Spark U เชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก

ที่มา : ไทยโพสต์


ภาพประกอบจาก สสส.


Spark U เชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก thaihealth


Spark U Lanna  เริ่มต้นจากความร่วมมือของกลุ่มภาคประชาสังคม กลุ่มจิตอาสาและตัวแทนหน่วยงานองค์กรหลากหลาย ภายใต้แนวคิดร่วมกัน "ความร่วมมือและกิจกรรมสร้างสรรค์" เป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับเปลี่ยน จุดประกายและยกระดับพื้นที่เมืองสู่สิ่งที่ดีกว่า ภายใต้ชื่อ Spark U Chiang Mai ในช่วงปี 2560 ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง กิจกรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์


จากกิจกรรม Spark U Chiang Mai ที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนจิตอาสาในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2561 ขยายแนวคิดนี้ไปสู่กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคเหนือ จนเกิดการขยับขับเคลื่อนสู่การดำเนินกิจกรรมร่วมกันในนามโครงการ Spark U Lanna โครงการปฏิบัติการจุดประกาย "ฟื้น ใจ๋ เมืองล้านนา" โดยการสนับสนุนของ สสส.เป็นการนำแนวคิดการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อปรับเปลี่ยนและจุดประกายพื้นที่ไปใช้ในเมืองต่าง ๆ ผ่านการทำงานของภาคประชาสังคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 5 จังหวัด เชียงใหม่ เมืองลับแล อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน ลำพูน เชียงราย


กิจกรรมในปี 2560 กิจกรรม "เตวแอ่วเวียง" กิจกรรมปรับปรุงกายภาพย่านเมืองเก่าและส่งเสริมการเดินในเมืองเก่าเชียงใหม่ ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี, เมืองเก่าเชียงใหม่, กิจกรรมไหว้ผีเหมืองฝายพญาคำ และ Big cleaning day การสนับสนุนกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่หน้าฝายพญาคำ และร่วมจัดงานไหว้ผีเหมืองฝายพญาคำ เหมืองฝายพญาคำ เมืองเชียงใหม่ กิจกรรมปลูกหมากปลูกลานฝากไว้ให้แผ่นดิน ส่งเสริมการปลูกต้นลาน และต้นหมากในพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ และพื้นที่วัดโบราณ เมืองเชียงใหม่ กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สวนสาธารณะหน้าค่ายกาวิละ สนับสนุนการเปิดพื้นที่สาธารณะผ่านการจัดละคร แสง สี เสียง "ล้านนาที่ข้ารัก พระเจ้ากาวิละ" นิทรรศการ Spark U Chiang Mai และเวทีเสวนาเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง สวนสาธารณะหน้าค่ายกาวิละ เมืองเชียงใหม่ กิจกรรมจุดประกายคลองแม่ข่า รณรงค์ปลุกจิตสำนึกรักคลองแม่ข่า และการรณรงค์ติดถังดักไขมัน คลองแม่ข่า เมืองเชียงใหม่ กิจการหมุดไม้หมายเมือง กิจกรรมปลูกต้นไม้เป็นหมุดหมายและเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนถนนท่าแพ เกาะกลางถนนท่าแพ ข้างวัดแสนฝาง เมืองเชียงใหม่


Spark U เชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก thaihealth


กิจกรรมในปี 2561 ละคร "แสนหาญ" เป็นละครเวทีร่วมสมัยจุดประกายการอนุรักษ์และสืบสานนาฏกรรมล้านนา โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เมืองเชียงใหม่ หลงลับแล กิจกรรมฟื้นฟูและสืบสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนลับแล สืบสานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสักการะเจ้าฟ้าฮ่าม การจัดพิมพ์หนังสือฟ้อนโบราณเมืองลับแล งานอัญเชิญพระเจ้ายอดคำทิพย์ เลียบเมืองลับแลไชย เมืองลับแล อุตรดิตถ์ กิจกรรมไหว้ผีเหมืองฝายพญาคำ และ Big Cleaning Day การสนับสนุนกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่หน้าฝายพญาคำ และร่วมจัดงานไหวผีเหมืองฝายพญาคำและร่วมจัดงานไหว้ผีเมืองฝายพญาคำ เชียงใหม่ การอบรมเยาวชนสื่อสารสร้างสรรค์ครั้งที่ 1-2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เยาวชนในเรื่องการผลิตและพัฒนาสื่อออนไลน์สร้างสรรค์ เมืองเชียงใหม่ ลูกอ่อนสืบสานไทใหญ่-ล้านนากิจกรรมอบรมเยาวชนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่-ล้านนา สถาบันไทใหญ่ศึกษา เมืองแม่ฮ่องสอน บ้านปันเสียง กิจกรรมปันความรู้เสริมทักษะด้านดนตรี สำหรับเยาวชนที่ต้องการโอกาสเมืองเชียงใหม่


กิจการปลูกหมากปลูกลาน ฝากไว้ให้แผ่นดิน สนับสนุนกิจกรรมการปลูกต้นลาน และต้นหมากในพื้นที่เมืองเชียงใหม่และวัดป่ารัชดาราม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมืองเชียงใหม่ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ห้องสมุดชาวกาดทิพย์เนตร ส่งเสริมการจัดตั้งห้องสมุดชุมชนชาวตลาดทิพย์เนตร เมืองเชียงใหม่ วารสาร "เอิ้นเน้อ" สื่อออนไลน์ Spark U Lanna และบทความสร้างแรงบันดาลใจจำนวน 8 ฉบับ แจกในพื้นที่โครงการไปแล้ว 7,000 เล่ม


บ้านปันเสียง: จุดประกายจากโอปอ-ดนตร์-พลอย


Spark U เชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก thaihealth


ภราดล พรอำนวย (โอปอ) ธนัทคุณ สุสุข (ดนตร์) พลอยไพลิน เกษมสุข (พลอย) ครูอาสาสมัคร แบ่งปันความรู้ด้วยการสอนทักษะด้านดนตรีและการเต้นรำ รวมทั้งงานศิลปะเป็นกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตให้กับเด็กชาติพันธุ์ด้วยการตั้งกลุ่มบ้านปันเสียง เด็กชาติพันธุ์ที่พ่อแม่เป็นชาวเมียนมา และไทยใหญ่แรงงานข้ามชาติ วัย 4-14 ปี จำนวน 80-100 คน มาอยู่ที่วัดทรายมูลในวันเสาร์อาทิตย์ เป็นความร่วมมือหลายหน่วยงาน อาจารย์จากคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


พลอยไพลิน เรียนจบจากเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชอบเล่นดนตรี เล่าว่า "เด็กเล่นกีตาร์ เมอริเดียน ตีกลอง เป่าขลุ่ย เต้นรำได้ เมื่อเด็กมีความคุ้นชิน ไว้เนื้อเชื่อใจ ผูกพันกับครูอาสา ทางชุมชนก็ให้ความร่วมมืออย่างดี เด็ก ๆ เล่นดนตรีและเต้นประกอบจังหวะได้ในระดับเบื้องต้น อาสาสมัครมี 10 คน ในขณะที่มีเด็ก ๆ 100 คน ตอนนั้นก็ตกใจ เพราะเราเคยสอนเด็กไม่กี่คนเท่านั้น เราอยากได้อาสาเพิ่มมากขึ้น เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้ให้มีความไว้เนื้อเชื่อใจมากขึ้น"


ภราดล อำนวยพร (โอปอ) จบจากคณะสถาปัตยกรรมเทคโนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าว่า ได้แรงบันดาลใจจากการเดินทางไป รร.ชุมชนคลองเตย เห็นพลังดนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงเด็ก จึงคิดที่จะมาทำกับเด็กชายขอบในพื้นที่เชียงใหม่ คนหนึ่ง ๆ ที่มีข้อจำกัดมากมายในชีวิตเราใช้สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เปลี่ยนชีวิตเขาได้ เด็กที่เป็นไฮเปอร์ ออทิสติกเรียนหนังสือไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก แต่วันนี้เขาเล่นดนตรี ตีกลองได้เป็นจังหวะ เด็กลูกคนงานก่อสร้างมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ พ่อแม่ของเขาก็เกรงว่าส่งลูกออกมาเรียนแล้วลูกเขาจะไม่ปลอดภัย เราต้องใช้เวลาในการสอน ต้องไม่เร่งรัดเด็กจนเกินไป บ้านปันเสียงจับมือกับหลายเครือข่ายทำงาน พาไปดูงานสุขภาวะ รร.สีขาวในพื้นที่ชายแดน อุบลราชธานี ศรีสะเกษ โมเดลของ รร.ลำปลายมาศ ทำอย่างไรเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา นำแนวคิด รร.วอลดอร์ฟ รร.กัลยาณิวัฒนา รร.จอมทอง รร.ไร่ส้ม ฝาง มูลนิธิกระจกเงา รร.เกาะยาว ชุมชนมุสลิม ชุมชนดีจัง


เราบันดาลใจและใจบันดาลแรง ความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งอ่อนไหว ไม่มั่นคงภายใน มนุษย์ต้องช่วยเหลือกัน ไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ เรามารวมกันเพื่อทำสิ่งต่าง ๆ มนุษย์ฝันถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า เราต้องการสิทธิ เสรีภาพ ภราดรภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องช่วยเหลือผลักดันจำเป็นต้องมีในสังคม มิฉะนั้นก็จะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม กลายเป็นช่องว่างมากยิ่งขึ้น การที่พ่อแม่คู่หนึ่งต้องทำงานหนักมากกว่าพ่อแม่คู่อื่น ๆ ทำงานที่เลือกไม่ได้จากรุ่นสู่รุ่น เป็นความเหลื่อมล้ำจนไม่สามารถแก้ไขได้ เราพูดกันว่าเราต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ กลไกทางเศรษฐศาสตร์ มนุษย์รวมหัวกันสอนเยาวชน เราต้องช่วยกัน การที่โน้ตตัวหนึ่งดังจะสั่นสะเทือนให้ตัวโน้ตที่อยู่ห่างไกลดังเหมือนๆ กันด้วย" ค่ำคืนนั้นทุกคนได้ชมการแสดงกล่องเมืองจากกลุ่มศิลปินล้านนา "รวมใจม่วนงันฉันพี่น้อง" 


ธนัทคุณ สุสุข (ดนตร์) เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์หลายปี เบนเข็มมาเรียนศึกษาศาสตร์ ศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "บ้านปันเสียง ผมและพลอยเล่นดนตรี แต่ละคนก็มีงานของตัวเอง ผมคิดว่าดนตรีจะช่วยสื่อสารกับเด็กได้เป็นอย่างดี"


อ.มัทนา ถนอมพันธุ์ หอมลออ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทาง สำนักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า เป็นการพูดจาด้วยหัวใจของคน โลกยุคนี้ผู้ใหญ่มีอำนาจจนลืมพื้นที่เล็ก ๆ ที่คนอยากทำงาน พลังเหล่านี้เปลี่ยนโลกให้ใช้พลังอย่างสร้างสรรค์ เขียวชมเมืองเชียงใหม่ 723 ปี ต้นยางนาหมายเมืองวัดเจดีย์หลวง กิจกรรมสันทนา การนั่งรถ "เขียวชมเมือง" มัคคุเทศก์ที่มีอาชีพหัวหน้ากลุ่มงานเภสัช-รองปลัดเทศบาลสุโขทัย เล่าประวัติศาสตร์ สสส.นำปลูกต้นหมากต้นลานที่วัดเจ็ดยอด วัดบ้านปิง วัดอุโมงค์ เข้ามาที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ บริเวณเมืองเก่าของเชียงใหม่ที่มีอายุ 723 ปี


วัดเจดีย์หลวงอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จ่ำกันบ่ได้ก๊า ต้นยางนาอายุร่วม 200 ปี ปลูกไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ เยือนวัดเชียงมั่นวัดแห่งแรกเมืองเชียงใหม่ วัดบ้านปิงที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเข้ามากราบไหว้สักการะพระสิงห์ 1 ที่นี่มีต้นไทรเก่าแก่ 700 ปี


ดารินทร์ เมฆมนต์ (น้ำผึ้ง) มัคคุเทศก์ "เขียวชมเมือง" ที่ผันตัวเองจากตำแหน่งหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานเภสัช โรงพยาบาลสวนดอกซึ่งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาอบรมมัคคุเทศก์กับกรมการท่องเที่ยว และตัดสินใจเลือกทำงานอาชีพใหม่นี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาล ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ช่วยกันแลกเปลี่ยนความรู้ประวัติศาสตร์ให้คณะสื่อมวลชนที่ติดตามไปดูงานของ สสส. "เพราะประวัติศาสตร์นั้นไม่มีใครรู้ อยู่ที่คนบันทึกเรื่องที่อยากเล่าคุณค่าของความเป็นเมือง สมัยก่อนเมื่อ 722 ปียังไม่มีกูเกิลแมปที่จะบอกเส้นทาง ต้องใช้วิธีมองด้วยสายตาไกล ๆ ต้นไม้หมายเมืองของเมืองเชียงใหม่ มีความหมายว่า ต้นไม้หมายให้รู้ว่าเป็นเมือง ปักหมุดด้วยยางนาไม้หมายทางเป็นสัญลักษณ์ของทาง ต้นยางนาปลูกสองฟากถนน ถนนทางหลวงหมายเลข 106 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน เป็นทั้งถนนสายดั้งเดิมที่เชื่อมเชียงใหม่สู่ลำพูนและลำปาง และเป็นหนึ่งในถนนสายที่งดงามที่สุดของประเทศ จากทิวต้นยางนาสูงใหญ่ที่ขนาบสองข้างเรียงต่อกันเกือบพันต้น" ตลอดเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาต้นไม้คู่เมืองเหล่านี้กลับถูกละเลย จนทำให้หลายชีวิตต้องเสื่อมสภาพหรือโค่นไปอย่างน่าเสียดาย ขณะนี้มีภาคีภาคประชาชนหลายกลุ่มที่ร่วมกันฟื้นฟูสภาพต้นยางนาบนถนนสายนี้ให้กลับมามีสุขภาพดีแผ่ร่มเงาแก่เราได้ดังเดิม 


ลำพูนเมืองเจ้านายนั่งช้าง เชียงใหม่เมืองขี่ม้า เมื่อเริ่มต้น start พร้อม ๆ กัน คนเชียงใหม่ใช้ม้า คนลำพูนใช้ช้าง สมกับที่เป็นแดนเมืองสารภี เชียงใหม่ใหญ่กว่าลำพูน ประตูแลนด์มาร์คของเชียงใหม่เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเป็นที่ถ่ายรูป Pre wedding ถ้าไม่ได้ถ่ายรูปที่บริเวณประตูท่าแพ ก็เท่ากับว่าไม่ได้มาเมืองเชียงใหม่ ที่นี่มีถนนคนเดินในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ที่ถนนวัวลายอยู่บริเวณทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ จะปิดถนนตั้งแต่ห้าโมงเย็นจนถึงเกือบเที่ยงคืน ถ้ามาเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไปเดินถนนคนเดิน ก็เปรียบเสมือนไม่ได้มาเชียงใหม่ เดินซ้อมก่อนวันเสาร์และเดินไฟนอลวันอาทิตย์ เดินผ่านมุมเมืองแจ่งเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ควอนตัมเป็นเครื่องมือจับปลาสมัยก่อนในบริเวณนี้ เป็นสถานที่จับปลาของชาวเมือง ที่เมืองเชียงใหม่มีต้นไม้รอบคูเมืองปลูกมาแล้ว 3-40 ปี สมัยก่อนนั้นกลุ่มอาสาสมัครเรียกกันว่ากลุ่มลูกเสือชาวบ้าน พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยมาเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองเชียงใหม่ที่สอดคล้องกับความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ท่ามกลางอ้อมกอดของภูผา ประชาชนคนเมืองมีความสุข ปลอดภัย รายได้จากการท่องเที่ยวนำมาดูแลรักษาต้นไม้โดยรอบเมืองเชียงใหม่

Shares:
QR Code :
QR Code