กทม.-ปริมณฑล 16 พื้นที่ฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน
ที่มา : ไทยรัฐ
แฟ้มภาพ
กรมควบคุมมลพิษ เผยสถานการณ์คุณภาพอากาศพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 16 พื้นที่มีฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน พบหนักสุด 3 พื้นที่ มีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย ประจำวันที่ 21 ธ.ค. 2561 เวลา 06.00 น. โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ “ปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ”
สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐาน ได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 52-103 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ, แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ, ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม, ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.ตลาด อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปราการ, ต.บางเสาธงอ.บางเสาธง สมุทรปราการ, ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง
ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 58-143 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง
สำหรับ PM2.5 คือ ฝุ่นละเอียดที่เป็นส่วนหนึ่งของฝุ่นละอองที่แขวนลอยในบรรยากาศ มีขนาดเท่ากับ 1 ใน 20 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมมลพิษ ได้มีคำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ขณะอยู่กลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์