`แม่ทำงาน` กับการ `เลี้ยงลูกด้วยนมแม่`

ที่มา : เว็บไซต์มูลนิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย


ภาพประกอบจากเว็บไซต์มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และอินเทอร์เน็ต


'แม่ทำงาน' กับการ 'เลี้ยงลูกด้วยนมแม่' thaihealth


ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2549) มีแม่ไทยเพียงประมาณ 5 ใน 100 คน ที่สามารถให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวได้ใน 6 เดือนแรก ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดในย่านเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่เป้าหมายของประเทศขณะนั้นคือ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกร้อยละ 30


แม่กลุ่มใหญ่ที่มีปัญหาคือ แม่ที่ทำงานนอกบ้าน ซึ่งในจำนวนผู้หญิงไทยทั้งหมดมีมากกว่าร้อยละ 40 ที่ทำงานนอกบ้าน ในแม่กลุ่มนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องที่ยากและเป็นความท้าทาย ดูเหมือนว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่น่าจะมีทางเป็นไปได้ในยุค 10 ปีที่แล้ว ถ้าแม่ไม่ได้อยู่กับลูก ตัวแม่เองต้องทำหน้าที่สองอย่างไปพร้อมๆ กัน ทั้งด้านการทำงานหารายได้เข้าครอบครัวและหน้าที่แม่เลี้ยงลูก ส่วนสถานที่ทำงานในยุคนั้นแทบจะไม่เคยรู้จักคำว่า “มุมนมแม่” การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้อยู่ในแผนปฏิบัติการใดๆ หรือแม้แต่ในการให้สวัสดิการใดๆ แก่แม่ ก็ไม่มีเรื่องนมแม่ เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับสถานที่ทำงานเช่นกันว่าจะสนับสนุนพนักงานที่เป็นแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างไร ในขณะที่การให้บริษัทนมผงเข้ามาสอนพนักงานเรื่องอนามัยแม่และเด็กหรือการเลี้ยงดูลูก รวมทั้งแจกผลิตภัณฑ์นมผงให้กับพนักงานเป็นเรื่องปกติ สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหญิงเป็นจำนวนมากในยุคนั้น และเป็นความท้าทายที่มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ต้องเผชิญ จะทำอย่างไรให้ผู้บริหารของสถานที่ทำงานเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำอย่างไรให้ผู้บริหารเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นและรับเป็นนโยบายจัดให้มีมุมนมแม่ รวมถึงให้เวลาแม่พักบีบเก็บน้ำนม ให้ “นมแม่” เป็นสวัสดิการที่แม่พึงได้รับให้การคุ้มครองสิทธิของความเป็นแม่ขณะทำงาน


และนี่คือจุดเริ่มต้นของการจับมือทำงานร่วมกันของมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยกับกรมอนามัย และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการจัดตั้งมุมนมแม่เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่แม่ทำงาน โดยการสนับสนุนของ สสส. และองค์การยูนิเซฟ เริ่มในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2549 มีสถานประกอบกิจการนำร่อง 37 แห่ง และได้ขยายผลการจัดตั้งมุมนมแม่ 100 แห่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักปลัดกระทรวงแรงงาน เมื่อปี พ.ศ.2552


ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 8 หน่วยงาน ในการจัดสวัสดิการแรงงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ สสส. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก ผลจากการบันทึกข้อตกลง กรมสวัสดิการฯ ได้กำหนดเป็นนโยบายให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ขยายผลการส่งเสริมการจัดตั้งมุมนมแม่ปีละ 100 แห่ง


มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ มีบทบาทสนับสนุนทางด้านวิชาการ จัดทำมาตรฐานมุมนมแม่ ให้ความรู้แก่ผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบในสถานประกอบกิจการ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรวจเยี่ยม ติดตาม ประเมินผล ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักสาธารณสุขจังหวัดและศูนย์อนามัยเขตรวมทั้งได้ผลิตสื่อ ชุดความรู้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแม่ทำงานกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เผยแพร่ให้กับสถานประกอบกิจการต่างๆ ผลการดำเนินการร่วมกัน ทำให้มีการขยาย “มุมนมแม่” ในสถานประกอบกิจการของจังหวัดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น จากจุดเริ่มต้นมุมนมแม่แบบนำร่อง ในสถานประกอบกิจการ 37 แห่ง ปัจจุบันมีสถานประกอบกิจการจัดตั้ง “มุมนมแม่” ทั่วประเทศ จำนวน 2,300 แห่ง (ข้อมูลจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน 2559)


'แม่ทำงาน' กับการ 'เลี้ยงลูกด้วยนมแม่' thaihealth


ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปัจจุบัน มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงาน เพื่อพัฒนางานส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เป็นการปรับวิธีคิด และมุมมอง ที่มีต่อนมแม่ยกระดับ เรื่อง “มุมนมแม่” ซึ่งเดิมเป้าหมายมีเฉพาะพนักงานที่เป็นแม่ให้เป็นที่รับรู้แก่ทุกคนในองค์กร เชื่อมโยงบูรณาการงานนมแม่เข้ากับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และครอบครัว ครอบคลุมสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน คือ สุขภาพกาย ใจ สังคม และจิตปัญญา ให้ทุกคนในองค์กรได้เห็นอย่างชัดเจนว่านมแม่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีผลต่อการพัฒนาองค์กร และเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร โดยจัดทำ “โครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานและครอบครัว” ภายใต้แนวคิด สร้างงานดี ชีวีมีสุขด้วยนมแม่ ในโครงการมีกระบวนการสร้างความสมดุลของชีวิตและการทำงาน (Work skill and life skill) ที่จะส่งผลลัพธ์ให้องค์กรมีผลผลิตที่ดีเพิ่มขึ้น มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ได้มูลนิธิ SHARE ซึ่งมีชื่อเสียงในการจัดตั้งองค์กรต้นแบบ องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) เป็นที่ปรึกษาออกแบบกระบวนการ มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบสร้างแกนนำและสร้างเครือข่าย เพื่อไปพัฒนาในองค์กรตนเอง ซึ่งมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ คาดหวังว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนทั้งเรื่องนมแม่และการพัฒนาคุณภาพชีวิตในองค์กร


และมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการทำให้เกิดองค์กรต้นแบบ “สร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานและครอบครัว” มีบริษัท 16 แห่งที่อาสาเข้าร่วมโครงการฯ เป็นองค์กรต้นแบบเกิดเครือข่ายขึ้นจากการรวมตัวของบริษัททั้ง 16 แห่ง และในจำนวนนี้ มีบริษัท 5 แห่ง ที่มีการพัฒนาขึ้นไปจนถึงระดับเป็น “ศูนย์เรียนรู้” เป็นแหล่งศึกษาดูงานและต่อยอดสู่การเป็นองค์กรพี่เลี้ยง ขยายผลการดำเนินงานไปยังเครือข่ายใหม่ๆ และจากโครงการนี้ยังทำให้เกิด Trainers นมแม่ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีความสามารถในการจัดอบรมให้กับพนักงานตั้งครรภ์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งให้คำปรึกษาและช่วยเหลือพนักงานที่มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ มีบริษัทหลายแห่งได้ประกาศเป็นนโยบายไม่รับการสนับสนุนจากบริษัทนมผง ห้ามไม่ให้พนักงานบริษัทนมผงเข้ามาอบรม จำหน่าย จ่ายแจก หรือฝากแจกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนมผงโดยเด็ดขาด


ความสำเร็จทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ คือ Best Practice ที่มูลนิธิ ศูนย์นมแม่ฯ ได้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ว่าทำได้อย่างไร ต้องปรับ วิธีคิด วิธีทำงานอย่างไร ต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างไร ในสถานประกอบกิจการที่เป็นต้นแบบเหล่านี้ เท่ากับชุมชนขนาด ใหญ่ชุมชนหนึ่ง มีแม่ทำงานในระดับร้อยถึงระดับหลายพันคน มีการส่งเสริม คุณภาพชีวิตที่ดีของแม่ขณะอยู่ในที่ทำงานพร้อมๆ ไปกับสนับสนุนให้เลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ แม่สามารถบีบน้ำนมเก็บให้ลูกที่อยู่บ้านได้ ในขณะเดียวกัน แม่สามารถสร้างผลผลิตที่ดีให้แก่องค์กร เรื่อง การมีมุมนมแม่ การพักของแม่ระหว่างทำงาน เพื่อบีบ/ปั๊มเก็บ น้ำนมในที่ทำงาน การแพคน้ำนมแม่ส่งให้ลูกที่อยู่ต่างจังหวัด การมีกลุ่มแม่ ช่วยแม่ เป็นเรื่อง “ปกติ” เป็น “new normal” หรือบรรทัดฐานใหม่ที่ พนักงานทุกคนในสถานประกอบกิจการต้นแบบเหล่านี้ เห็นชอบร่วมกันใน การปฏิบัติในชุมชนคนทำงานของเขา


แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็น “new normal” ในองค์กรต้นแบบเหล่านี้ เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในจุดเล็กของสังคม ยังไม่ใช่ภาพใหญ่ของประเทศที่มีสถานประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่กว่า 4 แสนแห่งทั่วประเทศ ทำอย่างไรเราจะสร้าง “new normal” นี้ให้เกิดขึ้นในชุมชนคนทำงานทุกๆ แห่ง


'แม่ทำงาน' กับการ 'เลี้ยงลูกด้วยนมแม่' thaihealth


และนี่คือความท้าทายในระดับประเทศ จากองค์กรต้นแบบจะมี การพัฒนาขยายต่อได้อย่างไร จะสร้างกระแส “new normal” ในสังคม ไทยได้อย่างไร จะมีวิธีการอย่างไรที่จะนำสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนในสังคมต้อง ช่วยกัน การช่วยแม่ทำงานนอกบ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องอาศัยการ สนับสนุนทุกระดับ ตั้งแต่ในครอบครัว ชุมชน สถานที่ทำงาน ผู้ช่วยเลี้ยง เด็ก กลุ่มแม่ช่วยแม่ อสม. ตลอดจนถึงการสนับสนุนของหน่วยงานตั้งแต่ ระดับชุมชน (โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น) หน่วยงานระดับจังหวัด /ระดับเขต (โรงพยาบาล ศูนย์อนามัยเขต สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม) จนถึงระดับ ประเทศ ในการขับเคลื่อนทั้งประเทศทุกภาคส่วนและทุกระดับจะต้องตระหนัก เห็นความจำเป็นที่ต้องสนับสนุนช่วยเหลือแม่ที่ทำงานนอกบ้านที่เป็นแม่ เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ความจำเป็น ที่ต้องมีนโยบายในเรื่องการคุ้มครองแม่ในสถานที่ทำงาน ทั้งในระบบและ นอกระบบ


นโยบายภาครัฐจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนสำคัญ ในการ สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานที่ทำงานทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงสาธารณสุขหรือ กระทรวงแรงงาน สมควรมีนโยบายที่ชัดเจน มี การให้งบประมาณสนับสนุนโครงการที่เพียงพอและมีตัวชี้วัด เพื่อการ ติดตามการดำเนินงาน ควรประเมินสถานะของการคุ้มครองแม่และ ครอบครัวในปัจจุบัน และมีการติดตามประเมินผล เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้น ในระดับพื้นที่ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน หน่วยงานประกันสังคม รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างมีบทบาทในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานสาธารณสุข มีส่วนสำคัญในการให้ความรู้ และการปรึกษาช่วยเหลือพนักงานที่เป็นแม่ในสถานประกอบกิจการ ควร สร้างระบบให้เชื่อมโยงจากสถานบริการสาธารณสุขถึงสถานประกอบกิจการ ขนาดใหญ่ๆ หน่วยงานราชการทุกแห่งสมควรต้องเป็นตัวอย่างของการเป็น สถานที่ทำงานที่เป็นมิตรกับแม่ (Mother-Friendly Workplace) สนับสนุนแม่ทำงานทุกคนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่


สุดท้าย ควรมีการใช้กลไกทางกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแม่ ได้รับการคุ้มครองในสถานที่ทำงาน สถานที่ทำงานมีนโยบายในการปกป้อง และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีมุมนมแม่หรือห้องนมแม่ และให้เวลา พักบีบ/ปั๊มเก็บน้ำนมแม่ให้ลูก คุ้มครองสิทธิแม่ระหว่างที่ลาพักหลังคลอด หรือในช่วงพักทำงานเพื่อบีบเก็บน้ำนมให้ลูก ให้ได้รับค่าจ้างเต็ม จัดเวลา และการทำงานที่เหมาะสมแก่แม่ และให้สวัสดิการที่ไม่ต่างจากพนักงาน อื่นๆ ในเวลาทำงานปกติ ส่งเสริมนโยบายที่สนับสนุนเรื่อง co-parenting ที่ให้การคุ้มครองทั้งพ่อแม่อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ให้พ่อลาดูแลลูกหลังคลอด ได้โดยจ่ายค่าจ้างเต็ม กลไกทางกฎหมายจะเป็นตัวเร่งการพัฒนาให้สู่เป้าหมายความสำเร็จได้เร็วขึ้น เหล่านี้คือความท้าทาย ที่กำลังรอการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่ทำงานนอกบ้าน เชื่อว่าจากการร่วมรวมพลังของทุกภาคส่วนอย่างจริงจังในการ ปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำให้แม่ทำงานของ ไทยสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น มี “new normal” เกิดขึ้นใน ชุมชนคนทำงานทุกๆ แห่งและนำสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ อย่างยั่งยืน

Shares:
QR Code :
QR Code