WHOประกาศ ‘แอสปาร์แตม’ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจก่อมะเร็ง แนะนำให้บริโภคอย่างพอประมาณ

ที่มา : เว็บไซต์ไทยโพสต์ 

                   องค์การอนามัยโลกประกาศ “แอสปาร์แตม” ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ แม้จะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณบริโภคได้ต่อวันของสารชนิดนี้

                   สำนักข่าวเอเอฟพีราย งานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรก ฎาคม 2566 ฟรานเชสโก บราน กา ผู้อำนวยการด้านโภชนาการและความปลอดภัยอาหารขององค์การอนามัยโลก กล่าวในการ แถลงข่าวนำเสนอผลการศึกษา หลักฐานที่มี 2 ครั้งเกี่ยวกับสารแอสปาร์แตม (Aspartame)  ที่สำ นักงานใหญ่ขององค์การอนา มัยโลก (ดับเบิลยูเฮชโอ) ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ว่า เราไม่ได้แนะนำให้บริษัทต่างๆ เลิกใช้สารแอสปาร์แตม และไม่ได้แนะนำให้ผู้บริโภคหยุดบริโภคสารนี้โดยสิ้นเชิง เราแค่แนะนำให้บริโภคอย่างพอประมาณ

                   องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (ไอเออาร์ซี) ในสังกัดองค์การอนามัยโลกได้ประเมินการก่อมะเร็งของสารแอสปาร์แตมเป็นครั้งแรกในการประชุมที่เมืองลียง ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6-13 มิถุนายนที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกระบุว่า คณะทำงานดังกล่าวจัดให้แอสปาร์แตมเป็นสารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ตามหลักฐานที่มีอยู่อย่าง จำกัดจัดให้แอสปาร์แตมอยู่ใน “กรุ๊ป 2 บี” หรือสารที่อาจก่อ มะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งเกี่ยว ข้องกับมะเร็งเซลล์ตับ (hepa tocellular carcinoma) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจำกัดเกี่ยวกับสารนี้ที่ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง

                   พอล ฟาโรห์ ศาสตรา จารย์ด้านระบาดวิทยามะเร็งแห่งศูนย์การแพทย์ซีดาร์-ไซ นาย ในนครลอสแองเจลิส กล่าวในการแถลงข่าววันเดียว กันว่า สารที่จัดอยู่ในกรุ๊ป 2 บี ยังรวมถึงสารสกัดจากว่านหางจระเข้และกรดกาเฟอีนที่พบในชาและกาแฟ ประชาชนทั่วไปไม่ควรกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่จัดอยู่ในกรุ๊ป 2 บี

                   แมรี ชูบาวเออร์ เบอร์ริ แกน จากไอเออาร์ซี กล่าวใน การแถลงข่าววันเดียวกันว่าหลักฐานที่จำกัดในเรื่องมะเร็งเซลล์ตับที่เกี่ยวข้องกับสารแอส ปาร์แตม มาจากการศึกษา 3 เรื่องที่ดำเนินการในสหรัฐอเม ริกา และ 10 ประเทศในทวีปยุโรป นี่เป็นเพียงการศึกษาทางระบาดวิทยาที่ตรวจสอบมะเร็งตับ กลุ่มที่ 2 ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแอสปาร์แตมคือ คณะกรรมการผู้เชี่ยว ชาญร่วมด้านวัตถุเจือปนอา หาร (เจอีซีเอฟเอ) ซึ่งก่อตั้งโดยองค์การอนามัยโลก ประชุมร่วมกับองค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติที่นครเจนีวา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน-6 กรกฎาคม

                   การประชุมดังกล่าวได้ ข้อสรุปว่า จากข้อมูลที่มีไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงปริ มาณที่บริโภคได้ต่อวัน (เอดีไอ) ของสารแอสปาร์แตมที่ระบุไว้ในปี 2524 ว่าให้บริโภคสารแอ สปาร์แตมได้ตั้งแต่ 0-40 มิลลิ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล 1 กระป๋อง ส่วนใหญ่ใส่สารแอสปาร์แตมราว 200 หรือ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ถ้ารับสารแอสปาร์แตมเกินกว่าปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน จะต้องดื่มน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล 9-14 กระ ป๋องใน 1 วัน ในเงื่อนไขที่ว่าไม่มีการบริโภคแอสปาร์แตมเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น

                   บรานกากล่าวว่า ปัญหาเรื่องนี้อยู่ที่ผู้ดื่มน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาลในปริมาณสูง คนที่ดื่มน้ำอัดลมนานๆ ครั้งก็ไม่น่าเป็นห่วง แอสปาร์แตมเป็นสารเค มีสังเคราะห์ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา พบในเครื่องดื่มลดน้ำหนัก หมากฝรั่ง เจลาติน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ซีเรียลที่กินเป็นอาหารเช้า ยาสีฟัน ยาอมแก้ไอและวิตามินแบบเคี้ยว

Shares:
QR Code :
QR Code