“ไบโพลาร์” ไม่มีแบ่งระยะโรคมีแค่อาการขึ้นลง

ที่มา : ผู้จัดการ ออนไลน์


“ไบโพลาร์” ไม่มีแบ่งระยะโรคแบบมะเร็ง มีแค่อาการขึ้นลงสลับปกติ thaihealth


แฟ้มภาพ


จิตแพทย์ชี้ “โรคไบโพลาร์” ไม่มีการแบ่งระยะแบบโรคมะเร็ง แต่เป็นเพียงอาการช่วงขึ้น ลง สลับกับปกติ ระบุโรคตอบสนองการรักษาดี บางคนหายขาด ชี้ ญาติต้องทำความเข้าใจ และนำตัวรักษาเมื่อมีอาการ


พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะจิตแพทย์ กล่าวถึงกรณีข้อมูลโรคไบโพลาร์ มีการแบ่งเป็นระยะเหมือนโรคมะเร็ง ว่า โรคไบโพลาร์ไม่ได้แบ่งอาการป่วยเป็นระยะๆ เหมือนกับโรคมะเร็ง ที่จะแบ่งเป็นระยะที่ 1 2 3 จากการที่โรคลุกลามรุนแรงไปเรื่อยๆ แต่โรคไบโพลาร์จะแบ่งเป็นรอบอาการขึ้น ลง สลับกับช่วงอาการปกติ ซึ่งช่วงที่อาการขึ้นนั้น ผู้ป่วยจะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โดนกระทบนิดหน่อยก็จะมีการตอบโต้กลับมาทันที พูดเยอะขึ้น คิดและทำอะไรเยอะแยะ บางครั้งคนอื่นๆ ก็จะไม่เข้าใจ


พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า หากเป็นช่วงอารมณ์ลงก็จะทำให้ซึมเศร้า หดหู่รุนแรง มีโอกาสทำร้ายตัวเองสูง ซึ่งจะไม่มีมีทางรู้ว่าอารมณ์จะขึ้นหรือจะลง แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษาแล้ว จะเริ่มรู้จักตัวเอง และรู้จักตัวโรคมากขึ้น ทั้งนี้ โรคไบโพลาร์มีทั้งคนที่หายขาดเลย กับคนที่หายแบบอาการสงบไปนาน 5-10 ปี บางคนมีอาการทุกปี แต่ส่วนใหญ่ถ้าเข้าสู่การรักษา และรักษาต่อเนื่องส่วนใหญ่ก็หาย เพราะโรคไบโพลาร์นับเป็นโรคที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี


ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคไบโพลาร์ เกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ ทำให้การควบคุมอารมณ์ผิดปกติ โดยจะมีอาการฟุ้งหรือซึมเศร้า สลับกันในเวลาโรคกำเริบ อาการเป็นสักระยะหนึ่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยอาการซึมเศร้า รุนแรง อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย แต่มีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก ส่วนภาวะฟุ้งรุนแรงก็อาจทำให้รุนแรงหัวใจวาย แต่ก็มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากเช่นกัน ความผิดปกติจากภาวะไบโพลาร์จะสังเกตได้จากการมีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันผิดไปจากเดิม เช่น พูดมากผิดปกติ จากเป็นคนพูดน้อย ว้าวุ่นคิดไม่ตก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อัตราการป่วยอยู่ที่ร้อยละ 1 ของประชากรวัยทำงาน การรักษาโรคต้องอาศัยการทำความเข้าใจระหว่างญาติและผู้ป่วย ต้องเข้าใจว่าขณะที่เกิดอาการโรคกำเริบ ญาติจะต้องพารักษาทันที เพราะอาการอาจรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยอาการจะแสดงปรากฏชัดหลังผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ การรักษาจะต้องให้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม เพื่อควบคุม

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ