก
4. หาสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ลองหาสัตว์เลี้ยงมาเป็นเพื่อนเล่น เพราะการให้เวลาแก่สัตว์เลี้ยงตัวโปรด คุยเล่น หยอกล้อ จะช่วยให้จิตใจที่ฟุ้งซ่านสงบลงได้
5. สร้างอารมณ์ขัน คนที่หัวเราะง่ายจะมีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากการหัวเราะจะช่วยลดความดันโลหิตและระดับฮอร์โมนที่แสดงความเหนื่อยล้าในกระแสเลือด และช่วยเสริมสร้างสารแอนติบอดีที่สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอีกด้วย
6. งานอดิเรก การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เล่นดนตรี เพื่อทำให้ใจเพลิดเพลิน
7. การพักผ่อนอารมณ์ ควรพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เคร่งเครียดหรือวิตก กังวลจนเกินเหตุ
8. ใส่ใจเรื่องอาหารที่ดีมีประโยชน์
9. ศาสนา การสวดมนต์ ทำบุญเป็นที่พึ่งที่ดีของผู้สูงอายุ จะช่วยบรรเทาทุกข์ ให้ความหวังและความสุขแก่ผู้สูงอายุ