ไข้เลือดออกช่วงเริ่มสู่ฤดูหนาวยอดป่วยสูง 2 ปีติด
ที่มา: ไทยโพสต์
แฟ้มภาพ
ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางวัน โดยช่วงเวลาที่ชอบออกหากินมากที่สุด 2 ช่วง คือ 09.00-11.00 น. และในเวลา 13.00-15.00 น. ทั้งนี้ ยุงลายเป็นยุงสะอาดที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน เพาะพันธุ์ตามภาชนะที่มีน้ำใสนิ่ง และไม่ใช่ยุงที่อยู่ตามท่อระบายน้ำ
สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นฤดูหนาวในเดือน พ.ย. เป็นช่วงฝนขาดช่วงทำให้ภาชนะต่างๆ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มีน้ำที่ค้างหลงเหลือ และมีพื้นที่ให้ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกสามารถขยายพันธุ์ได้ โดยจากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี 2558 และปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า ยอดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ กทม. นั้นสูงที่สุดในช่วงเดือน พ.ย.
สำนักงานอนามัย กทม.ระบุว่า ในปี 2558 พบว่า ในเดือน พ.ย. มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 8,334 ราย และในเดือน ธ.ค. จำนวน 4,938 ราย ขณะที่เดือนอื่นๆ มีจำนวนผู้ป่วยระหว่าง 414-3965 ราย ขณะที่ในเดือน พ.ย.2559 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 844 ราย และในเดือน ธ.ค.จำนวน 795 ราย ขณะที่เดือนอื่นๆ มีจำนวนผู้ป่วยระหว่าง 169-630 ราย
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ยอด ผู้ป่วยในปี 2559 ลดลง เนื่อง จากประชาชนส่วนใหญ่ที่เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว จึงทำให้มีจำนวนผู้ป่วยลดลง ขณะที่ในปี 2560 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย. มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น จำนวน 5,666 ราย
"ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางวัน โดยช่วงเวลาที่ชอบออกหากินมากที่สุด 2 ช่วง คือ 09.00-11.00 น. และในเวลา 13.00-15.00 น. ทั้งนี้ ยุงลายเป็นยุงสะอาดที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน เพาะพันธุ์ตามภาชนะที่มีน้ำใสนิ่ง และไม่ใช่ยุงที่อยู่ตามท่อระบายน้ำ จึงขอ ความร่วมมือประชาชนให้ตรวจสอบภายในแหล่งที่อยู่อาศัยของ ท่านว่ามีภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ได้หรือไม่ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออกให้ได้มากที่สุด" สำนักงานอนามัย กทม.ระบุ
วันเดียวกัน นางจิตรลดา ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง กทม. แจ้งว่า เขตฯจัดทำโครงการทิ้งของเหลือใช้หรือขยะชิ้นใหญ่เป็นประจำทุก เดือน โดยในวันเสาร์ที่ 4 พ.ย.2560 กำหนดจัดเก็บสิ่งของเหลือใช้และขยะชิ้นใหญ่บริเวณซอยลาดพร้าว 126 และซอยลาดพร้าว 128 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการทิ้งสิ่งของและขยะชิ้นใหญ่ และส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยของตนเอง และป้องกันการทิ้งสิ่งของลงคูคลอง ซึ่งอาจทำให้กีดขวางทางระบายน้ำ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรคต่างๆ
"ขอให้เจ้าของอาคารบ้าน เรือนทุกหลังที่พักอาศัยอยู่ใน บริเวณดังกล่าว โปรดนำสิ่งของเหลือใช้หรือขยะชิ้นใหญ่ที่ต้อง การทิ้งตามวัน เวลา และสถาน ที่ที่กำหนด" ผอ.เขตวังทองหลางกล่าว.