Learning Land ดินแดนแห่งการเรียนรู้

มุมมองใหม่ในเรื่อง km

 

            เมื่อ พื้นที่การจัดงานวิชาการ กำลังจะถูกเนรมิตให้เป็น “ดินแดนแห่งการเรียนรู้” นี่คือนวัตกรรมของการจัดการความรู้ในรูปแบบใหม่ในประเทศไทยที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน อะไรคือความพิเศษของดินแดนนี้ มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดงาน “มหกรรมการจัดการความรู้ (km) แห่งชาติ ครั้งที่ 5” อย่างไร สังคมไทยจะได้อะไรจากการจัดงานในลักษณะนี้…

 

Learning Land ดินแดนแห่งการเรียนรู้

 

Learning Land ดินแดนแห่งการเรียนรู้         

            ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เปิดเผยว่า งานมหกรรม km ระดับชาตินี้มีการจัดมาแล้ว 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะอยู่ในรูปแบบที่คุ้นชินกันดีคือมีองค์ปาฐกฯ มีการใช้วิดีทัศน์ประกอบการเปิดงาน หลังจากนั้นก็ให้ผู้เข้าร่วมงานเลือกว่าจะเข้าห้องสัมมนา (ห้องย่อย) ห้องไหน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน ในแต่ละห้องย่อยบางห้องก็เป็นการอภิปราย บางห้องก็ใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กร แต่ละปีจะมีภาคีที่เป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟัง ผู้เข้าร่วมงานสามารถนำความรู้ที่ได้นี้ ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนได้ต่อไป

 

            การจัดงานในลักษณะดังกล่าว ได้เว้นช่วงไปเป็นเวลา 3 ปี จนกระทั่งปีนี้ได้กลับมาจัดใหม่อีกครั้ง พร้อมพลิกโฉมการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ใหม่ โดยใช้หลักการ “action learning” คือให้เรียนรู้จากการได้มีโอกาสทดลองทำจริง และสิ่งที่ถือว่าเป็น highlight ของงานก็คือการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้มีชีวิตชีวา สมกับคอนเซ็ปต์ของงานที่ว่า “lively learning land” การที่พื้นที่การเรียนรู้จะที่มีชีวิตชีวาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัย km ที่ “ระเบิดจากข้างใน” ที่เรียกว่าเป็น “km inside” เท่านั้น km อย่างที่ทำกันส่วนใหญ่ มักจะเป็น km ที่ทำไปอย่างจำใจ ทำไปเพราะความจำเป็น ทำไปเพียงเพื่อตอบสนองตัวชี้วัด (kpi) การทำงาน ไม่ได้ทำเพราะเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้ theme ในปีนี้จึงชูประเด็นเรื่องการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวาและพยายามจะสื่อให้เห็นว่าจะต้องเป็น km ที่เริ่มจากข้างใน เป็น km ที่ไม่ทิ้งเรื่องจิตใจ ดั่ง theme ใหญ่ของงานที่ว่า “km inside – lively learning land”

 

            learning land ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 – 23 พฤศจิกายนนี้ นอกจากจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว สิ่งที่ถือว่าพิเศษกว่าทุกๆ ครั้งก็คือ ผู้เข้าร่วมจะพบกับ professsor ikujiro nonaka ปรมาจารย์ด้าน km ชื่อดังระดับโลก ที่จะมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “km in the first decade of the 21th century” หลังจากนั้นก็จะเป็นการเปิดงานด้วยการแสดงละครเวทีจากศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนแห่งการเรียนรู้อันมีชีวิตชีวานี้ให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้ตื่นตาตื่นใจ เป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนที่จะออกเดินทางกันไปตามโซนต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผนที่ (ลายแทง) ของแต่ละคน

 

            การเปลี่ยนรูปแบบเวทีการสัมมนาให้ออกมาเป็นดินแดนแห่งการเรียนรู้นี้ สิ่งที่สำคัญก็คือต้องการทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นการพลิกกระบวนทัศน์ใหม่ในเรื่อง km ทำให้เห็นว่า km เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนาน เป็นเรื่องของการเปิดพื้นที่ให้คนเข้ามามีส่วนร่วม โดยที่ได้แบ่ง learning land ออกเป็น 9 โซนหลักๆ ด้วยกัน โดยที่แต่ละโซนจะมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำเสนอโดยแต่ละหน่วยงานที่ได้ผ่านการทำ km มาเป็นระยะเวลาพอสมควร ผู้ที่เข้ามาในห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ (ชั้น 4-5) เซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน จะรู้สึกคล้ายกับว่าตัวเองกำลังก้าวเข้าสู่ เนเวอร์แลนด์ ดินแดนจินตนาการในภาพยนตร์เรื่องปีเตอร์แพน  

 

            สคส.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานตลอดสองวันจะมีมุมมองใหม่ในเรื่อง km และจะเกิดความเข้าใจใหม่ว่าการใช้ km ให้ได้ผลนั้น km จะต้องเริ่มต้นจากภายในคนก่อนเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถนำไปพัฒนางาน พัฒนาองค์กรและสังคมต่อไปได้

 

            โปรดอย่าพลาดโอกาสที่จะเข้าร่วมงาน “มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 5” นี้  ซึ่งงานจะมีเพียง 2 วันเท่านั้น คือ 22-23 พฤศจิกายน ใครที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ต้องรีบไปก่อนที่จะหมดเขต 31 ตุลาคมนี้ เพราะงานนี้ สคส. รับจำนวนจำกัดเพียงแค่ 900 คนเท่านั้น

 

            ดาวน์โหลดใบสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kmi.or.th โทร.0-2197-8251 และ 08-4555-6819

 

9 โซน learning land

 

            1.หาดฝึกกระบวนท่า : เป็นพื้นที่ที่ชนเผ่าต่างๆ รวมทั้งคนต่างถิ่นเข้ามาใช้ฝึกทักษะการเรียนรู้จากพี่เลี้ยงผู้มากด้วยประสบการณ์ ทักษะที่สำคัญ ได้แก่ การเปิดใจรับฟัง การฝึก

ให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการฝึกทบทวนการเรียนรู้

 

            2. ทะเล tacit : สำหรับผู้ที่อยู่ใน learning land แล้ว “tacit knowledge หรือ ความรู้ปฏิบัติถือเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามาก เพราะนอกจากจะทำให้การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ง่ายขึ้น ยังสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง แต่การค้นหา tacit knowledge อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ จำเป็นต้องอาศัยการฝึกทักษะบางอย่างเพื่อการดับจับ ต่อยอด และถ่ายทอดความรู้เหล่านี้

 

            3. ชนเผ่าจับเข่าคุย : คนกลุ่มนี้กำลังทำอะไรกัน ทำไมพวกเขาจึงมีชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ใครที่ต้องการจะรู้ว่าพวกเขาใช้เทคนิคอะไร ขอให้รีบแวะ

มาพูดคุยได้ที่นี่

 

            4. เทือกเขาปันปัน : พื้นที่ที่จะทำให้ท่านเข้าใจถึงประโยชน์อันยิ่งใหญ่จาก การให้โดยเรียนรู้จากกรณีศึกษามากมาย ที่จะทำให้ท่านกระจ่างว่าทำไม ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ

 

            5. สะพานเชื่อมใจ : การขับเคลื่อน km จะสำเร็จได้ต้องอาศัยผู้ที่ทำหน้าที่ เชื่อมประสานการเป็นผู้เชื่อมประสานไม่ใช่งานที่ใครๆ ก็ทำได้ หากท่านอยากรู้เทคนิคดีๆ ของผู้ที่

รับบทบาทเชื่อมประสาน อย่าลืมมาขึ้นสะพานนี้

 

            6. ศาลาศิราณี : สถานที่นัดพบของกูรู (guru) และผู้ที่ฝักใฝ่สนใจในเรื่อง km ท่านที่มีปัญหาคาใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือปัญหาใหญ่ สามารถมาเปิดใจกันได้ในศาลานี้

 

            7. เกาะสุขสันต์ : เป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นว่าบรรยากาศการทำงานที่มีชีวิตชีวานั้นเป็นอย่างไร มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาตามยถากรรม หากแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำต้องสร้าง ต้องมีการ

วางกลยุทธ์ และมีการนำกระบวนการ km ไปใช้อย่างมีลีลา

 

            8. ประภาคารเกื้อกูล : การงานใดๆ ย่อมต้องมีการตั้งเป้าหมาย เปรียบได้กับการออกเรือที่ต้องรู้ทิศทาง การสาละวนอยู่กับงานประจำบ่อยครั้ง อาจทำให้ท่านลืมมองเป้าหมาย ประภาคาร จะทำหน้าที่ส่องแสงมาไกลๆ ให้รู้ว่าเป้าหมายปลายทางของเราอยู่ไหน ในโซนนี้ผู้ที่เป็น คุณเอื้อ (chief knowledge officer)” จะมาเผยเทคนิคการนำที่ทำให้คนทำงานใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่จนสามารถไปสู่เป้าหมายได้

 

            9. บึงบูรณาการ : การเชื่อมโยงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารเข้าด้วยกันโดยไม่ทำให้เป็นภาระต่อผู้ปฏิบัติงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่บึงบูรณาการนี้ท่านจะได้พบกับตัวอย่างดีๆ จากผู้

ที่มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้

 

 

 

 

 

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

 

 

 

 

update : 14-10-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : สุนันทา สุขสุมิตร

 

Shares:
QR Code :
QR Code