โรคหัวใจขาดเลือด

ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


โรคหัวใจขาดเลือด thaihealth


แฟ้มภาพ


มักพบมากในคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี โรคนี้เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ และตับแข็งตัว เนื่องจากมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหัวใจค่อยๆ ตีบลงจนถึงอุดตัน ผู้สูงอายุทุกคนมักมีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ สำหรับวัยกลางคน 40-50 ปี ก็อาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ ยิ่งถ้าเป็นคนที่สูบบุหรี่ คนอ้วน คนที่เครียดง่าย ขาดการออกกำลังกาย จะยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป


อาการเบื้องต้น


การเจ็บหน้าอกและอาการเจ็บร้าวไปที่คอหรือขากรรไกร หากเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว มักจะมีอาการเรื้อรัง ต้องเข้าพบแพทย์อยู่เสมอ แต่ถ้าในรายที่เป็นน้อยการดูแลตัวเองก็อาจจะทำให้ทุเลาลงได้


การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด


1.งดสูบบุหรี่ และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


2.อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน รักษาน้ำหนักและสุขภาพอยู่เสมอ


3.ลดอาหารที่มีไขมันสูง กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำตาลของหวาน เพิ่มการกินผักและผลไม้ให้มากๆ


4.ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์


5.ลดภาวะความเครียดทางอารมณ์  ฝึกสมาธิเพื่อความผ่อนคลาย


6.ตรวจร่างกายประจำปี โดยหากมีประวัติญาติหรือบุคคลในครอบครัว เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ควรตรวจร่างกายประจำทุกปี และประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


7.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือมีระดับไขมันในเลือดสูงต้องติดตามรักษากับแพทย์จะช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดหรือภาวะแทรกซ้อนได้

Shares:
QR Code :
QR Code