“กลไกสภาผู้นำชุมชน” ตัวอย่างจัดการปัญหาในพื้นที่

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข


 “กลไกสภาผู้นำชุมชน” ตัวอย่างจัดการปัญหาในพื้นที่ thaihealth


แฟ้มภาพ


รองนายกฯชี้ “กลไกสภาผู้นำชุมชน” บ้านสำโรง ตัวอย่างการจัดการปัญหาในพื้นที่ ส่งผลมาตรการชุมชนลดการใช้สารเคมี งานบุญปลอดเหล้า ครัวเรือนน่าอยู่ ไข้เลือดออกเป็น “ศูนย์” ขณะที่ สสส.เผย 534 ชุมชนน่าอยู่ในภาคอีสาน ส่งผลชุมชนจัดการสิ่งแวดล้อม-ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ


เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่บ้านสำโรง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนการทำงาน ‘การจัดการชุมชนน่าอยู่ บ้านสำโรง’ โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุน สสส. เป็นประธาน


 “กลไกสภาผู้นำชุมชน” ตัวอย่างจัดการปัญหาในพื้นที่ thaihealthพล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า บ้านสำโรงมีกลไกสภาผู้นำชุมชนในการทำงานที่สามารถเชื่อมประสานกันในพื้นที่ ทั้งผู้ใหญ่บ้าน อบต. อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มและกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้าน โดยมีนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขคอยให้คำปรึกษา กลไกนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนในการจัดการปัญหา นอกจากนี้ในชุมชนยังได้มีการจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นปัญหาเพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทำให้บ้านสำโรงวันนี้สามารถแก้ปัญหาของหมู่บ้านได้สำเร็จ และเป็นต้นแบบของการทำเกษตรปลอดภัย สามารถลดการใช้สารเคมีได้ถึง 80% และยังรวมถึงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งรูปแบบการจัดการปัญหาโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ถือเป็นหลักการดำเนินงานตามนโยบายประชารัฐของท่านนายกรัฐมนตรี ที่ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน


นายพีรวัศ คิดกล้า ผู้ใหญ่บ้านสำโรง กล่าวว่า จากวิกฤติการใช้สารเคมีทางการเกษตรของหมู่บ้าน ทำให้มีคนเสียชีวิตจากการใช้สารเคมีและเคยถูกร้องเรียนไปในหลายหน่วยงานถึงการใช้สารเคมีรบกวนพื้นที่ใกล้เคียง ขณะที่การทำงานเพื่อแก้ปัญหาก็ต่างฝ่ายต่างทำ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเพียงลำพังได้สำเร็จ จนกระทั่งมีคุณหมอจากรพ.สต.มาแนะนำโครงการของ สสส. ที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ปัญหาในชุมชน โดยมีเงื่อนไขโครงการที่สำคัญคือการรวมตัวกันเป็นกลไกการทำงาน ที่เรียกว่า “สภาผู้นำชุมชน” ซึ่ง สสส. นำต้นแบบการทำงานจากหมู่บ้านหนองกลางดง จึงเกิดความสนใจ เพราะในหมู่บ้านแม้มีกรรมการตามโครงสร้างแต่ไม่สามารถทำงานได้


“การรวมตัวของสภาผู้นำชุมชนจึงใช้กรรมการหมู่บ้านเดิม 15 คน จากนั้นได้รวมตัวแทนจากทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มผัก สตรีออมทรัพย์ กลุ่มเยาวชน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มผู้สูงอายุ ปราชญ์ และจิตอาสาเข้าร่วมเพื่อพูดคุยกัน ซึ่งเราไม่ได้พูดแค่เรื่องผัก แต่เอาปัญหามาคุยและพบว่าไม่มีข้อมูลชุมชนที่เพียงพอจึงเกิดการจัดการข้อมูลชุมชน ทำให้เห็นปัญหาตรงกัน เกิดความอยากแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยใช้กลไกของสภาผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนการทำงาน พร้อมกับมีมาตรการชุมชนในการกำกับติดตามเพื่อให้เกิดการปฏิบัติร่วมกันในชุมชน” นายพีรวัศ กล่าว


ผู้ใหญ่บ้านสำโรง  “กลไกสภาผู้นำชุมชน” ตัวอย่างจัดการปัญหาในพื้นที่ thaihealthกล่าวว่า ผลจากการพูดคุยกัน จึงนำสู่การจัดการปัญหา ทั้งมาตรการลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก จากเดิมที่เคยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีมากถึง ปีละ 89,975 บาท จากการทำประชาคมและกำหนดกติการ่วมกัน บ้านสำโรงสามารถลดการซื้อสารเคมีเหลือปีละ 15,485 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 นอกจากนี้ชุมชนยังสามารถกำหนดกติกาในเรื่องงานบุญประเพณีปลอดเหล้า สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเหล้าของชุมชนจากเดิมในปี 2555 มีค่าใช้จ่ายซื้อเหล้า 1,270,000 บาท ลดลงเหลือ 1,069,320 บาท ในปี 2558 หรือลดลง 200,680 บาท และยังช่วยลดปัญหาการทะเลาะวิวาท ไม่พบผู้เสียชีวิตจากการเมาแล้วขับ รวมถึงการตั้งกติกาครัวเรือนน่าอยู่คัดแยกขยะและรักษาความสะอาด เกิดรายได้จากการขายขยะทั้งหมู่บ้าน ปี 2558 เฉลี่ยเดือนละ 10,072 บาท และครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลายต่อเนื่อง จากรายงานการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพบค่า HI CI มีค่าน้อยกว่า 10 ส่งผลให้ตลอดทั้งปีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์ จากเดิมที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนมากในชุมชน


ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส. กล่าวว่า หัวใจสำคัญของ โครงการชุมชนน่าอยู่ที่สังเคราะห์จากบทเรียนของหนองกลางดง คือ การพัฒนากลไกการจัดการในชุมชนหรือหมู่บ้านที่เรียกว่า “สภาผู้นำชุมชน” ที่มีองค์ประกอบหลักคือ คณะกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้างของรัฐที่มีอยู่เดิมทำงานร่วมกับแกนนำจากกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมในการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาของตนเอง มีวิธีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ชุมชนทำเองได้ ช่วยให้ชุมชนได้รู้ถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหานั้นๆ อย่างชัดเจน และร่วมกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา และสภาผู้นำชุมชนยังช่วยเพิ่มการสื่อสารระหว่างผู้นำชุมชนด้วยกัน และระหว่างผู้นำชุมชนกับสมาชิกชุมชน ให้สามารถรับรู้ข้อมูลชุดเดียวกันเพื่อมุ่งเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ


 “กลไกสภาผู้นำชุมชน” ตัวอย่างจัดการปัญหาในพื้นที่ thaihealth


“ผลการดำเนินงานในรอบ 6 ปี พบว่า มีตัวอย่างความสำเร็จในหลายด้าน เช่น เกิดชุมชนน่าอยู่ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งการจัดการขยะด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อแสดงตำแหน่งครัวเรือนที่ปลูกผัก การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีในการทำการเกษตร เกิดชุมชนลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การทำน้ำดื่มสมุนไพรทดแทนสุราในงานศพ การกำหนดกติกา และมาตรการของหมู่บ้านในการลดละเลิกเหล้าในงานบุญประเพณีต่างๆส่งผลให้ประชาชนลด ละ เลิกเหล้า  จนทำให้ปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งในภาคอีสานมีโครงการชุมชนน่าอยู่ทั้งสิ้น 534 ชุมชน” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว


 


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code