ตำแหน่งคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา/กรรมการบริหารแผนของ สสส. มีการหมุนเวียนกันในกลุ่มบุคคลหน้าเดิมๆ?
ตำแหน่งคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา/กรรมการบริหารแผนของ สสส. มีการหมุนเวียนกันในกลุ่มบุคคลหน้าเดิมๆ?
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.๒๕๔๔ กำหนดสัดส่วน
คุณสมบัติ รายละเอียด และวิธีการในการสรรหาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการกองทุน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการกองทุน คนที่ ๑ และมีคณะกรรมการ ที่มาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ๙ หน่วยงาน อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนโดยตำแหน่ง นอกจากนั้น กำหนดให้มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อทำหน้าที่รองประธานกรรมการกองทุน คนที่ ๒ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคัดเลือกจากนักวิชาการ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และผู้มีความสามารถด้านต่างๆ อีก ๘ ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาชุมชน ด้านการสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา ด้านการกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกฎหมายและด้านการบริหาร
ในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามองค์ประกอบข้างต้น เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเข้ามาทำหน้าที่ตามขั้นตอน ดำรงตำแหน่งวาระละ ๓ ปี ซึ่งตั้งแต่ที่มีการก่อตั้ง สสส. มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ๖ ครั้ง ในแต่ละครั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งที่อยู่เดิม และผู้ที่เข้ามาใหม่ โดยมีสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่งเฉลี่ย ร้อยละ ๖๘
กระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
และคณะกรรมการบริหารแผนก็เช่นเดียวกัน มีการพิจารณาคัดเลือกนักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มี
ความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถด้านนั้นๆ และเป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง
ส่วนใหญ่ เป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง สั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางนั้นๆ
ที่ได้นำความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องกับการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะ มาร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของ สสส. และส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญของประเทศ