‘ป่าเปียก’สืบทอดปณิธานในหลวง

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


'ป่าเปียก'สืบทอดปณิธานในหลวง  thaihealth


"ป่าเปียก เป็นการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อให้ป่าเปียก ชุ่มชื่น ต้นไม้ไม่ตาย สามารถกักน้ำได้ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริและเกิดขึ้นที่พื้นที่ดอนขุนห้วย พระองค์ทรงมีอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งให้กับชาวบ้าน ตราบจนทุกวันนี้ชาวบ้านที่นี่ก็ยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระราชดำริ"


สุชาติ จิตมัง กำนันบ้านดอนขุนห้วย บอกเล่าถึงความเป็นมาของโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ที่กลายเป็นกิจกรรมประจำท้องถิ่นในพื้นที่บ้านดอนขุนห้วย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี มาอย่างต่อเนื่องโดยชาวบ้านตั้งเป้าว่าจะสร้างฝายชะลอน้ำให้ได้ถึงหนึ่งพันฝาย บนพื้นที่เขาแดง


กำนันสุชาติ บอกอีกว่าในหลวงท่านมีความคิดที่แยบคาย ท่านให้สร้างฝายชะลอน้ำให้ถี่ๆ ให้น้ำค่อยๆ ไหลมากที่สุด 'ป่าเปียก'สืบทอดปณิธานในหลวง  thaihealthเพราะถ้าสร้างฝายห่างกันก็ไม่เกิดประโยชน์เวลามีน้ำไหลมาก็จะปะทะแรงแล้วหายไปกักน้ำไว้ไม่ได้ ซึ่งถือเป็นพระอัจฉริยภาพของในหลวง และเป็นแนวทางในการสร้างฝายชะลอน้ำของที่นี่


ขณะเดียวกัน จึงนำมาซึ่งการประสานความร่วมมือของเยาวชนจิตอาสาจากหลากหลายสถาบัน อาทิ นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย, ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก, เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง, เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิเยาวชนพอเพียงเพื่อการพัฒนา ได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรมร่วมมือกับชาวบ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ดอนขุนห้วย "ปลูกป่าและสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ตามแนวทางพระราชดำริ


"น้องปาล์ม" หรือ น.ส.มธุรส กลั่นเอี่ยมทั้งมวล นักศึกษาจาก ม.ราชพฤกษ์ หนึ่งในเยาวชนจิตอาสา ที่เข้าร่วมโครงการสร้างฝายชะลอน้ำถวายเป็นพระราชกุศลในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการทำกิจกรรมปลูกฝายชะลอน้ำเป็นครั้งแรก ระบุว่า เธอตั้งใจมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เพราะคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ได้ช่วยเหลือชาวบ้าน และสืบทอดต่อจากสิ่งที่ในหลวงได้ทำไว้ หลังจากลงมือสร้างฝายด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกในชีวิตทำให้ได้เห็นภาพชัดเจนของในหลวงเวลาที่ท่านเสด็จไปตามพื้นที่ต่างๆ ว่าลำบากแค่ไหน หลายพื้นที่มีคนบอกว่าไปไม่ได้ แต่ทำไมในหลวงของเราท่านไปได้ เพื่อไปช่วยเหลือประชาชน


"หนูคิดว่าสองมือของเรา ถ้าร่วมมือร่วมใจกับคนอื่นๆ เป็นร้อยๆ มือมาช่วยกัน มันจะสร้างงานที่เป็นประโยชน์ให้ชาวบ้านหรือคนอื่นๆ ได้ วันนี้หนูคิดว่าเราควรหันมาทำตัวเองให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากที่สุด เดินตามแนวทางของในหลวงที่ได้สร้างเป็นแบบอย่างให้พวกเรา หลังจากท่านจากไปแล้ว เราในฐานะประชาชนควรคิดว่าจะทำตัวอย่างไรเพื่อ'ป่าเปียก'สืบทอดปณิธานในหลวง  thaihealthเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมบ้าง หรือมัวแต่คิดทำแค่ประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น" น้องปาล์ม บอก


ขณะที่ นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ แกนนำกลุ่มเยาวชน ระบุว่ากิจกรรมในครั้งนี้สืบเนื่องจากเยาวชนต้องการเป็นจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำบนเขามดแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการพระราชดำริ รวมทั้งเยาวชนยังได้ร่วมเรียนรู้กับปราชญ์ชุมชนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการศึกษาแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่เพื่อที่เยาวชนจะได้น้อมนำแนวคิดพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่องวิถีชีวิตพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการร่วมกันเป็นจิตอาสาทำดีถวายพ่อหลวงจะทำให้เยาวชนได้ซึมซับและเห็นคุณค่าป่าไม้ สร้างจิตสำนึกในการหวงแหนรักษาทรัพยากรธรรมชาติต่อไป


ทั้งนี้ พื้นที่บ้านดอนขุนห้วยเป็นพื้นที่ดินโฉนดในพระบาทสมเด็จพระประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแจกจ่ายที่ดินให้ประชาชน 153 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 15 ไร่ โดยเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่นี้อย่างสม่ำเสมอเนื่องจากเป็นพื้นที่กันดารแห้งแล้ง จนนำมาซึ่งพระราชดำริในการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดไร่มะม่วงพระราชดำรัส ต.ดอนขุนห้วย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยพระองค์ดำรัสว่า "ให้ชื่อวัดไร่มะม่วงนะหลวงพ่อ" เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2517 เมื่อครั้งเจ้าอาวาสทูลขอชื่อ เนื่องจากทรงเห็นต้นมะม่วงต้นใหญ่อยู่ในพื้นที่บริเวณวัดแต่เดิม

Shares:
QR Code :
QR Code