อยู่อย่างไร เมื่อโควิดยังไม่จบ! สสส. ชวนเปลี่ยนวิกฤต เป็นโอกาส รับเทรนด์สุขภาพคนไทยปี 2565

ที่มา : เว็บไซต์ข่าวสด


อยู่อย่างไร เมื่อโควิดยังไม่จบ! สสส. ชวนเปลี่ยนวิกฤต เป็นโอกาส รับเทรนด์สุขภาพคนไทยปี 2565 thaihealth


แฟ้มภาพ


ตลอด 2 ปี ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สังคมไทยและ สังคมโลกต่างเจอความเปลี่ยนแปลงมากมาย ผู้คนต้อง ปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต แตกต่างไปจากที่เคยเป็น หนึ่งในความท้าทายที่เกิดขึ้น คือ ความไม่รู้และความไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมสุขภาพและสุขภาวะ ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่อง


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดงาน 'Thaihealth Watch' ขึ้นเป็นปีที่ 3 ซึ่งปีนี้อยู่ภายใต้แนวคิด 'Adaptive Living' ปรับการใช้ชีวิต พร้อมก้าวไปในยุคโควิด-19 กับเทรนด์สุขภาพ ปี 2565 โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาระบบ ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ ภาคีเครือข่ายทางวิชาการ สรุปพฤติกรรมและภาวะสุขภาพของคนไทย พร้อมจับตาทิศทางสุขภาพของคนไทยในปีหน้า


10 เทรนด์สุขภาพน่าจับตามอง ปี 2565


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. ได้เปิด 10 ประเด็นทิศทางสุขภาพคนไทย ที่มีผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 และประเด็นที่ยังเป็นกระแสต่อเนื่องจากปีนี้ ซึ่งครอบคลุม 3 หลักการสำคัญ คือ 1. สถานการณ์สุขภาพคนไทย (Situation) ปี 2563 – 2564 เพื่อเห็นทิศทางหรือแนวโน้มโรคที่เกิดขึ้น รวมถึงสถิติเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง 2. กระแสความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Trend) ที่สะท้อนแนวโน้มพฤติกรรมสุขภาพของคนไทย และ 3. ข้อแนะนำ (Solution) ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล อาทิ แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อ ตรวจสอบข่าว โคแฟค มาตรการชุมชนเพื่อชุมชน Home-Community Isolation หลักสูตรเลี้ยงลูกออนไลน์ NET PA-MA และข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายต่อสังคม อาทิ ร่างกฎหมายอากาศเพื่อสุขภาพ ลดปัญหามลพิษทางอากาศ สนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านถุงยางอนามัย (พ.ศ. 2563-2573) ลดปัญหาท้องไม่พร้อม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


"การดำเนินชีวิตปี 2565 ที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ จำเป็นต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปลอดภัยและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"


ด้าน นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า Thaihealth Watch ถือเป็นนวัตกรรมที่เชื่อมโยงประเด็นทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2565 ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติทางกาย จิต ปัญญา และสังคม ซึ่งมี 10 ประเด็นที่น่าจับตาต่อเนื่องจากปี 2564


ประเด็นที่เกี่ยวข้องทางกายและจิต มีทั้ง 1. โควิดกลายพันธุ์ ทำให้ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ต้องเรียนรู้และปรับตัวเมื่อต้องอยู่กับโควิด-19 2. ดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของคนในชุมชน  3. สร้างความมั่นคงทางอาหารลดโภชนาการขาด-เกิน เพิ่มโอกาสให้คนด้อยโอกาส คนไร้บ้าน เข้าถึงแหล่งอาหาร รวมถึงเด็ก กลุ่มเรียนออนไลน์ ที่รับประอาหาร เดลิเวอรี่เกินความจำเป็น 4. ส่งเสริมการเลี้ยงลูก ที่เป็นการเรียนรู้ ด้วยจิตวิทยาเชิงบวก เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน รวมถึงสังคม 5. รณรงค์และร่วมแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม เพื่อสร้างบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย


ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาและสังคม คือ  6. สร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับข่าวลวงบนโลกออนไลน์


อย่างมีประสิทธิภาพ 7. สร้างค่านิยม จิตวิทยาเชิงบวก และกลไก เฝ้าระวังทางสังคม เพื่อเป็นมาตรการเฝ้าระวัง พนันออนไลน์ของ เด็กไทย ที่พบว่า 37.6% ถูกหลอกให้เล่นพนันออนไลน์ โดย 30% ใช้เงินเล่นมากกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง 8. เด็กไทยใส่ถุงยางเพิ่ม แต่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงพุ่ง เนื่องจากการเข้าไม่ถึงถุงยาง และค่านิยมของคู่นอน 9. ขยะหน้ากากอนามัย พิษภัยที่กำลังล้นเมือง และ 10. อากาศสะอาด เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะมลพิษจากฝุ่น PM 2.5


"สสส. พร้อมนำเสนอแนวทางการทำงานที่สามารถช่วยแก้ไข บรรเทา ปัญหาทิศทางสุขภาพ 10 ประเด็นสุขภาพ เพื่อสร้าง ความตระหนักรู้และขยายผลให้กว้างขวางมากขึ้น อาทิ โครงการปทุมวันโมเดล สร้างโมเดลจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน สู่เมืองนวัตกรรมแห่งยุค 4.0 โครงการตามสั่ง-ตามส่ง แพลตฟอร์ม ส่งอาหาร-ส่งคนจากความร่วมมือชุมชน รวมถึงคู่มือต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการใช้ชีวิตในยุคโควิด-19" ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว


ชูแนวคิด 'Adaptive Learning' เอาตัวรอดยุคโควิด-19


ขณะที่ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล จิตแพทย์ประจำ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ และอดีตผู้จัดการแผนงานสร้างเสริม สุขภาพจิต สสส. กล่าวเสริมประเด็นเด็กไทย เมื่อต้องเรียนออนไลน์ในยุคโควิด-19 ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจาก จะส่งผลให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมทางสังคม ทั้งยังเพิ่มโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ในวัยเด็ก ปัญหายาเสพติด รวมถึงอาจเกิดการต่อต้านสังคมตามมา


นพ.ประเวช แนะนำว่า พ่อแม่ และผู้ปกครอง ควรร่วมวางแผนการเรียนรู้ของเด็ก ต้องมีความเข้าใจด้านอารมณ์และความต้องการ ของเด็ก ไม่ควรมอบพื้นที่การเรียนรู้ทั้งหมดไว้ที่โรงเรียน ควรแบ่งพื้นที่การเรียนตามวิชา และพื้นที่การใช้ชีวิต การมีวินัย ทักษะด้านอารมณ์ รวมถึงการเข้าหาสังคมให้เด็ก


พร้อมแนะนำการดูแลลูกยุคโควิด 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. สร้างรากฐานจากพื้นที่ความสัมพันธ์ให้ดี คือ ควรคาดหวังในระดับที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย ผ่านปฏิสัมพันธ์ที่เข้าใจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการฝึกฝนตัวเอง และสร้างวินัยการดำรงชีวิตได้ 2. เสริมพื้นที่พัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นกระบวนการเรียนรู้ ที่สามารถวางรากฐานให้เด็กค้นเจอตัวเองได้มากยิ่งขึ้น และ 3. ประสานพื้นที่เข้าด้วยกัน คือ โรงเรียน พ่อแม่ และเด็ก ต้องปรับตัวเพื่อสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา


"เมื่อเข้าใจประเด็นการเลี้ยงลูกทั้ง 3 หัวข้อ เราสามารถ ปรับทัศนคติการมองลูกของเรา ว่าแท้จริงแล้วเกิดอะไรขึ้นกับเด็กบ้าง เพื่อปูพื้นฐานการก้าวสู่สังคมและโลกศตวรรษที่ 21 อย่างรู้เท่าทัน สิ่งสำคัญ คือ ทุกฝ่ายต้อง Adaptive Learning เรียนรู้และปรับตัว ยุคโควิด-19 ให้ได้"


ท้ายนี้ สสส. เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูล Thaihealth Watch 2022 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2565 ได้ที่เว็บไซต์ ThaiHealth Watch สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจไปด้วยกันในสังคม


ท้ายนี้ สสส. เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูล Thaihealth Watch 2022 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2565 ได้ที่เว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealth-watch

Shares:
QR Code :
QR Code