15-16 ตุลาคม 2024

Time

8:00 am - 4:00 pm
แชร์

เวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี 2567

กำหนดการ

เวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี 2567

บูรณาการเครือข่ายอาหารสู่การบริโภคที่สมดุล ด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน

ระหว่างวันที่ 15 – 16 ตุลาคม 2567 เวลา 9:00 – 16:00 น. 

ณ ห้องประชุม Diamond Ballroom 1 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. กล่าวรายงานการจัดประชุม

โดย นางสาวนิรมล ราศรี  ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.

09.15 – 09.30 น. กล่าวเปิดและปาฐกถาวันอาหารโลกกับระบบอาหารในประเทศไทย

โดย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

09.30 – 09.40 น. ถ่ายภาพร่วมกัน
09.40 – 09.55 น. ประธานและคณะผู้บริหารเดินชมบูธนิทรรศการ

พักรับประทานอาหารว่าง (Healthy Meeting)

09.55 – 10.00 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม สู่การบริโภคที่สมดุล ด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน

โดย คุณประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

10.00 – 11.00 น. นำเสนอ “รู้ ทัน กิน อาหารสมดุลเพื่อสุขภาพและระบบอาหารที่ยั่งยืน”

ประเด็น : อัพเดทสถานการณ์อาหาร เป้าหมายและการทำงานเพื่อสร้างการบริโภคที่สมดุล

1. มองภาพกว้างระบบการกินในสังคมไทย

โดย ผศ.ดร. ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)

2. ความเชื่อมโยงของ NCDs กับระบบอาหารยั่งยืน

โดย ดร.สุชีรา  บรรลือสินธุ์  เจ้าหน้าที่วิชาการด้านโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO)

3. รู้ก่อนเลือกกิน

โดย รศ.ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

4. Healthy Balance Diet และการกินสมดุล

โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

11.00 – 12.00 น. วงเสวนา “อาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ โรงเรียนจัดให้ สร้างเด็กกินดี”

ประเด็น : นำเสนอการขับเคลื่อนระบบจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว เพื่ออาหารปลอดภัยในโรงเรียน

1. การขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายอาหารกลางวันในโรงเรียนถึงปัจจุบัน

โดย คุณณิวุฒิ  หลายเจริญโชคชัย  นักวิชาการ มูลนิธิชีววิถี

2. ข้อค้นพบและความท้าทายของระเบียบจัดซื้อจ้ดจ้างอาหารกลางวันโรงเรียนจากกรณีศึกษา

โดย ดร.สรัญญา สุจริตพงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัยการวิเคราะห์วิธีปฏิบัติจัดซื้อจัดจ้างโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเพื่อเชื่อมโยงอาหารชุมชน : การวิจัยเชิงคุณภาพ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

3. ประสบการณ์การทำงานเชิงรูปธรรมของพื้นที่ที่จัดการปัญหาเพื่อสร้างการบริโภคที่สมดุลในเด็ก

• คุณถวิล  บุญเจียม  อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกจำเริญ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์

• คุณศศิธร  คำฤทธิ์  ผู้ประสานงานโครงการเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก จังหวัดเชียงใหม่

4. มุมมองต่อการจัดซื้อจัดจ้างอาหารปลอดภัยจากเกษตรชุมชนสู่โรงเรียน

โดย ดร.สุวรรณ  พิณตานนท์  ผู้ทรงคุณวุฒิกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ดำเนินรายการโดย :  คุณกรรณิการ์  กิจติเวชกุล  ผู้ดำเนินรายการเช้าทันโลก FM 96.5

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. วงเสวนา “เสริมภูมิคุ้มกันเด็กสุขภาวะดี เริ่มที่อาหาร”

ประเด็น :  อาหารสู่การมีสุขภาวะดี 4 มิติเริ่มที่วัยเด็ก

ประเด็นแลกเปลี่ยน

1. Daycare นมแม่ใกล้บ้าน กระบวนการฝังชิพสร้างสุขภาวะเด็ก

โดย ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร  ประธานสื่อสารมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

2. กรณีศึกษาสวนเด็ก สู่ศูนย์เด็ก อบต.เขวา จ. มหาสารคาม

โดย คุณสุภาวดี  ฉัตรจรัสกุล  ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา  จ.มหาสารคาม

3. เครือข่าย Family Net ชุมชนเข้มแข็งกับการดูแลสุขภาวะเด็ก

โดย คุณเสาศิลป์  เพ็งสุวรรณ   ประธานเครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม ภาคีเครือข่ายสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว

4. เด็กไทยต้องรู้ทันการตลาดอาหารหวาน มัน เค็ม

โดย พญ.วิสารัตน์ ธีระโกเมน สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ดำเนินรายการ :  คุณกรรณิการ์  กิจติเวชกุล  ผู้ดำเนินรายการเช้าทันโลก FM 96.5

14.00 – 15.30 น. ห้องย่อยที่ 1 : หัวข้อ “การจัดการระบบอาหารสู้โลกเดือด เพื่อการบริโภคอาหารสมดุล”

ประเด็น : ความมั่นคงทางอาหารกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

1. นโยบายภาครัฐที่มีผลต่อโลกเดือด การปรับตัวของภาคเกษตรกร

โดย ดร. อัศมน  ลิ่มสกุล  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

2. การออกแบบระบบอาหารที่รับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ

โดย ดร.กฤษฎา  บุญชัย  ผู้ประสานงาน Thai Climate Justice for All

3. การปรับตัวของเกษตรกรและสื่อสารกับผู้บริโภคในวันที่ระบบการผลิตเปลี่ยน

• คุณสุชาญ  ศีลอำนวย เลขาธิการมูลนิธิเอ็มโอเอไทย

• คุณคนึงนุช วงศ์เย็น  ผู้ประสานงานเครือข่ายกินสบายใจ มูลนิธิสื่อสร้างสุข

• คุณเรวัต นิยมวงศ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลชากไทย อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี

ดำเนินรายการ : คุณทัศนีย์  วีระกันต์  ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

ห้องย่อยที่ 2 : หัวข้อ “รวมดาวสภา กับการจัดการระบบอาหาร”

ประเด็น :  สภานโยบายอาหาร กลไกสนับสนุนเพื่อระบบอาหารยั่งยืนเชิงพื้นที่

1. กรณีศึกษาต่างประเทศในการสร้างระบบอาหารยั่งยืนด้วยกลไก “สภานโยบายอาหาร”

โดย คุณวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสภานโยบายอาหาร

2. ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนสภานโยบายอาหารนนทบุรี

โดย คุณกิตติภณ  ภูมิสุทธิกุล นักวิชาการถอดบทเรียนสภานโยบายอาหารนนทบุรี

3. การบูรณาการขับเคลื่อนสภาอาหารสุขภาพเชียงใหม่

โดย ดร.ปิยะพงษ์ บุษบงก์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. การทดลองกลไกสภาอาหารเพื่อจัดการระบบอาหารในกรุงเทพมหานคร

โดย คุณพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่าง ระหว่างกิจกรรมห้องย่อยตามอัธยาศัย

15.30 – 16.00 น. สรุปประเด็นภาพรวมแต่ละห้อง / แนะนำกิจกรรมวันต่อไป

โดย คุณกรรณิการ์  กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการ

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
09.00 – 10.30 น. เวที ”ผู้บริโภคกับระบบอาหารที่ยั่งยืน จากทางเลือกสู่ทางรอด”

ประเด็น : พลังแห่งการเลือกของผู้บริโภคสามารถสร้างระบบอาหารยั่งยืน

1. อาหารในยุคสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม

โดย ศ.ดร.พวงรัตน์  แก้วล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. อาหารแห่งอนาคต (Future Food)

โดย  คุณจักรชัย โฉมทองดี ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กร Tilt Collective

3. สุขเลือกได้ ด้วย”สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ”

โดย รศ.ดร.วันทนีย์  เกรียงสินยศ ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างสภาพแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะด้วยสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกเพื่อสุขภาพฯ  สสส.

4. อาหารกับกลุ่มเปราะบาง เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

โดย คุณวรรณา  แก้วชาติ  ผู้ประสานงานมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย

10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง (Healthy Meeting)
10.45 – 12.15 น. ห้องย่อยที่ 1 : เสวนา “สานพลังขยายผลเครือข่ายชุมชนลดเค็ม”

ประเด็น : การขยายผลเครื่องมือลดเค็มและโภชนากรชุมชน

1. การขยายผลเครือข่ายลดเค็มและนวัตกรรมลดบริโภคเค็มสู่ชุมชน

โดย รศ.นพ.สุรศักดิ์  กันตะชูเวสศิริ  ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม

2. ชุมชน Best Practice เครือข่ายร้านก๋วยเตี๋ยวลดเค็ม

โดย คุณเนื้อทิพย์ หมู่มาก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สคร.ที่ 8 อุดรธานี

3. งานวิจัยชุมชนต้นแบบลดบริโภคเค็ม จ.อุทัยธานี

โดย คุุณเปรมทิพย์ เตียทวีเกียรติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สสจ. อุทัยธานี

4. ความเข้มแข็งของเครือข่ายโรงพยาบาลลดบริโภคเค็ม

โดย พันเอกหญิง ดร. กรกต วีรเธียร  นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย

5. เสียงจากผู้ประกอบการร้านอาหารลดบริโภคเค็ม

โดย คุณจิรัฐิติกาล  พรหมสิทธิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไปสายงานแบรนด์อาหารไทยและแฟรนไชส์  บมจ.เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ รองผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ห้องย่อยที่ 2 : นำเสนองานวิจัย Young Researcher Session

1. นิยามใหม่ Street Food ของประเทศไทยเพื่อการดำเนินการอย่างเป็นเอกภาพ

โดย ดร. วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล

2. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางด้านอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภค ของประชากรไทยในแต่ละกลุ่มอายุ

โดย คุณณัฐณิชา  ลอยฟ้า  นักวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล

3. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากรและสภาพแวดล้อมทางสังคมกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน

โดย คุณกษมา ยาโกะ นักวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล

4. การจัดการอาหารกลางวันในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม กรณีศึกษา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

โดย คุณมัสกะห์  นาแว นักศึกษาปริญญาโท สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. การประเมินความมั่นคงทางอาหารแปลงพืชร่วมยางของเกษตรกรต้นแบบ

โดย คุณอิสรา  มิตรช่วยรอด นักศึกษาปริญญาโท สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดำเนินรายการโดย ดร.ซูวารี  มอซู  อาจารย์ประจำสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

12.15 – 13.15 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.15 – 13.30 น. ลงทะเบียนกิจกรรมวันอาหารโลก
13.30 – 13.35 น. พิธีกรกล่าวแนะนำงาน เปิด Clip VDO วันอาหารโลก 2567 (World Food Day 2024) จากองค์การอาหารและยาแห่งสหประชาชาติ (FAO)
13.35 – 13.45 น. กล่าวเปิดการจัดกิจกรรม “วันอาหารโลก 2567 (World Food Day 2024)”

โดย ผู้บริหารแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส.

13.45 – 14.45 น. เชิญผู้ร่วมเสวนาประเด็น “Make Healthy Food the default” มาทำให้อาหารเพื่อสุขภาพเป็นเรื่องแรก ๆ เป็นสิทธิอาหาร ที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นและอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน” ภายใต้แนวคิดงานวันอาหารโลก “Right to foods for a better life and a better future. Leave no one behind”

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่าง ระหว่างกิจกรรมห้องย่อยตามอัธยาศัย

14.45 – 15.00 น. ช่วงพูดคุยแลกเปลี่ยน ตอบคำถามผู้ร่วมกิจกรรม
15.00 – 15.20 น. ประกาศความร่วมมือ “สานพลัง ขับเคลื่อนงานอาหารสุขภาวะ และระบบอาหารที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงอาหารสมดุลเพื่อสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”
15.20 – 15.30 น. ถ่ายภาพร่วมกัน

ปิดการประชุม

หมายเหตุ :

1. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนตามความเหมาะสม

2. ส่งเสริมการประชุมแบบ Healthy Meeting

QR Code :
QR Code