โครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ชวนเยาวชน นวัตกร
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และภาคีนักคิด ร่วมสร้างสรรค์
นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
ในการประกวด 
Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation
2022 
ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 460,000 บาท!

หัวข้อการประกวด 

        “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยง หรือ
ส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย”

         หัวข้อย่อย (เลือกทำเพียง 1 ข้อ)

          • ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          • ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่

          • ลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยทางถนน

          • เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ และอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

          • เพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

          • สร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะทางเพศ

          • การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

          • สร้างเสริมสุขภาพจิต/การจัดการอารมณ์และความเครียด

ประเภทการประกวด  การประกวดแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

          • กลุ่มที่ 1: มัธยมศึกษาตอนปลาย

          • กลุ่มที่ 2: อาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

          • กลุ่มที่ 3: บุคคลทั่วไป และ Startup

          • กลุ่มที่ 4: ภาคีเครือข่าย สสส.

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด

         • กลุ่มที่ 1 และ 2  กำหนดเป็นทีมนักเรียน หรือ นักศึกษา จำนวน 2 – 3 คน
และอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีม 1 คน รวมไม่เกิน 4 คน/ทีม โดยต้องมาจากสถาบันการศึกษาเดียวกัน
และอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีมสามารถมีรายชื่อเป็นสมาชิกทีมได้ 1 ทีมเท่านั้น

        • กลุ่มที่ 3 กำหนดเป็นทีม สมาชิกทีมไม่ต่ำกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน ต่อ 1
ทีม และเป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย มีต้นแบบผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการ หรือ
กระบวนการที่สามารถพัฒนาต่อยอดในโจทย์การประกวดได้ ผลงานที่ส่งประกวด
ต้องไม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายหรือออกสู่ตลาดเรียบร้อยแล้ว (Product launched)

        • กลุ่มที่ 4  เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่เคยรับทุนกับ สสส.
หรืออยู่ระหว่างการรับทุนจาก สสส. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานจากโครงการที่รับทุนตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
และมีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถตรวจสอบได้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

วิธีการสมัคร

       กรอกข้อมูลการสมัครและแนบไฟล์ในระบบ Google form ประกอบด้วย

รายละเอียดข้อเสนอโครงการในรูปแบบ .doc หรือ docx
ตั้งชื่อไฟล์เอกสารตามชื่อทีม

                    • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4 – 6) และ
ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

https://forms.gle/W9CL451VsHKMyRZU9

                    • ระดับบุคคลทั่วไป และ Startup https://forms.gle/oTLvCv1DsRop5Dod9

                    • ระดับภาคีเครือข่าย สสส. https://forms.gle/pqu6i7TRRUE6dGjS8

กติกาการประกวด

        1. ผู้เข้าประกวด 1 คน สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกทีมได้ 1 ทีมเท่านั้น

        2. ผู้เข้าประกวด 1 ทีม สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ 1 ผลงานเท่านั้น

        3. สถาบันการศึกษาของกลุ่มที่ 1 และ 2 สามารถส่งทีมเข้าร่วมประกวดได้มากกว่า 1 ทีม
แต่รายชื่อสมาชิกภายในทีมและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีมต้องไม่ซ้ำกัน

        4. ทีมผู้เข้าแข่งขันในกลุ่มที่ 1 และ 2 ไม่สามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกและอาจารย์ที่ปรึกษาได้
และสมาชิกทุกคนในทีมสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามที่โครงการกำหนดยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย
ที่ผ่านการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากผู้จัดการประกวดฯ

        5. ทีมผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบที่ 2 ในกลุ่มที่ 1 และ 2
ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพในวันและเวลาที่โครงการประกวดฯ กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์

        6.
ผู้เข้าประกวดทุกกลุ่มรับทราบและยินยอมปฏิบัติตามกติกาการเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่มีข้อโต้แย้ง

        7. ผู้จัดการประกวดฯ ขออนุญาตใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร ในการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ
โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

        8. แนวคิด หรือ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นสิ่งที่ริเริ่ม หรือคิดค้น
หรือพัฒนาโดยนักเรียนหรือนักศึกษา (กลุ่มที่ 1 และ 2) หรือเป็นผลงานต่อยอดจากงานเดิมที่มีอยู่
ไม่ลอกเลียนแบบหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หากตรวจพบ และ/หรือตรวจพบภายหลังว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวด และ/หรือ
ได้รับรางวัลนั้นเป็นผลงานของผู้อื่นจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดทันที และมีสิทธิ์เรียกคืนรางวัลทั้งหมด

        9. แนวคิด หรือ ผลงงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่อยู่ระหว่างส่งเข้าร่วมประกวดในโครงการอื่น
หรืออยู่ระหว่างการขอสนับสนุนทุนจากหน่วยงานอื่น รวมทั้งไม่เป็นผลงานที่เคยได้รับรางวัลระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ

        10. สิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานเป็นของผู้เข้าประกวดทั้งหมด โดยผู้จัดการประกวดฯ
ขอสิทธิ์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทั้งระหว่างและหลังสิ้นสุดโครงการฯ

        11. ผู้จัดการประกวดฯ จะไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
ทั้งสิ้นในกรณีที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หากผลงานที่เข้าร่วมประกวด ผลงานที่ได้รับรางวัล
เมื่อเผยแพร่แล้วมีบุคคลอื่นโต้แย้งทรัพย์สินทางปัญญาในผลงานผู้เข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์สินทางปัญญาของข้อมูล
ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์
หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน

        12. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

        *ผู้จัดการประกวดฯ
ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการประกวดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ประเภทของรางวัล *รางวัลทั้งหมดในการประกวดยึดถือตามคำตัดสินของกรรมการ

          1. กลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า)

1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 60,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 40,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

4. รางวัลชมเชย เงินรางวัล 10,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

5.
เกียรติบัตรมอบแก่สมาชิกทีมประกวดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทุกคน

          2. กลุ่มอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 60,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1
รางวัล)

2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 40,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

4. รางวัลชมเชยเงินรางวัล 10,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

5.
เกียรติบัตรมอบแก่สมาชิกทีมประกวดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทุกคน

           3. กลุ่มบุคคลทั่วไป และ Startup

1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1
รางวัล)

2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 40,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

4. รางวัลชมเชย เงินรางวัล 10,000 บาท
พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

            4. กลุ่มภาคีเครือข่าย สสส.

             โล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตร 5 รางวัล

กำหนดการประกวด * วัน เวลา
และกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับความเหมาะสม

กิจกรรมกำหนดการประกวด
กลุ่ม ม.ปลาย – ปวช.กลุ่มบุคคลทั่วไป และ Startupกลุ่มภาคีเครือข่าย สสส.
1. ชี้แจงการประกวด หัวข้อ และเงื่อนไขต่าง ๆ และเปิดโครงการประกวด
Open House
8 กรกฎาคม
13:00 น. – 15:30 น. @ Facebook Live
2. รับสมัครข้อเสนอโครงการประกวด
27 มิถุนายน – 22 กรกฎาคม
27 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม
27 มิถุนายน – 12  สิงหาคม
3. ประกาศรายชื่อ
ผู้ผ่านเข้ารอบที่ 1
27 กรกฎาคม
5 สิงหาคม
4. การคัดเลือกผลงานโดยการนำเสนอต่อคณะกรรมการ
6 สิงหาคม
การคัดเลือกจากการพิจารณาของคณะกรรมการ
31 สิงหาคม
5. ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมประกวด (Program Orientation)
10 สิงหาคม
(09.00 – 12.00 น. Online)
6. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ
Innovation Camp
19 – 21 สิงหาคม
(Onsite)
Validation Workshop
27 สิงหาคม
(09.00 – 15.00 น. Online)
Mentoring Session
3 กันยายน
( 09.00 – 16.00 น. Online)
Alignment & Networking Session
7 กันยายน 
18:00-20:00 (Onsite)
7. การพัฒนาผลงาน
22 สิงหาคม – 31 ตุลาคม
(มีการกิจกรรมเสริมในรูปแบบ online และการติดตามความก้าวหน้าช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม)
Hackathon
17 – 18 กันยายน (Onsite)
8. การตัดสินรอบสุดท้าย โดยการนำเสนอต่อคณะกรรมการ
9 พฤศจิกายน
(Onsite)
18 กันยายน
(Onsite)
การตัดสินจากการพิจารณาของคณะกรรมการ
14 กันยายน
9. พิธีประกาศผลและมอบรางวัล
10 พฤศจิกายน
(Onsite)

เกณฑ์การตัดสิน

1. กลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย และกลุ่มอาชีวศึกษา (ปวช.
หรือเทียบเท่า) 
พิจารณาคะแนนจากส่วนต่างๆ ดังนี้

        1.1 คัดเลือกจากใบสมัคร

1.
มีความชัดเจนตามโจทย์การพัฒนาและความเป็นไปได้ในระยะเวลาที่กำหนด

2. เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่องานสร้างเสริมสุขภาพ
ตามหลักการสร้างนำซ่อม

3. มีข้อมูลเบื้องต้นที่โดดเด่น เกี่ยวกับแนวคิดสร้างสรรค์
องค์ความรู้ เทคโนโลยี และ/หรือสิ่งประดิษฐ์

        1.2 การคัดเลือกจากการนำเสนอในรูปแบบนำการเสนอต่อหน้าคณะกรรมการครั้งที่ 1
เกณฑ์การให้คะแนน ประกอบด้วย

เกณฑ์การให้คะแนนคะแนนเต็ม
1. วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแรงจูงใจ
15
2. ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
         2.1
สร้างประโยชน์และคุณค่าด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
20
3. ด้านความคิดสร้างสรรค์
        3.1 มีความแปลก ใหม่
หรือเกิดจากการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมในแนวทางที่แตกต่างออกไป
20
4. ด้านการนำไปใช้ประโยชน์
        4.1 มีแนวโน้ม/ความเป็นไปได้ในการพัฒนางาน
แก้ปัญหาได้ตามเป้าหมาย
        4.2
มีแนวโน้ม/ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้
         4.3
มีแนวโน้ม/ความเป็นไปได้ในการนำไปต่อยอด/ขยายผลในวงกว้าง
30
5. การนำเสนอ
        5.1
ความสามารถในการอธิบายโดยแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ
15
รวมคะแนน 
100

        1.3
การตัดสินการประกวดจากการนำเสนอผลงานในรูปแบบการเสนอต่อหน้าคณะกรรมการรอบสุดท้าย
 เกณฑ์การให้คะแนน
ประกอบด้วย

เกณฑ์การให้คะแนนคะแนนเต็ม
1. กระบวนการพัฒนาผลงาน
        1.1 ระดับการเปลี่ยนแปลงของผลงานจากรอบที่ 1
        1.2
ระดับความสำเร็จในการพัฒนาผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
        1.3
ความสามารถในการอธิบายโดยแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ
30
2. ด้านการนำไปใช้ประโยชน์
        2.1 สามารถนำไปใช้ได้จริง
        2.2 สามารถแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้
50
3. ด้านการขยายผล
        3.1
มีแนวโน้ม/ความเป็นไปได้ในการนำไปต่อยอด/ขยายผลในวงกว้าง
        3.2
มีแผนงานและรายละเอียดที่ชัดเจนในการนำไปต่อยอด/ขยายขยายผล
20
รวมคะแนน 
100

2. กลุ่มบุคคลทั่วไปและ Startup

เกณฑ์การตัดสินการประกวดผลงานกลุ่มระดับบุคคลทั่วไปและ
Startup
 พิจารณาคะแนนดังนี้ (ใช้สำหรับการตัดสินรูปแบบ Pitching) เกณฑ์การให้คะแนน ประกอบด้วย

เกณฑ์การให้คะแนนคะแนน
1. เป็นแนวคิดใหม่หรือการบูรณาการ / ความใหม่ /
ความคิดสร้างสรรค์
20
2. เป็นผลงานที่เป็นไปตามหลักการหรือทฤษฎีที่อ้างอิงได้
10
3. มีความพร้อมในการผลิตหรือมีต้นแบบ (Prototype)
ของผลงาน
25
4. แนวโน้มที่จะนำไปใช้ได้จริงในงานสร้างเสริมสุขภาพ
15
5. โอกาสในการผลิตเชิงการค้า / การต่อยอด / การไปใช้งานได้จริง
/ โมเดลทางธุรกิจ
20
6. ทักษะในการนำเสนอ: ความเข้าใจในโจทย์
การถ่ายทอดข้อมูล
10
รวมคะแนน
100

3. กลุ่มภาคีเครือข่าย สสส.

         1. องค์ประกอบและระดับของนวัตกรรมตามนิยามของ สสส.

         นวัตกรรม (innovation) หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการ แนวคิด
กระบวนการใหม่ ที่แก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ

          องค์ประกอบ :

                  1) ใหม่

                  2) สามารถใช้ในการแก้ปัญหา

                  3) สร้างการเปลี่ยนแปลง โดยได้กำหนดระดับของนวัตกรรม

         ระดับ :

                  1) มีโครงการที่มีแนวคิดหรือวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหา
เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

                  2) มีต้นแบบเบื้องต้นที่พิสูจน์แนวคิด (proof of concept) ตามข้อ 1

                  3) มีต้นแบบและองค์ความรู้ที่ได้จากต้นแบบที่พร้อมสำหรับการขยายผล

                  4) มีการนำต้นแบบไปใช้ขยายผลวงกว้างในระดับต่างๆ ตามความเหมาะสม

      2. เงื่อนไขการพิจารณา

F

                 1) เป็นผลงานที่เกิดจาการพัฒนานวัตกรรมโดยโครงการรับทุนจาก สสส.
หรือเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่จนเกิดนวัตกรรมต่อเนื่องจากโครงการรับทุน สสส.

                 2) เป็นผลงานที่นำไปใช้แล้วจริง
และมีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถตรวจสอบได้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

                 3) พิจารณาจากเอกสารควบคู่กับ VDO Clip (ความยาวไม่เกิน 3 – 5 นาที)
โดยอาจมีการติดต่อกลับจากผู้จัดการประกวดฯ เพื่อขอข้อมูลและหลักฐานการดำเนินงานให้คณะกรรมการพิจารณาเพิ่มเติม

       3. เกณฑ์การให้คะแนน  ประกอบด้วย

เกณฑ์การให้คะแนนคะแนน

ที่มาของประเด็นสถานการณ์/ปัญหา

1. ที่มา สถานการณ์หรือต้นเหตุของปัญหา
2. สถานการณ์/
ปัญหาดังกล่าวมีขอบเขตหรือผลกระทบต่อด้านการสร้างเสริมสุขภาพต่อกลุ่มเป้าหมายใด และในระดับใด เช่น
ระดับพื้นที่ หน่วยงาน ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ เป็นต้น
3. ปัญหามีความท้าทายอย่างไร เช่น เป็นปัญหาที่สะสมมานาน
มีขั้นตอนหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน เป็นต้น
10

กระบวนการพัฒนาและการนำไปใช้

1. มีความคิดริเริ่มในการพัฒนาผลงานเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาอย่างไร
เป็นการพัฒนาขึ้นใหม่ หรือเป็นการพัฒนาต่อยอดจากผลงานอื่น
หรือเป็นการนำต้นแบบที่ดีของหน่วยงานอื่นมาต่อยอด
2. มีหลักการและแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบ
พัฒนาผลงานที่สอดคล้องกับหลักการสร้างเสริมสุขภาพอย่างไร หรือความเหมาะสมกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย
หรือพื้นที่อย่างไร
3. มีวิธีการและขั้นตอนในการพัฒนาผลงานอย่างไร
และ/หรือมีกลุ่มหรือภาคส่วนใดเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลงาน ขั้นตอนใดบ้าง อย่างไร
โดยอาจอธิบายเพิ่มเติมในรูปแบบ Flowchart
4. มีกระบวนการในการนำผลงานไปดำเนินการอย่างไร เช่น
มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรหรือไม่
มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับผลงานหรือไม่
30

ผลผลิต/ผลลัพธ์ เชิงประจักษ์

1.
มีข้อมูลหรือการวัดผลลัพธ์ที่สะท้อนความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือความสำเร็จของผลงานต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างไร
2. มีการวัดความคุ้มค่า
หรือมีการประเมินที่เป็นทางการจากหน่วยงานภายนอก หรือไม่ อย่างไร
3. มีการวัดความพึงพอใจ/ประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือ
มีการเปรียบเทียบผลผลิตและผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนาผลงาน หรือไม่ อย่างไร
50

การขยายผลและความยั่งยืน

1.
มีการถอดบทเรียนเพื่อนำผลงานไปถ่ายทอดความรู้และประยุกต์ให้กับบุคคล/ หน่วยงานอื่นๆ หรือไม่ อย่างไร
2. มีการวางแผนในการขยายผลงานไปยังบุคคล/ หน่วยงาน/ พื้นที่อื่นๆ
หรือไม่ อย่างไร
10
รวมคะแนน 100

*กรรมการมีสิทธิ์ชี้ขาดหากผลคะแนนไม่สามารถตัดสินได้และผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

สอบถามรายละเอียดและติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่

อีเมล [email protected]
 

กลุ่มที่ 1 และ 2 สมัครได้วันนี้ถึง 22 กรกฎาคม 2565

กลุ่มที่ 3 และ 4 สมัครได้วันนี้
ถึง 27 กรกฎาคม 2565

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ