ไขความลับ !? งีบกี่นาที…ดีต่อสุขภาพ

ที่มา : เว็บไซต์สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่

                    การนอนงีบ คือ การนอนหลับในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อชดเชยเวลานอนไม่เพียงพอ ช่วงระยะเวลาของการนอนหลับ จะมีผลต่อสุขภาพ ทั้งด้านสมองและร่างกาย สามารถทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความตึงเครียด ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส นอกจากนี้ระบบร่างกายของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                    “ใช้เวลาหลับแค่เพียง 10 นาทีเท่านั้น จะสามารถตื่นตัวพร้อมที่จะทำงานต่อไปได้อีก 3 ชั่วโมง และยังพบว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการนอนหลับนาน 30 นาที – 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ประสิทธิภาพของร่างกายแต่ละคนก็มีผลถึงความต้องการการงีบระหว่างวัน บางคนไม่จำเป็น บางคนก็ต้องการเพียงเล็กน้อยหรือต้องการหลับไปนานๆ เลยก็มีเช่นกัน”

ข้อดีของการงีบระหว่างวัน

  • ก่อให้เกิดการตื่นตัวทั้งด้านสมองและร่างกายในการทำงาน มีความกระตือรือร้น อาการร่วงโรยต่างๆ จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • ลดความเครียดหรือความหงุดหงิด เป็นการผ่อนคลายสมอง เพราะการหลับจะช่วยลดฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียดได้
  • ทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการจำได้อย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น
  • การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่า 40% การทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์จะทำได้ดีและมีความพร้อมมากขึ้น
  • สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากการงีบระหว่างวันจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ได้ดีขึ้น

เวลาที่เหมาะสมที่ควรงีบระหว่างวัน

  • นอนหลับ 10 – 20 นาที จะช่วยเพิ่มพลังงานและคืนความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองโปร่ง เพราะอยู่ในช่วง non – rapid eye movement (NREM)
  • นอนหลับ 30 นาที เป็นเวลานอนที่ไม่เป็นผลดีกับร่างกาย เพราะจะยังคงรู้สึกง่วง มึนงง เหมือนกับนอนไม่พอ และยังคงไม่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งกว่าอาการนี้จะหายไปก็ใช้เวลาอีกประมาณ 30 นาทีต่อมา
  • นอนหลับ 60 นาที เป็นช่วงที่ดีต่อความจำ ซึ่งเรียกว่าอยู่ในช่วง Slow – wave sleep เป็นการหลับลึกที่ยังคงความง่วง แต่สมองสามารถเสริมความจำดีไว้ได้
  • นอนหลับ 90 นาที เป็นการนอนที่ครบรอบ กล่าวคือ มีหลับลึกและไม่ลึกมากนัก อาจมีการฝันบ้าง ช่วยให้อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่งัวเงียเหมือนช่วง 30 – 60 นาที

                    “จากผลวิจัยพบว่าการใช้เวลางีบระหว่างวันเกินกว่า 30 – 45 นาที หรือการงีบช่วง 11.00 น. นอกจากจะไม่ส่งผลดีกับร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียตามมาอย่างเช่นทำให้ช่วงกลางคืนนอนไม่หลับ และอาจมีปัญหาสุขภาพตามมาอีกด้วย”

สามารถติดตามบทความและข้อมูลอ้างอิงต่อได้ที่… https://psub.psu.ac.th/?p=4155

Shares:
QR Code :
QR Code