แนะวิธีการเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม

อย. ลงพื้นที่ร่วมกับ สสจ. และ กรมปศุสัตว์ เดินหน้าตรวจสถานที่ผลิตนมโรงเรียนและตรวจสอบคุณภาพ นมโรงเรียนทั่วประเทศ ดีเดย์พร้อมกันในเดือน พ.ย. 58 นี้ ลุยตรวจ 82 แห่งจาก 40 จังหวัด พร้อมสุ่มเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์


แนะวิธีการเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม thaihealth


แฟ้มภาพ


เพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง หวังเด็กไทยดื่มนมที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน อีกทั้งจับมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหาแนวทาง ป้องกันนมโรงเรียนบูดทั้งระบบต่อไป


นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา และ นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นคุณภาพนมโรงเรียนมุ่งเน้นความครอบคลุมในการตรวจสถานที่ผลิตนม โรงเรียนทุกแห่ง ความสม่ำเสมอในการสุ่มตรวจ ความรวดเร็วในการดำเนินการกรณีที่เกิดปัญหาและใช้ มาตรการเข้มงวดในการลงโทษผู้กระทำความผิด


ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประสาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่ ร่วมลงพื้นที่ตรวจประเมินสุขลักษณะของ สถานที่ผลิตนมโรงเรียน และมีการสุ่มเก็บตัวอย่างนมโรงเรียน ณ สถานที่ผลิตเพื่อวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 350) พ.ศ.2556 เรื่อง นมโค และประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายการตรวจวิเคราะห์ทั้งทางด้านกายภาพ คุณค่าทางโภชนาการ และจุลินทรีย์


สำหรับในภาคเรียนที่ 2/2558 นี้ อย. สสจ. และกรมปศุสัตว์ จะร่วมลงพื้นที่ตรวจประเมินสุขลักษณะของสถานที่ผลิตนมโรงเรียนทั่ว ประเทศจำนวน 82 แห่ง ที่มีอยู่ใน 40 จังหวัด พร้อมทั้งสุ่มเก็บตัวอย่างวิเคราะห์คุณภาพ ณ ห้องปฏิบัติการของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ ทุกเดือนเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง


เลขาธิการฯ อย. และ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากการดื่มนมโรงเรียนมากที่สุด นอกจากจะควบคุมการกระบวนผลิตแล้ว การควบคุมการขนส่งและการเก็บรักษาหลังการขนส่ง อย่างเหมาะสมก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพของนมโรงเรียน จึงขอให้ครูที่รับผิดชอบการแจกจ่ายนมโรงเรียน ช่วยสอดส่องและตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนในเบื้องต้น ดังนี้ หากเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ ควรตรวจสอบว่านม พร้อมดื่มที่นำมาส่งให้โรงเรียนมีการเก็บรักษาอยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือไม่ เช่น เก็บในตู้เย็น หรือในถังแช่ที่มี น้ำแข็งสะอาดบรรจุอย่างเพียงพอ โดยอุณหภูมิของตู้เย็นและถังแช่ไม่ควรเกิน 80 C และควรเก็บนมไว้ในตู้เย็น ตลอดเวลา ไม่ควรเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง รวมทั้งตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุว่ามี รั่วซึม หรือมีการบวมหรือไม่ ควรให้เด็กดื่มนมให้หมดในครั้งเดียว ไม่ควรเก็บไว้และนำมาบริโภคภายหลัง กรณีเป็นนมยูเอชที ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดด ไม่ควรวางลงบนพื้น ควรเก็บบนชั้นวางของ หรือในตู้ภายในห้องที่สามารถป้องกันหนูและแมลง กัดแทะได้ รวมทั้งเขียนหมายเลขกำกับลำดับก่อนหลังของนมที่รับเข้ามาเก็บ นมที่รับเข้ามาก่อนควรแจกให้ นักเรียนได้ดื่มก่อน ไม่ควรวางกล่องนมยูเอชทีซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เพราะอาจทำให้กล่องด้านล่างหักพับ อาจเกิด การฉีกขาดและเชื้อจุลินทรีย์อาจปนเปื้อนเข้าไป ทำให้นมบูดได้


และหากพบหีบห่อบรรจุนมยูเอชทีที่มีรอยปริหรือเปียกชื้น ให้แยกนมกล่องนั้นออกทันที แล้วนำนมที่เสียส่งคืนให้ผู้ผลิตเพื่อขอชดเชยส่วนที่เสียนั้นทันที อีกทั้งไม่ควร แช่นมยูเอชทีในกระติกน้ำแข็งหรือน้ำร้อน เพราะกล่องกระดาษจะอ่อนตัวและชำรุด ทำให้จุลินทรีย์สามารถปนเปื้อน เข้าไปได้ ขอให้ผู้ประกอบการ ครู และผู้ปกครอง ทำตามคำแนะนำในเรื่องการเก็บรักษาและการขนส่งอย่าง เคร่งครัด ที่สำคัญ อาจตรวจสอบคุณภาพของนมโรงเรียนเบื้องต้นโดยการเทใส่แก้วใส สังเกตดูลักษณะเนื้อนม และดมกลิ่นก่อนดื่ม


 


ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข


 


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code