กิจกรรมทางกาย สำหรับผู้ทำงานขับรถ

ที่มา : หนังสือข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้ทำงานขับรถ


กิจกรรมทางกาย สำหรับผู้ทำงานขับรถ thaihealth


แฟ้มภาพ


ผู้ที่ประกอบอาชีพขับรถ  มีการใช้พลังงานต่อวันจากการทำงาน  ประมาณ 500 กิโลแคลลอรี่ โดยแทบไม่มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนักในแต่ละวันเลย  หากไม่ได้ทำกิจกรรมทางกายเพิ่มเติมนอกเวลาทำงาน   ถือว่าเป็นอาชีพที่มีกิจกรรมทางกายน้อยกว่า  ข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายสำหรับผู้ใหญ่ที่ให้มีกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ให้มีกิจกรรมทางกายสำหรับผู้ใหญ่ให้มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง  อย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์  หรือกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์


กิจกรรมทางกายที่ควรกระทำ  สามารถทำได้ใน 2 ช่วงเวลาของวัน  ดังนี้


1.ในระหว่างการทำงาน  ผู้ทำงานขับรถใช้เวลาในการขับรถที่แตกต่างกัน  แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน  โดยเฉพาะรถโดยสารประจำทาง สำหรับการขับรถส่งของในจังหวัดต่างๆ อาจใช้เวลามากหรือน้อยตามระยะทาง กิจกรรมทางกายที่ทำได้ในช่วงนี้ ดังนี้


1.1 ควรจอดรถหยุดพัก 2 ชั่วโมง  ลุกขึ้น ยืน เดิน เพื่อให้ระบบไหลเวียนเลือด ไหลเวียนได้ดี  ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย


1.2 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ  ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็งได้คลายตัว  ลดอาการปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อที่เกร็งได้หลายตัว  ลดอาการปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อกับการทำงานได้เป็นอย่างดีโดยควรทำในระหว่างพักทุก 2  ชั่วโมง   หรือหลังจากเสร็จจากการทำงานทันที เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวทันที


2.ในช่วงหลังเลิกงาน  ผู้ทำงานขับรถมีการใช้พลังงานจากการทำกิจกรรมในอาชีพน้อย จึงมีการใช้พลังงานในแต่ละวันต่ำ  หลังจากเลิกทำงาน ผู้ทำงานขับรถจึงควรทำกิจกรรมทางกายเพิ่มเติมในช่วงนี้ เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬา  การทำงานบ้าน  เป็นต้น ดังนี้


2.1 การเคลื่อนไหวแบบแอโรบิค เพื่อทำให้ระบบหัวใจ ไหลเวียนเลือดแข็งแรงขึ้น  เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน  และป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน โรคหัวใจ เป็นต้น ควรมีการเคลื่อนไหวแบบแอโรบิค  คือ การขยับกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยครั้งละ 10 นาที ทำสะสมให้ได้อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน  เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน การขึ้นบันได การว่ายน้ำ เป็นต้น โดยเป็นกิจกรรมระดับปานกลาง )ทำให้รู้สึกหายใจลำบากขึ้น แต่ยังพุดเป็นประโยคได้ ) 150 นาทีต่อสัปดาห์  หรือระดับหนัก (ทำให้หายใจลำบากมาก  จนพูดเป็นประโยคไม่ได้)  75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือถ้าไม่สะดวกออกกำลังกาย ผู้มีอาชีพขับรถควรทำความสะอาดรถ เพราะรถถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการทำงาน อีกทั้งยังต้องอยู่ในรถเป็นระยะเวลานาน  ถ้ารถมีสภาพสกปรกมีฝุ่นละอองต่างๆ สะสม ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งคนขับและผู้โดยสาร   ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย ครั้งละ 10 นาที ก่อนและหลังขับรถ หรือทำสะสม 30 นาที ได้ จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้อีกด้วย


ในกรณีที่ไม่มีเวลาว่าสำหรับเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการทำกิจกรรมทางกายภายนอกที่พักอาศัยได้ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยวิธีการทำงานบ้าน เช่น การทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น แต่ต้องทำต่อเนื่อง อย่างน้อยครั้งละ 10 นาที ทำสะสมให้ได้อย่างน้อย 30 นาที ต่อวัน


2.2 การบริหารร่างกายเพื่อสร้างความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อ คือการฝึกกล้ามเนื้อให้เกิดความแข็งแรง  ความทนทนเพิ่มขึ้นหรือคงไว้  อีกทั้งยังสามารถใช้กล้ามเนื้อในการออกแรงอย่างต่อเนื่องได้ซ้ำๆ หรือคิดต่อเป็นเวลานานโดยไม่อ่อนล้า ผู้ที่ทำงานขับรถควรใช้เวลาว่างหลังเลิกงานบริหารกล้ามเนื้อตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน เครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งตามที่สาธารณะ หรือในฟิตเนส เนื่องจากการทำงานขับรถไม่มีการใช้แรงของกล้ามเนื้อมาก แต่ใช้เวลาในการทำงานนาน จึงควรสร้างความทนทาน ของกล้ามเนื้อมากกว่า

Shares:
QR Code :
QR Code