01 ก.พ. 64 7,567 ครั้ง “ทำไมอ้วนจัง ไม่เห็นสวยเหมือนในรูปเลย” “หน้าตาขี้เหร่ แต่ดันอยากสวย ไม่ดูตัวเองเลย” “ทำไมหน้าตาดูบ้านนอกจังอ่ะ 555” รู้หรือไม่คำพูดเหล่านี้ อาจเป็นอาวุธร้ายที่สามารถ “ฆ่า” คนคนหนึ่งได้ โดยที่คนพูดอาจไม่รู้สึกอะไร เพียงเพราะแค่ “สนุกปาก” เท่านั้น การถูกระรานทางออนไลน์เปรียบเสมือนมหันตภัยที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายราย โดยเฉพาะในสังคม Social Media และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ การระรานทางออนไลน์ในเด็กและเยาวชน
25 ก.ย. 63 2,637 ครั้ง มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ร่วมกับ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) และเครือข่าย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กรมกิจการเด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีนโยบายสาธารณะ ชวน32องค์กรภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และเครือข่ายเด็กและเยาวชน ร่วม“ประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือเพื่อการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์”พร้อมวางแนวทางความร่วมมือในการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์ ที่นำไปสู่การขยายผลในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยออนไลน์อย่างเป็นระบบ ณ อาคารหอประชุม ชั้น2กสทช.
22 ม.ค. 63 5,367 ครั้ง ยังสะเทือนใจไม่หายกับ "ข่าวเด็กขโมยปืนพ่อแม่ยิงเพื่อนร่วมชั้น เพราะแค้นที่ถูกล้อเลียน" จากกรณีดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึง "ราก" ของปัญหาที่มาจากการที่เด็กถูกบูลลี่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องเล็กสำหรับผู้ใหญ่ เพราะมองเป็นเรื่องเด็กๆ แต่แท้จริง เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบในหลายด้าน และอาจรุนแรงถึง "เสียชีวิต"