1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติ ณ จ.นครศรีธรรมราช

ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากเว็บไซต์เดลินิวส์


1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติ ณ จ.นครศรีธรรมราช thaihealth


จังวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ จากภัยพิบัติมาโดยตลอดซึ่งนับตั้งแต่เกิดพายุปาบึกที่พัดถล่มขึ้นฝั่งนครศรีธรรมราช สร้างความเสียหายในพื้นที่ เป็นวงกว้างได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด


เครือข่ายจัดการภัยพิบัติระหว่างเครือข่ายตำบลจัดการภัยพิบัติ จ.นครศรีธรรมราช กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นยามเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ


การจัดการภัยพิบัติ อ.เฉลิมพระเกียรติ เป็นโมเดลการผู้ขับเคลื่อนที่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าภายในชุมชนมีแกนนำที่ทำงานด้านนี้แบบจิตอาสาพร้อมประสานเครือข่าย ความเดือดร้อนของชาวบ้านระหว่างเกิดภัยพิบัติจะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที


จ่าโท โกเมศร์ ทองบุญชู ผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ จ.นครศรีฯ เล่าว่า ได้ผนึกกำลังองค์กรภาคประชาชนรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เมื่อเกิดภัยพิบัติชุมชนมีระบบเพื่อรับมือและป้องกันในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ โดยได้วางแผนการช่วยเหลือออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ 1.เร่งช่วยเหลือและฟื้นฟูชุมชมและบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ 2.สำรวจระดมอาสาสมัครที่มีอยู่ พร้อมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือ เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้ประชาชนสามารถสัญจรได้ 3.จากนั้นเร่งหาสำรวจบ้านเรือนที่พังเพื่อเคลื่อนย้ายเศษไม้ ต้นไม้ที่กองล้มขวางระเนระนาดออกจากบ้านและพื้นที่เร่งช่วยเหลือซ่อมสร้างบ้านเรือนที่พังได้รับความเสียหาย ซึ่งในเหตุการณ์พายุปาปึกครั้งนี้มีบ้านประมาณ 47-48 หลังได้รับความเสียหาย


1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติ ณ จ.นครศรีธรรมราช thaihealth


ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานของเครือข่าย ที่สำคัญที่สุด คือ จิตอาสาจนเกิดเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายโดยใช้ชื่อว่า "1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัตินำร่องพื้นที่ 30 ตำบล" โดยผ่านการอบรมหลักสูตรใน จ.นครศรีฯ ซึ่งพบว่าประสบปัญหาในการช่วยเหลือและฟื้นฟูสร้างบ้านใช้เวลายาวนานมาก กว่าจะปรับพื้นที่ได้ยากมากและพบว่าหลังพายุสงบไปแล้ว บ้านบางหลังก็ยังจมน้ำอยู่ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือซ่อมได้ และปัญหาของการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมล่าช้ามาก ทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามที่ตั้งไว้


ผู้ประสบภัยเล่าย้อนเหตุการณ์ให้ฟังว่า วันที่เกิดเหตุพายุปาบึกตนเองอยู่ในบ้านกับลูก พายุแรงทำให้ต้นขี้เหล็กที่บ้านทำท่าจะล้ม เธอจึงพาลูกไปหลบอยู่อีกมุมหนึ่งของบ้าน แต่แล้วต้นมะพร้าวฝั่งที่เธอหลบอยู่นั้นก็ล้มลงมาทั้งต้นทับขาเธอเต็ม ๆ และแขนลูกเธอด้วย ตอนนั้นไม่รู้สึกเลยว่าตัวเองได้รับบาดเจ็บอยู่ และหลังจากพายุสงบลง เธอเองก็ไม่สามารถเดินหรือขยับได้ จะไปหาหมอก็ไม่ได้ เพราะต้นไม้ล้มทับทางไปหมด หถ้าไม่มีทีมของเครือข่ายจัดการภัยพิบัติมาช่วย ป่านนี้ไม่รู้เธอจะอยู่ใช้ชีวิตอย่างไร


1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติ ณ จ.นครศรีธรรมราช thaihealth


"เราอยู่ในสภาวะเสี่ยงภัยกับสภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลง หากเรายังดูดายในประเด็นนี้จะไม่มีโอกาสรอด เพราะภัยพิบัติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากนี้ไปอยากให้ตะหนักถึงการสร้างพลังชุมชนท้องถิ่น สำคัญที่สุดต้องมีฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย ต้องมีอาสาสมัคร ต้องมีระบบสื่อสาร ในวันนี้ทุนทางชุมชมมีเยอะเราทำอย่างไรที่จะได้เอาทุนนั้นกลับมาบูรณาการ ทุนภูมิปัญญา ทุนสมัยใหม่ ทุนชุมชนเป็นพลังของชุมชนและบูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะรับมือภาวะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอนาคต” จ่าโท โกเมศร์ทิ้งท้าย


สังคมไทยต้องหันกลับมาเรียนรู้วิธีรับมือกับภัยพิบัติ มากกว่าตั้งรับ ชุมชนต้องทำข้อมูลและรวบพลคนจิตอาสาเพื่อเดินหน้าที่จะสู้กับภัยธรรมชาติ

Shares:
QR Code :
QR Code