10 กลยุทธ์แก้วิกฤติเด็กไทย

10 กลยุทธ์แก้วิกฤติเด็กไทย ‘ยุคไซเบอร์’

10กลยุทธ์แก้วิกฤติเด็กไทย'ยุคไซเบอร์'

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการดำรงชีวิตครอบครัวยึดติดค่านิยมทางวัตถุมากกว่าการพัฒนาคุณภาพของสมาชิกในครอบครัว อัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวซึ่งมีผลกระทบต่อเด็ก ข้อมูลจากการวิจัยเด็กทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของเด็กที่มีต่อสังคมและครอบครัวว่า เด็กต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ไม่ทอดทิ้ง มีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต ที่สำคัญพ่อแม่ต้องให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในตัวเด็ก

ดังนั้นจึงเสนอ 10 กลยุทธ์ ในการแก้ปัญหาวิกฤติเด็ก เยาวชนและครอบครัวไทย คือ 1.เกิดระบบพี่เลี้ยง พ่อแม่ต้องใช้เวลากับลูก ต้องเลี้ยงดูลูก 2.เกิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวในทุกชุมชน 3.มีฝ่ายงานด้านดูแลเด็ก และเยาวชน 4.การจัดศูนย์เฝ้าระวัง ปัญหาสังคมด้านเด็ก เยาวชน 5.เพิ่มศักยภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยต้นทุนชีวิต แนวคิดเชิงบวก 6.เกิดศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพ่อแม่ (ห้องเรียนพ่อแม่) ในการดูแลบุตรหลาน 7.กองทุนเด็กเยาวชน และครอบครัง 8.สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว 9.เกิดสถาบันทางวิชาการด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว 10.เกิดคณะรัฐมนตรีด้านสังคมและการประเมินด้วยดัชนีสังคมต่อปี

“รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องมีคณะรัฐมนตรีทางสังคมและสถาบันทางวิชาการที่ช่วยวิจัยสภาวะทางสังคมโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัว รวมไปถึงพื้นที่เสี่ยง พื้นที่สร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชน” นพ.สุริยเดว กล่าว

นายสรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์เด็กและครอบครัว กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กโดยภาพรวมคือ การละเลยการดูแลเด็ก การจัดการดูแลภัยพิบัติกับสวัสดิภาพของเด็ก การขัดแย้งทางการเมืองสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ความรุนแรงมีผลกระทบทำให้เด็กใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เป็นภัยต่อเด็ก และการล่วงละเมิดทางเพศเด็กเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการคุ้มครองเด็กอย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ที่ผ่านมาแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนยังไม่มีหน่วยงานใดนำไปใช้ ฝากถึงรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

Shares:
QR Code :
QR Code