กรมสุขภาพจิตห่วงคนไทย พบสัญญาณฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

จิตวิตก-เครียด-ความรัก-เพศ โทรปรึกษาเพียบ

 

กรมสุขภาพจิตห่วงคนไทย พบสัญญาณฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

          นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความหยุ่นตัวทางอารมณ์และจิตใจหรืออาร์คิว (resilience quatient) จะประกอบไปด้วยคุณสมบัติ 3 ด้าน คือ 1 ความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นคนมีความภูมิใจ เห็นค่าของตัวเอง 2 กำลังใจ และ 3 การจัดการปัญหา รู้สึกว่าทำได้ สามารถเผชิญปัญหาได้

 

          ทั้งนี้ กรมได้พัฒนาแบบประเมิน rq สำหรับผู้ใหญ่อายุ 25-60 ปี เพื่อใช้วัด rq สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งผลการสำรวจวัดระดับอาร์คิว ปี 2551 ของคนไทยทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 4,000 คน พบว่า 84-85% อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่องค์ประกอบด้านกำลังใจของคนไทยต่ำกว่าด้านอื่น 10%

 

          สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดในปีหน้ามีความน่าเป็นห่วงกว่าและวิกฤตการเมือง ซึ่งขณะนี้มีสัญญาณว่าอัตราการฆ่าตัวตายมีเพิ่มขึ้น จากอัตราการฆ่าตัวตาย 5.7 คนต่อแสนประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 5.9 คนต่อแสนประชากร แต่ยังห่างเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 อยู่ที่ 8.6 ต่อแสนประชากร ซึ่งหากไม่มีความสามารถในการปรับตัวที่ดี จะทำให้ประสบปัญหาความยุ่งยากในการดำเนินชีวิต

 

          ด้าน นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตจะออกเครื่องมือเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตคนไทย เพื่อรองรับวิกฤตทางสุขภาพจิตคนไทยเพื่อรองรับวิกฤตทางสุขภาพจิตที่จะมาถึง หลังจากนี้ทีมนักจิตวิทยาจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแจกแบบทดสอบให้สื่อมวลชน วิทยุชุมชน สถานีอนามัย ศูนย์กีฬา โรงเรียน และจะประสานกระทรวงแรงงาน เพื่อเข้าถึงสถานประกอบการต่างๆ

 

          นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม กล่าวว่า จากรายงานการให้บริการปรึกษาปัญหาทางสุขภาพทางโทรศัพท์ พบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเริ่มต้นเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน พ.ค.- ก.ย.50 พบมีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 9,345 ราย ปีงบประมาณ 51 มีทั้งสิ้น 28,148 ราย

 

          และล่าสุดปีงบประมาณ 52 เพียง 3 เดือนมีจำนวน 17,719 ราย รวมทั้งสิ้นมีผู้เข้ารับบริการ 49,212 รายโดยปัญหาที่โทร.เข้ามาปรึกษามากที่สุดอันดับ 1 ความผิดปกติทางจิต 2. ความเครียดวิตกกังวล 3. ความรัก 4. สุขภาพจิต และ 5. ปัญหาทางเพศ

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์astvผู้จัดการ

 

 

update 25-12-51

Shares:
QR Code :
QR Code