กรมชลการันตีเขื่อนทั่วประเทศมั่นคง-ปลอดภัย
ที่มา : แนวหน้า
แฟ้มภาพ
เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ24ชั่วโมง กรมชลการันตีเขื่อนทั่วประเทศมั่นคง-ปลอดภัย
นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในความดูแลของ กรมชลประทาน มีความปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง ทุกแห่ง เนื่องจากมีการออกแบบตามหลักวิชาการ สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และสามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้สูงถึง 7 ตามมาตราริกเตอร์ นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้ทําการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อนทุกแห่งที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นประจำตลอดทั้งปี แม้ในยามสถานการณ์ปกติที่ไม่มีภัยพิบัติใดๆ ก็ตาม เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อน มีความมั่นใจ และเชื่อมั่นในความปลอดภัยแข็งแรงของเขื่อน ตลอดเวลา
“เขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทานนั้น มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบ และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้มีการปล่อยปละละเลย รวมทั้งยังได้บํารุงรักษาถูกต้องตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีแนวโนมว่าน้ำจะไหลลงอ่างเก็บน้ำในปริมาณมาก และคาดว่าน้ำอาจจะล้นทางระบายน้ำล้น โครงการชลประทานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จะแจ้งเตือนเป็นเอกสารรายงานไปยังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับแจ้งเตือนผู้นําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำให้รับทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทําให้การแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้เป็นอย่างมาก”
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น ยังได้สั่งการให้ดำเนินการตรวจสภาพความมั่นคง และสภาพน้ำของเขื่อนทุกเขื่อน ทั้งที่สร้างเสร็จแล้วและกำลังก่อสร้างเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งให้จัดเวรยามประจำทุกเขื่อนเฝ้าระวังเหตุการณ์ตลอดเวลา จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ต้องใช้เกี่ยวกับเขื่อนไว้ให้พร้อมใช้งานได้ทันที การติดต่อสื่อสารไปยังเขื่อนและเจ้าหน้าที่ประจำเขื่อนต้องทำได้มากกว่า 1 ช่องทาง และให้มีการรายงานให้ทางอำเภอ จังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) ได้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ให้ SWOC ปฏิบัติงานตลอด 24 ชม.
ส่วนสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ได้ส่งผลให้ระดับน้ำในลําห้วยธรรมชาติ และแม่น้ำต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อล้นเข้าท่วมบางพื้นที่นั้น กรมชลประทานได้นําเครื่อง สูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อเร่งระบายน้ำออกอย่างต่อเนื่อง จนทําให้หลายพื้นที่สถานการณ์น้ำท่วมกลับเข้าสู่ ภาวะปกติแล้ว และหากไม่มีฝนตกในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่ม ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ น้ำจากภาวะฝนตกในระยะนี้อย่างใกล้ชิด และจะแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ พร้อมทั้งให้ตรวจสอบ บํารุงรักษาอาคารชลประทานทุกแห่งให้มีความปลอดภัย และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ
ส่วนการสนับสนุนเครื่องจักรกลและเครื่องสูบน้ำ ก่อนที่จะดําเนินการใดๆ เพื่อเป็นการป้องกันและลด ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกันที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ให้ชลประทานในพื้นที่นั้นๆ จัดประชุมร่วมกับ ประชาชน และฝ่ายปกครองในพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจร่วมกันก่อน ป้องกันปัญหาความ ขัดแย้งที่จะตามมาทีหลัง ซึ่งกรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือต่างๆ ไว้พร้อม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงทั้งหมดแล้ว
สําหรับสถานการณ์น้ำล่าสุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำทั้งหมด 52,490 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 69 ของปริมาณความจุ โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 28,554 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 55 มากกว่าช่วงเดียวกันในปี 2560 ประมาณ 4,603 ล้าน ลบ.ม. โดยมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จํานวน 405.94 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณน้ําระบายออก จํานวน 268.91 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน สามารถรับน้ำได้อีก 23,522 ล้าน ลบ.ม.