โครงการ ทิ้งหิ้ง ลิงก์นโยบาย

ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องประสบกับความเสียหายจากการดำเนินนโยบายที่ขาดหลักฐานจากการวิจัย หรือการทำงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง สิ่งที่ขาดหายไปคือ การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับการตัดสินใจเชิงนโยบาย
โครงการ ทิ้งหิ้ง ลิงก์นโยบาย จึงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ประเทศของเราต้องมีการสร้างนโยบายสาธารณะ ที่เกิดจากการใช้หลักฐานจากการวิจัยที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม การทำวิจัยเชิงนโยบายในปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ได้จริงน้อยมาก ทำแล้วอยู่บนหิ้งหรือถูกทิ้งขว้าง ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ให้ความสนใจและไม่ได้ประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม หากสามารถผลิตงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการเชิงนโยบายของชาติได้ นอกจากจะเป็นการพัฒนาประเทศแล้ว ผลงานวิจัยยังนำมาซึ่งการยอมรับและทุนให้องค์กรวิจัยสามารถพัฒนางานและผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีระบบสนับสนุนนักวิจัยให้มีความสามารถในการทำวิจัยเชิงนโยบาย และผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนั้น ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของโครงการ
นโยบาย ที่กล่าวในโครงการนี้หมายถึง นโยบายทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร
นักวิจัยรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ มีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) คุณสมบัติด้านการศึกษา แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มนักวิจัยหน้าใหม่และกลุ่มนักวิจัยหลังปริญญาเอก
กลุ่มนักวิจัยหน้าใหม่ จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโท ไม่จำกัดสาขา มีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 2 ปี ด้านการวิจัย การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลหรือพัฒนานโยบาย เช่น การเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ประกอบการพัฒนาหรือติดตามนโยบาย การผลักดันประเด็นสำคัญเข้าสู่กระบวนการนโยบาย หรือการเข้าร่วมหรือเป็นผู้จัดกระบวนการเชิงนโยบาย สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี (คะแนน IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5 หรือ TOEFL CBT ไม่ต่ำกว่า 213)
กลุ่มนักวิจัยหลังปริญญาเอก จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ไม่จำกัดสาขา ไม่เกิน 1 ปี และก่อนไปศึกษาระดับปริญญาเอกมีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี ด้านการวิจัย การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล หรือพัฒนานโยบาย เช่น การเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ประกอบการพัฒนาหรือติดตามนโยบาย การผลักดันประเด็นสำคัญเข้าสู่กระบวนการนโยบาย หรือการเข้าร่วมหรือเป็นผู้จัดกระบวนการเชิงนโยบาย สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี (คะแนน IELTS ไม่ต่ำกว่า 7.0 หรือ TOEFL CBT ไม่ต่ำกว่า 250)
(2) อายุไม่เกิน 40 ปี สัญชาติไทย
(3) เป็นบุคลากรสังกัดหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
(4) มีความสนใจในการทำวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ โดยขอบเขตของการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพและสุขภาพนั้น อ้างอิงตามคำนิยามการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คือ
การประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ คือ การวิจัยเชิงนโยบายที่อาศัยองค์ความรู้หลากหลายสาขาในการรวบรวมหลักฐานทางวิชาการ หรือให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยที่นำไปสนับสนุนการจัดลำดับความสำคัญ การคัดเลือก การใช้ การกระจาย และการบริหารจัดการนโยบายหรือมาตรการทางด้านสุขภาพ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟู[1]
สุขภาพ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล (พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)
นโยบายด้านสุขภาพ หมายถึง การตัดสินใจ การวางแผน และการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ต้องการของสังคม[2] ทั้งนี้การดำเนินนโยบายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่พึงประสงค์นั้นหมายรวมถึงการพิจารณาปัจจัยหรือเงื่อนไขทางสังคม (social determinants of health) เช่น เพศ อายุ สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือระบบและนโยบายด้านเศรษฐกิจ บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคม ระบบการเมืองที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและต่อสุขภาพด้วย
(5) ได้รับความยินยอมจากผู้บังคับบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษร
(6) สามารถแบ่งเวลาจากงานประจำมาทำวิจัยที่ HITAP อย่างน้อย 3 วันทำการ/สัปดาห์
แนวทางการพัฒนาศักยภาพ
ผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือก จะต้องพัฒนาโครงร่างวิจัย ร่วมกับนักวิจัย HITAP และดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ บทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ และร่วมกับทีมสื่อสารผลิต สื่อ/สิ่งพิมพ์อื่น ๆ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของตนเอง และที่สำคัญต้องผลักดันงานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ภายในเวลาที่กำหนด โดยมีนักวิจัยและพนักงานฝ่ายต่าง ๆ ของ HITAP ให้คำปรึกษาหรือให้การสนับสนุน ทั้งนี้ โครงการมีเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพบุคลากร 2 คน/ปี และดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 3 ปี รวมนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 คน
การสนับสนุนจาก HITAP
(1) ทุนสำหรับการทำวิจัยและกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานวิจัย) โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสืบค้นและทบทวนเอกสาร การทบทวนโครงร่างการวิจัย การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการและกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ และการผลักดันนโยบายภายใต้โครงการวิจัย ทั้งนี้ โครงการไม่สนับสนุนเงินเดือนผู้เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ หากพิจารณาโครงร่างการวิจัยแล้วพบว่าต้องการทุนในการวิจัยเกินวงเงินที่ HITAP สามารถสนับสนุนได้ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องขอทุนสมทบจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือแหล่งทุนอื่น ๆ โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และการจัดการที่เหมาะสม
(2) ให้คำปรึกษาและทำวิจัยร่วมกับนักวิจัย HITAP ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่จำเป็นกับการวิจัยในหัวข้อที่ผู้สมัครสนใจ
(3) การสนับสนุนอื่น ๆ จากเจ้าหน้าที่ HITIAP เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิจัย
(4) การใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในสำนักงาน HITAP
รับสมัครตั้งแต่ 1-31 มีนาคม 2560
เอกสารสำหรับการสมัคร
1. ใบสมัคร (ดาวน์โหลดที่นี่)
2. หลักฐานด้านการศึกษา
3. เอกสารรับรองทักษะภาษาอังกฤษ
4. โครงร่างวิจัยแบบย่อ (mini proposal) เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 2-3 หน้ากระดาษ A4 ระบุหัวข้อ หลักการและเหตุผล ขอบเขต และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการวิจัยที่สนใจทำ
5. เอกสารแสดงความยินยอมจากผู้บังคับบัญชาให้ท่านเข้าร่วมโครงการ โดยยินยอมให้ท่านปฏิบัติงานที่โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการ ไม่เกิน 1 ปี
6. จดหมายรับรอง (letter of recommendation) จากหน่วยงานต้นสังกัด
7. บทคัดย่อผลงานวิจัย (ถ้ามี)
8. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โครงการทิ้งหิ้งจะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
(1) เพิ่มศักยภาพของบุคลากรขององค์กรทั้งในและนอกภาคสุขภาพในการพัฒนานโยบายของประเทศไทยที่วางอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์
(2) เกิดการผลักดันให้ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายสุขภาพของประเทศไทย
(3) พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยด้านนโยบายสุขภาพในประเทศไทย
(4) พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิจัยเชิงนโยบายสุขภาพให้แก่ประเทศไทย
ติดต่อ/สอบถามเพิ่มเติม/ส่งใบสมัคร
ดร. จอมขวัญ โยธาสมุทร และ ดร.รุ่งนภา คำผาง
อีเมล : [email protected]

ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องประสบกับความเสียหายจากการดำเนินนโยบายที่ขาดหลักฐานจากการวิจัย หรือการทำงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง สิ่งที่ขาดหายไปคือ การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับการตัดสินใจเชิงนโยบาย

โครงการ ทิ้งหิ้ง ลิงก์นโยบาย จึงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ประเทศของเราต้องมีการสร้างนโยบายสาธารณะ ที่เกิดจากการใช้หลักฐานจากการวิจัยที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม การทำวิจัยเชิงนโยบายในปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ได้จริงน้อยมาก ทำแล้วอยู่บนหิ้งหรือถูกทิ้งขว้าง ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ให้ความสนใจและไม่ได้ประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม หากสามารถผลิตงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการเชิงนโยบายของชาติได้ นอกจากจะเป็นการพัฒนาประเทศแล้ว ผลงานวิจัยยังนำมาซึ่งการยอมรับและทุนให้องค์กรวิจัยสามารถพัฒนางานและผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีระบบสนับสนุนนักวิจัยให้มีความสามารถในการทำวิจัยเชิงนโยบาย และผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนั้น ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของโครงการ

นโยบาย ที่กล่าวในโครงการนี้หมายถึง นโยบายทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร

นักวิจัยรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ มีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) คุณสมบัติด้านการศึกษา แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มนักวิจัยหน้าใหม่และกลุ่มนักวิจัยหลังปริญญาเอก

กลุ่มนักวิจัยหน้าใหม่ จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโท ไม่จำกัดสาขา มีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 2 ปี ด้านการวิจัย การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลหรือพัฒนานโยบาย เช่น การเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ประกอบการพัฒนาหรือติดตามนโยบาย การผลักดันประเด็นสำคัญเข้าสู่กระบวนการนโยบาย หรือการเข้าร่วมหรือเป็นผู้จัดกระบวนการเชิงนโยบาย สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี (คะแนน IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5 หรือ TOEFL CBT ไม่ต่ำกว่า 213)

กลุ่มนักวิจัยหลังปริญญาเอก จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ไม่จำกัดสาขา ไม่เกิน 1 ปี และก่อนไปศึกษาระดับปริญญาเอกมีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี ด้านการวิจัย การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล หรือพัฒนานโยบาย เช่น การเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ประกอบการพัฒนาหรือติดตามนโยบาย การผลักดันประเด็นสำคัญเข้าสู่กระบวนการนโยบาย หรือการเข้าร่วมหรือเป็นผู้จัดกระบวนการเชิงนโยบาย สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี (คะแนน IELTS ไม่ต่ำกว่า 7.0 หรือ TOEFL CBT ไม่ต่ำกว่า 250)

(2) อายุไม่เกิน 40 ปี สัญชาติไทย

(3) เป็นบุคลากรสังกัดหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร

(4) มีความสนใจในการทำวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ โดยขอบเขตของการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพและสุขภาพนั้น อ้างอิงตามคำนิยามการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คือ

การประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ คือ การวิจัยเชิงนโยบายที่อาศัยองค์ความรู้หลากหลายสาขาในการรวบรวมหลักฐานทางวิชาการ หรือให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยที่นำไปสนับสนุนการจัดลำดับความสำคัญ การคัดเลือก การใช้ การกระจาย และการบริหารจัดการนโยบายหรือมาตรการทางด้านสุขภาพ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟู[1]

สุขภาพ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล (พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)

นโยบายด้านสุขภาพ หมายถึง การตัดสินใจ การวางแผน และการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ต้องการของสังคม[2] ทั้งนี้การดำเนินนโยบายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่พึงประสงค์นั้นหมายรวมถึงการพิจารณาปัจจัยหรือเงื่อนไขทางสังคม (social determinants of health) เช่น เพศ อายุ สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือระบบและนโยบายด้านเศรษฐกิจ บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคม ระบบการเมืองที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและต่อสุขภาพด้วย

(5) ได้รับความยินยอมจากผู้บังคับบัญชาเป็นลายลักษณ์อักษร

(6) สามารถแบ่งเวลาจากงานประจำมาทำวิจัยที่ HITAP อย่างน้อย 3 วันทำการ/สัปดาห์

แนวทางการพัฒนาศักยภาพ

ผู้สมัครที่ได้รับคัดเลือก จะต้องพัฒนาโครงร่างวิจัย ร่วมกับนักวิจัย HITAP และดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ บทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ และร่วมกับทีมสื่อสารผลิต สื่อ/สิ่งพิมพ์อื่น ๆ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของตนเอง และที่สำคัญต้องผลักดันงานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ภายในเวลาที่กำหนด โดยมีนักวิจัยและพนักงานฝ่ายต่าง ๆ ของ HITAP ให้คำปรึกษาหรือให้การสนับสนุน ทั้งนี้ โครงการมีเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพบุคลากร 2 คน/ปี และดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 3 ปี รวมนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 คน

การสนับสนุนจาก HITAP

(1) ทุนสำหรับการทำวิจัยและกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานวิจัย) โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสืบค้นและทบทวนเอกสาร การทบทวนโครงร่างการวิจัย การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการและกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ และการผลักดันนโยบายภายใต้โครงการวิจัย ทั้งนี้ โครงการไม่สนับสนุนเงินเดือนผู้เข้าร่วมโครงการ

นอกจากนี้ หากพิจารณาโครงร่างการวิจัยแล้วพบว่าต้องการทุนในการวิจัยเกินวงเงินที่ HITAP สามารถสนับสนุนได้ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องขอทุนสมทบจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือแหล่งทุนอื่น ๆ โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) และการจัดการที่เหมาะสม

(2) ให้คำปรึกษาและทำวิจัยร่วมกับนักวิจัย HITAP ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่จำเป็นกับการวิจัยในหัวข้อที่ผู้สมัครสนใจ

(3) การสนับสนุนอื่น ๆ จากเจ้าหน้าที่ HITIAP เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิจัย

(4) การใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในสำนักงาน HITAP

รับสมัครตั้งแต่ 1-31 มีนาคม 2560

เอกสารสำหรับการสมัคร

  1. ใบสมัคร (ดาวน์โหลดที่นี่)
  2. หลักฐานด้านการศึกษา
  3. เอกสารรับรองทักษะภาษาอังกฤษ
  4. โครงร่างวิจัยแบบย่อ (mini proposal) เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 2-3 หน้ากระดาษ A4 ระบุหัวข้อ หลักการและเหตุผล ขอบเขต และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการวิจัยที่สนใจทำ
  5. เอกสารแสดงความยินยอมจากผู้บังคับบัญชาให้ท่านเข้าร่วมโครงการ โดยยินยอมให้ท่านปฏิบัติงานที่โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการ ไม่เกิน 1 ปี
  6. จดหมายรับรอง (letter of recommendation) จากหน่วยงานต้นสังกัด
  7. บทคัดย่อผลงานวิจัย (ถ้ามี)
  8. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

โครงการทิ้งหิ้งจะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

  1. เพิ่มศักยภาพของบุคลากรขององค์กรทั้งในและนอกภาคสุขภาพในการพัฒนานโยบายของประเทศไทยที่วางอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์
  2. เกิดการผลักดันให้ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานโยบายสุขภาพของประเทศไทย
  3. พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยด้านนโยบายสุขภาพในประเทศไทย
  4. พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิจัยเชิงนโยบายสุขภาพให้แก่ประเทศไทย

ติดต่อ/สอบถามเพิ่มเติม/ส่งใบสมัคร

ดร. จอมขวัญ โยธาสมุทร และ ดร.รุ่งนภา คำผาง

อีเมล : [email protected]

ที่มา : โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

Shares:
QR Code :
QR Code