6 ข้อควรระวังและคำแนะนำสำหรับผู้ทำงานขับรถ

ที่มา : หนังสือข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้ทำงานขับรถ


6 ข้อควรระวังและคำแนะนำสำหรับผู้ทำงานขับรถ thaihealth


แฟ้มภาพ


การมีผู้ประกอบอาชีพด้านการขนส่งเป็นจำนวนมาก  และมีการขับรถนานๆ จึงมีผลเสียต่อสุขภาพคนขับรถในระยะยาว  เช่น  การปวดตามร่างกาย กล้ามเนื้อหลังและคออักเสบ  หมอนรองกระดูกเสื่อม  ถ้าไม่ได้ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายที่ถูกต้องจะทำให้เกิดเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเรื้อรังได้  รวมถึงการอยู่ในท่านั่งเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีกิจกรรมทางกายน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  นอกจากนี้  ไม่เพียงแต่ผู้ทำงานขับรถเพียงอย่างเดียว  ผู้ใช้รถส่วนตัวก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้


6 ข้อควรระวังและคำแนะนำสำหรับผู้ทำงานขับรถ


1.การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้ระบบเลือดไหลเวียน  ไม่สะดวก  จึงควรหยุดพักทุก 2 ชั่วโมง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เดิน เป็นต้น


2.ปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่  โดยจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องทางกายภาพ และการมองเห็นที่ดี รวมทั้งต้องรู้ว่าร่างกายของคนเราไม่ชอบที่จะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ  หากจำเป็นต้องอยู่ในท่าเดิมนานๆ ท่านั้น ต้องเป็นท่าที่สบายที่สุด หลังไม่ควรอยู่ในท่าโค้ง  หรือมีการบิดตัว  เพราะในท่าเหล่านั้น กล้ามเนื้อและเอ็นด้านหลังจะถูกยืดนานๆ   หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีแรงกดมากกว่าในท่านั่งหลังตรงหรือท่ายืนตรง  สำหรับบ่าและไหล่ไม่ควรให้ศีรษะอยู่ในท่าก้มหรือเงยมากไป เพราะบ่าและไหล่จะทำงานหนักขึ้น  เช่นเดียวกับการยกแขนสูงๆ เป็นเวลานานก็จะทำให้กล้ามเนื้อบ่าและไหล่เกร็งตัวขึ้นด้วย


3.ไม่ควรใช้โทรศัพท์ ในขณะขับรถ เนื่องจากจะทำให้เสียสมาธิในการขับรถ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


4.ผู้ที่ทำงานขับรถควรบริหารร่างกายเพื่อสร้างความทนทานของกล้ามเนื้อ และควรบริหารกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรงหรือความทนทานในกล้ามเนื้อทุกๆ ส่วน เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพเพิ่มเติมสามารถทำได้มากกว่า 2-3 สัปดาห์


5.ควรทำการยืดเหยียดหลังจากทำกิจกรรมทันที  เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวได้ง่าย  ลดปัญหาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อในอนาคต  และควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้ครบทุกส่วนของร่างกาย    เมื่อมีเวลาควรยืดกล้ามเนื้อ 5-7 ครั้งต่อสัปดาห์


6.การขับรถควรหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ เนื่องจากทำให้เกิดการสั่นสะเทือน  เพื่อป้องกันหมอนรองกระดูกปลิ้น  ควรมีหมอนหนุนหลังส่วนล่างเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนให้มากที่สุด  และถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ขณะขับรถข้ามสิ่งกีดขวาง  หลุมบนถนน  ให้ยกก้นขึ้นจากที่นั่งเล็กน้อย  เพื่อลดแรงกระแทกที่กระดูกสันหลัง

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ