โรคที่มากับ “โซเดียม” ภัยเงียบ ทำสุขภาพพังไม่รู้ตัว

ที่มา: เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

                ทุกคนรู้จักเกลือ… แต่ไม่ใช่ทุกคนจะรู้จัก “โซเดียม” หลายคนระวังอาหารเค็ม คิดว่าไม่เติมเกลือก็พอ แต่จริง ๆ แล้ว โซเดียมต่างหากที่เป็นตัวการหลัก ซึ่งแฝงอยู่ในอาหารมากมายในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เกลือที่โรยปรุงรสเท่านั้น 

                โซเดียมคืออะไร?

                โซเดียม (Sodium) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย พบได้ทั่วไปในเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) และวัตถุเจือปนอาหารหลายชนิด เช่น ผงชูรส ซุปก้อน น้ำปลา ซีอิ๋ว ผงฟู

                การได้รับโซเดียมสะสมไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ กับผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ

  • อาการบวมน้ำ (Edema) หากบริโภคอาหารที่มีโชเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้ระบบการกำจัดโซเดียมและน้ำเสียสมดุล ร่างกายไม่สามารถขับน้ำ และโชเดียมส่วนเกินได้อย่างมี ประสิทธิภาพจึงเกิดการบวมเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้ที่มี โรคพื้นฐาน เช่น โรคหัวใจ หรือ โรคไต
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโชเดียม เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งชนิดหลอดเลือดอุดตันและหลอดเลือดแตก
  • โรคหัวใจ (Heart Disease) การบริโภคโชเดียมสูงเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดแข็งและแคบลง เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ขาดเลือดและหัวใจล้มเหลว
  • โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ㆍ โชเดียมทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำ เพิ่มปริมาณน้ำในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง ㆍความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) มีงานวิจัยชี้ว่าการกินอาหารที่มีโชเดียมสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานอาหารแปรรูปหรืออาหารหมักดองเป็นประจำ
  • โรคไต (Kidney Disease) ไตต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อลดปริมาณโชเดียมส่วนเกิน ส่งผลให้เสี่ยงต่อโรคไตเสื่อมหรือไตวาย ผู้ที่มีโรคไตอยู่แล้วจะมีอาการแย่ลงหากยังคงบริโภคอาหารที่มีโชเดียมสูง
  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โชเดียมส่วนเกินทำให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้นกระดูกจึงอ่อนแอลง

 

Shares:
QR Code :
QR Code