ชวนลูกคุย

ที่มา : ฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ชวนลูกคุย thaihealth


แฟ้มภาพ


อย่าคิดว่าลูกยังเด็กคงไม่รู้เรื่อง คงไม่เข้าใจ จริงๆแล้วในชีวิตประจำวัน และกิจกรรม ต่างๆ ที่ทำร่วมกัน เสียงและคำพูด ของพ่อแม่มีผลต่อความรู้สึก ความคิด และการเรียนรู้ของลูกเสมอ


ทำไมคุยกับลูกถึงสำคัญ ?


1.ลูกเรียนรู้ภาษา ผ่านการเลียนแบบคำที่พ่อแม่ ใช้ ผ่านบทสนทนาต่างๆ ที่ได้โต้ตอบกัน ยิ่งเรา คุยกับลูกมากเท่าไหร่ ลูกก็ยิ่งเพิ่มคลังคำศัพท์ และเพิ่มทักษะการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น


2.กระตุ้นสมอง พ่อแม่ที่หมั่นเล่า หมั่นคุย หมั่นตั้งคำถาม จะช่วยให้ลูกได้ฝึกใช้ความคิด สร้างสรรค์ คิดยืดหยุ่น และคิดต่อยอดได้ดี เด็กฉลาดเพราะมีโอกาสลับสมองบ่อย


3.เพิ่มความรู้ ความรู้ไม่ได้มาจากการอ่านตำรา เท่านั้น แต่มาจากการคุยกันก็ได้ด้วยนะ สมอง ของเด็กนั้นเปรียบเสมือนคลังสินค้าที่กว้างใหญ่ และขยายขนาดได้ไม่มีขีดจำกัด ขยันเล่า ขยัน สอน ขยันเติมสิ่งดีๆ เข้าไปเถิดจะเกิดผล


4.เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น การชวนลูกคุย เพื่อให้ลูกแสดงความคิดเห็นของตัวเอง บอก อารมณ์ของตัวเองออกมาให้ได้ สิ่งนี้ทำให้ลูก เกิดการยอมรับตัวเอง รู้จักปลดปล่อยความ รู้สึก และนำไปสู่การยอมรับและเข้าใจ อารมณ์ผู้อื่นต่อไป


5.รู้จักสื่อสาร อยากให้ลูกเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี ของสังคม พ่อแม่ต้องช่วยกันฝึกฝนตั้งแต่วันนี้ นะจ๊ะ โดยทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และสอนผ่าน การชวนลูกคุยนี่ล่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการแสดง ความคิดที่แตกต่างกันด้วยเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ฝึกลูกของเราให้กล้าคิดกล้าพูดแต่ไม่ก้าวร้าว


คุยกับลูกอย่างไรดี


                พูดให้ฟัง เล่าไปเรื่อยๆ แม้ลูกจะยังไม่เข้าใจ ภาษาพูด เด็กจะค่อยๆ เชื่อมโยงประสบการณ์ รอบตัวกับเสียงและคำต่างๆ ที่เขาได้ยิน และ พัฒนาไปสู่การเข้าใจความหมาย และเริ่ม พยายามเลียนแบบการพูดของผู้ใหญ่


                ชวนลูกคุย ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้ความหมายของ คำผ่านการแสดงออกทางกายของพ่อแม่วันละ นิดวันละหน่อย พูดบ่อยๆ ก็เรียนรู้ได้เร็ว เพื่อ ทำให้จดจำคำศัพท์ และจำการใช้รูปประโยคต่างๆ เพื่อสื่อความหมายได้


                ร้องเป็นเพลง หรือท่องคำคล้องจอง อาจจะมี การทำท่าทางประกอบไปพร้อมกันกับลูก สร้างความสนุกเพลิดเพลินให้กับลูกได้ และ ช่วยกระตุ้นให้ลูกรู้จักเสียงสูง ต่ำ เบา หนัก เรียนรู้จังหวะ ช้า เร็ว และด้วยคำสัมผัสต่างๆ มีจังหวะต่างๆ ทำให้เด็กเรียนรู้จดจำคำศัพท์ได้ง่าย


                ตั้งคำถามกับลูก ให้ลูกได้คิด และแสดงความ รู้สึก แล้วยังทำให้พ่อแม่ได้รู้จักลูกมากขึ้นผ่าน คำตอบต่างๆของลูก


                ตอบคำถามที่ลูกถาม โดยใช้เหตุและผลด้วยคำ อธิบายแบบง่ายๆ ถ้าตอบไม่ได้ ลองชวนค้นหา คำตอบด้วยกัน จากหนังสือ จากอินเทอร์เน็ต หรือชวนกันไปถามผู้ใหญ่ท่านอื่นๆ หรือจะพลิก กลับถามลูกว่า แล้วถ้าเป็นลูกล่ะ ลูกคิดว่าอย่างไร


                ควรสอนเรื่องการบอกอารมณ์ หรือช่วยตีความ ออกมาเป็นคำพูด เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถ สื่อสารอารมณ์ หรือสะท้อนสิ่งที่อยู่ในใจออกไป เป็นคำพูดได้อย่างที่เขาอยากทำ นั่นทำให้เขา รู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจได้ง่าย พ่อแม่จึงควรช่วย เขาอธิบาย อย่างเช่น หนูอยากเล่นลูกบอลใช่ไหม? ลูกกำลังเสียใจที่เพื่อนไม่แบ่งของเล่นสินะ

Shares:
QR Code :
QR Code