ไม่มีเธอ ไม่มีฉัน ‘เรา’ จะเดินไปด้วยกัน

ที่มา : หนังสือพิม์มติชน 


ไม่มีเธอ ไม่มีฉัน 'เรา' จะเดินไปด้วยกัน thaihealth


แฟ้มภาพ


สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรกันสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังขาดโอกาส โอกาสที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม รวมไปถึงโอกาสที่จะทำให้ตัวเองมีคุณภาพชีวิตที่ดี อาจจะเป็นเพราะถูกมองข้าม ถูกลืม หรือมองไม่เห็น


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ทำโครงการ "นับเราด้วยคน" ขึ้นมา เพื่อสื่อสาร ปรับทัศนคติที่สังคม มีต่อประชากรเฉพาะกลุ่ม ซึ่งคำว่าประชากรเฉพาะกลุ่มนี่เองที่มักจะถูกสังคมหลงลืม ทำให้พวกเขาขาดสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้า ถึงโอกาสต่างๆ และการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะ


กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแรงงาน กลุ่มคนไร้สถานะ กลุ่มสตรีผู้เคยถูกต้องขัง กลุ่มชาวมุสลิมชายแดนใต้และกลุ่มไร้บ้าน คนเหล่านี้ขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งจากการถูกมองข้าม ไม่มีตัวตน ขาดการยอมรับ ไม่ได้รับความเชื่อมั่นใดๆ ทั้งๆ ที่หลายๆ คนในกลุ่มคนเหล่านี้มีความสามารถไม่แพ้คนในสังคมอื่นๆ เลย


นายประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส.และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) เปิดเผยว่า จุดประสงค์หลักที่ สสส.ทำโครงการ "นับเราด้วยคน" เพื่อสร้างการรับรู้ว่ามีประชากรกลุ่มเฉพาะกลุ่มนี้อยู่กับเรา แต่พวกเขากลับถูกลืม ซึ่งโครงการ "นับเราด้วยคน" เป็นการเปิดพื้นที่ให้เห็นการคงอยู่ การมีตัวตน และสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อประชากรกลุ่มเฉพาะกลุ่มนี้ ทั้งนี้ภาคีเครือข่าย นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ สสส. ได้ประชุมหาแนวทาง ประเด็นการสื่อสารที่สะท้อนปัญหาและความเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน โดยกำหนดแผนการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี โดยปีแรกมุ่งไปที่การเข้าถึงบริการสุขภาพและไม่มีเธอ ไม่มีฉัน 'เรา' จะเดินไปด้วยกัน thaihealthสาธารณสุขมูลฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น และกลุ่มประชากรตามแนวชายแดน โครงการนี้จะเป็นตัวจุดประกายการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่สังคมมีต่อคนไร้สถานะให้เป็นในเชิงบวกมากขึ้นและยังส่งต่อทัศนคติที่มีต่อกลุ่มประชากรเฉพาะในภาพรวมต่อไปในอนาคต


"ภาพที่เราอยากเห็นให้เกิดขึ้นในสังคม คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง การออกกำลังกาย โดยนับรวมกลุ่มคนที่มีข้อจำกัดปัญหาบางอย่าง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือแม้แต่เด็กเล็ก สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมได้เช่นเดียวกัน ก้าวแรกของการสื่อสารคือ การเข้าไปนั่งอยู่ในใจก่อนแล้วมองปัญหาจากมุมของพวกเขา ไม่ใช่จากมุมที่เรานั่งอยู่ สิ่งที่เราพบคือ ประชากรกลุ่มเฉพาะเหล่านี้ บางคนขาดตัวตน ขาดการมองเห็น ถูกมองข้ามละเลยจากสังคมเป็นเวลานาน บางครั้ง จึงเหมือนมีกำแพงที่กั้นตัวเองอยู่ นั่นคือ คนข้างนอกก็มองไม่เห็นพวกเขา ในขณะที่คนที่อยู่ข้างหลังในกำแพงก็รู้สึกยากลำบากที่จะกล้าก้าวออกมาในสังคม" นายประกาศิตกล่าว


นายประกาศิตกล่าวว่า จากประสบการณ์ของการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะนั้น การสร้างเงื่อนไขในการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นปัจจัยที่มีส่วนอย่างมากต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงยกระดับสุขภาวะ ตราบใดที่เงื่อนไขในการดำรงชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดอย่างมาก การแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ จะไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนแผนงานสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ด้วยกลไกที่แตกต่างเพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนกลุ่มนี้


เพื่อให้การสื่อสารเรื่องเหล่านี้ "เข้าถึง" หัวจิตหัวใจความนึกคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้มากยิ่งขึ้น สสส.ได้คนสื่อกลาง อย่าง "ก้อง" สหรัถ สังคปรีชา ศิลปินชื่อดังที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทุกเพศ ทุกวัย และศิลปินปกากะญอ อย่าง "ชิ สุวิชาน" โดย สหรัถ และชิ ได้ช่วยกันทำและร้องเพลง ที่ชื่อเดียวกับโครงการ พร้อมแสดงมิวสิกวิดีโอร่วมกับเหล่าพี่น้องเพื่อนฝูงที่จะถูกนับรวมกันในอนาคตนี้ โดยเนื้อหาในเพลง บอกถึงการขอโอกาสจากสังคม ให้หันมามอง และทำความเข้าใจกับกลุ่มคนเหล่านี้ให้มากขึ้นไม่มีเธอ ไม่มีฉัน 'เรา' จะเดินไปด้วยกัน thaihealth


"คนไทย ไม่มีเธอ ไม่มีฉัน มีแค่เรา พี่น้องคนไทยไม่กีดกัน ความรักที่มีเราแบ่งปัน และจะไม่มีการเดียดฉันท์ ไม่แบ่งแยกกัน มีแต่เข้าใจ"


โครงการ "นับเราด้วยคน" ต้องการผลักดันให้เกิดพื้นที่กลาง เพื่อสร้างการแบ่งปันและการมีส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเฉพาะให้มีโอกาส มีตัวตนในสังคม ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้ และก้าวข้ามอุปสรรคข้อจำกัดที่มีอยู่ไปได้

Shares:
QR Code :
QR Code