การดูแลผู้ป่วยโรครักษาไม่หาย
ที่มา : หนังสือPALLIATIVE CARE การดูแลผู้ป่วยโรครักษาไม่หาย โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
แฟ้มภาพ
“อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตจากอย่างมีความสุข” เราจะดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคซึ่งรักษาไม่หายหรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไรดีถึงจะเป็นการดีต่อเจ้าตัวที่สุดยิ่งถ้าในวันที่เจ้าตัวไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ทั้งหมดนี้มีคําาตอบอยู่ในการดูแลแบบ Palliative Care ที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเวลาที่เหลืออยู่ พร้อมทั้งช่วยดูแลความรู้สึกทุกข์ทรมานของทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว
มารู้จักกับ PALLIATIVE CARE ให้มากขึ้น
Palliative Care คงเป็นคำที่ไม่คุ้นหูนักว่าคืออะไร ถ้าแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า การดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดัน หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงทุกโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาและต้องคอยตรวจติดตามอาการอยู่ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคในขั้นสุดท้ายที่ไม่มีแผนการรักษาแล้ว จะยิ่งต้องการการดูแลแบบ Palliative Care มากๆ เพราะเป็นการดูแลที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถอยู่กับความเจ็บปวดได้อย่างมีความสุขที่สุดและใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจนวาระสุดท้าย
Palliative Careมีความสําาคัญกับผู้ป่วยอย่างไร
1.ช่วยเยียวยาจิตใจให้ผู้ป่วย เพราะแพทย์เฉพาะทางทั่วไปมักจะมุ่งเน้นในการรักษาโรคอย่างเดียว ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรครักษาไม่หายขาดหรือร้ายแรงถึงแก่ชีวิตมักเกิดความรู้สึกบั่นทอนทางด้านอารมณ์และจิตใจ แต่การดูแลแบบ Palliative Care จึงหมายถึงการมีทีมแพทย์หลากหลายสาขาเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ
2.เติมเต็มการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว แพทย์บางคนมักจะไม่บอกการวินิจฉัยโรคกับผู้ป่วยตั้งแต่ต้น เพราะบางครั้งไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไรดี รวมทั้งมีญาติขอร้องไว้ไม่ให้บอกผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยากรู้ความจริงจากแพทย์
เรื่องจริงก็คือ…ผู้ป่วยไทยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งเมื่อป่วยด้วยโรคมะเร็ง ทั้งที่จริงๆ แล้วการมีการสื่อสารที่ดีระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้ทําสิ่งที่ติดค้างได้สําเร็จในช่วงเวลาอันจํากัดและตั้งเป้าหมายการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยรายหนึ่งๆ ได้
การดูแลแบบ Palliative Care แพทย์จะมีโอกาสพูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย
3.ดูแลผู้ป่วยให้สุขสบายมากขึ้นจากอาการต่างๆ ด้วยการเยียวยาความทรมานจากอาการปวดและอาการอื่นๆ ของโรคระยะสุดท้ายโดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด และการใช้ยาแก้ปวดที่เพียงพอเป็นสิ่งจําเป็นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมํานและเพิ่มคุณภาพชีวิตในการรักษาตัว นอกจากอาการปวดแล้วผู้ป่วยยังต้องการการดูแลอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยหอบ ซึมเศร้า เบื่ออาหาร รวมถึงอาการในระยะสุดท้ายก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต
4.เหมาะสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่มีแผนการรักษา เช่น โรคมะเร็ง ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักจะไม่ได้ถูกรับตัวเข้านอนโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีอาการทางร่างกายหลายอย่างก็ตาม เพราะแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่สามารถรักษาโรคผู้ป่วยให้หายได้ การมานอนโรงพยาบาลอาจไม่ได้แตกต่างจากการรักษาที่บ้าน ในขณะที่ครอบครัวของผู้ป่วยก็อาจเกิดความสับสน ไม่แน่ใจว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างไรดี จึงอยากพําผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาล แต่ในทางตรงข้าม หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) มักได้รับเสียงสะท้อนมาจากญาติว่า ผู้ป่วยถูกทรมานมากเกินไปในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ยื้อชีวิต’ เพราะแพทย์ไม่กล้าที่จะหยุดการรักษาบางอย่าง เช่น การฉีดยาปฏิชีวนะไปเรื่อยๆ การให้เลือด การใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งอาจเป็นเพียงการยืดระยะเวลากํารเสียชีวิตออกไปมํากกว่าการช่วยชีวิตให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีคุณภาพ