โรคสะเก็ดเงิน เรียนรู้เข้าใจไม่ใช่โรคติดต่อ

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า


โรคสะเก็ดเงิน เรียนรู้เข้าใจไม่ใช่โรคติดต่อ thaihealth


แฟ้มภาพ


โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็น หนึ่งในโรคที่ต้องดูแลและติดตาม อาการอย่างสม่ำเสมอ การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอาจ ส่งผลต่อการดูแลรักษาจนทำให้อาการกำเริบหรือแย่ลงได้


เนื่องในวันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสะเก็ดเงินโลก (World Psoriasis Day) โดยปีนี้สถาบัน International Federation of Psoriasis Associations (IFPA) ได้มีการจัดแคมเปญ "รวมเป็น หนึ่งเพื่อสร้างสิ่งใหม่" (United)" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรคให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งผสาน ความร่วมมือระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เพื่อการรักษาและดูแลตัวเองได้อย่าง ถูกต้องเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการทำงานผิดปกติของเม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดง นูน และมีสะเก็ดสีขาว พบได้ทั่วร่างกาย เกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยทาง การแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ อย่างแน่ชัด และการรักษาทำได้ในรูปแบบ การควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ ยังไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้ นอกจากนี้ โรคสะเก็ดเงินยังส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย (Systemic Disease) ที่ก่อให้เกิดโรคร่วมอื่นได้ เช่น โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงภาวะซึมเศร้าและปัญหาทาง ด้านจิตใจ ที่ล้วนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ป่วย ในขณะที่คนทั่วไปที่ไม่รู้จักโรคนี้ อย่างแท้จริงอาจมีความเข้าใจผิดและ สร้างข้อจำกัดให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตร่วมในสังคม ได้ยากขึ้น ดังนั้น แคมเปญ "รวมเป็นหนึ่งเพื่อสร้างสิ่งใหม่" (United) จึงถือเป็นสื่อกลางที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและกระตุ้นความร่วมมือระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประวิตร อัศวานนท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเลขาธิการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การรักษาผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงินจะพิจารณาอาการของผู้ป่วยแต่ละรายที่นอกจากอาการทางร่างกายแล้วจำเป็นต้องประเมินอาการทางด้านจิตใจควบคู่กันด้วย โดยแคมเปญนี้เน้นความสำคัญด้านความร่วมมือในการรักษา แพทย์จะต้องเปิดโอกาสและสร้างความไว้ใจให้ผู้ป่วยได้บอกเล่าสิ่งที่ตนเองต้องเผชิญจากการ เป็นโรคนี้ นอกเหนือจากอาการทางกาย ที่แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้เอง ดังนั้น ความร่วมมือร่วมใจเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย"


ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19 กับโรคสะเก็ดเงินนั้นยังดูแลรักษาผู้ป่วยได้ตามปกติ ยกเว้น บางรายที่จำเป็นต้องใช้ยากดภูมิบางตัว ที่ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลอยู่ ทั้งในเรื่องของการเตรียมตัวเข้ารับวัคซีนป้องกัน โควิด-19 หรือความจำเป็นในการหยุดยากดภูมิ เป็นต้น ทั้งนี้ ถือเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่ควรจะต้องมีการติดตามความรู้ อัพเดทข้อมูลและติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องยา วัคซีน และโรคอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ด้วย ข้อจำกัดในการเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลในช่วงการระบาดของโรค ทำให้เทคโนโลยีอย่างการรักษาแบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) สามารถมาช่วยเสริมศักยภาพในการดูแลรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


"ปัจจุบันแพทย์ให้ความสำคัญกับ Telemedicine เป็นอย่างมากและเชื่อว่าในอนาคตจะยิ่งทวีความสำคัญขึ้น อย่างในช่วงการแพร่ระบาดเอง คนไข้หรือผู้ดูแลสามารถปรึกษาอาการกับทีมแพทย์ได้ทันทีที่บ้าน ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทาง แต่ สิ่งสำคัญในการใช้ Telemedicine คือ เรื่องการให้ข้อมูลจากแพทย์สู่คนไข้ที่จะต้องกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย และเมื่อสถานการณ์ระบาดสงบลง แพทย์ก็จะได้ดูแลอาการคนไข้ได้ตามปกติ" นายแพทย์ประวิตร กล่าว


ด้าน แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อย ความชุกทั่วโลก อยู่ที่ร้อยละ 0.5-5 ของประชากร ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 2 ของประชากร หรือประมาณ 140,000 ราย ทั่วประเทศ โดยมากพบในกลุ่มคนที่อายุ น้อยกว่า 40 ปี ที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าและพบว่ามีประวัติของโรค ในครอบครัวสูงกว่าในกลุ่มคนช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่อยู่ภายใต้การดูแลจากภาครัฐอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นยารักษาอาการ การรักษาด้วยการฉายแสง โดยอยู่ในสิทธิประโยชน์การรักษาของประชาชนทุกสวัสดิการ ได้แก่ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ประกันสังคม และ สวัสดิการข้าราชการ นอกจากนี้ ในยุค ที่มีการพัฒนาค้นพบการรักษาใหม่ๆ ของโรคสะเก็ดเงิน เช่น ยาทาชนิดใหม่ หรือยาชีววัตถุ (Biologic drugs) ก็ได้ มีการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดจน ความคุ้มทุนของการรักษาใหม่ๆ นั้นเพื่อบรรจุเข้าเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษานั้นได้อย่างรวดเร็ว รวมถึง Telemedicine ซึ่งภาครัฐก็ได้อนุญาตให้มีการเบิกจ่ายเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง


"ในอนาคตจะมีการพัฒนาแผน ให้บริการผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินในแผนการ ให้บริการหลัก (Service Plan) ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การดูแล ผู้ป่วยเป็นไปอย่างทั่วถึง และสามารถ บริหารจัดการทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร และอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทาง การแพทย์ได้อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ พร้อมทั้งการบูรณาการการรักษาโรค สะเก็ดเงินและโรคร่วมต่างๆ และการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือทั้งในและนอกประเทศ" แพทย์หญิงมิ่งขวัญ กล่าวสรุป

Shares:
QR Code :
QR Code