แก้แก่นแกนตัวเอง
เน้นหลักพระพุทธศาสนา
การก้าวถึงจุดหมายสูงสุดของมนุษย์ คือไม่มีตัวกูของกูได้นั้นจักต้องอาศัยศาสตร์ผสานศิลป์ในการดำรงจุดมุ่งหมายชีวิตเข้ากับวิถีทางอย่างสอดคล้องต้องกันเป็นอย่างน้อย โดยน้อยสุดก็ต้องกระทำการงานที่ร่วมสร้างเสริมสังคมดีงามให้เกื้อกูลแก่คุณภาพชีวิตและเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาจิตปัญญา
ดังประสบการณ์การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์นานกว่า 2 ทศวรรษ ของสมจิตร์ สมหวัง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลน้ำพอง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ที่หยัดยืนอย่างมั่นคงบนความเข้าใจแก่นแท้พุทธศาสนาว่าด้วยอริยสัจและปฏิจจสมุปบาทจนสามารถทำหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ดีที่สุด “เริ่มจากความศรัทธาโดยส่วนตัวตั้งแต่ปี 2539 แต่ศรัทธาก็ต้องมีการฝึกปฏิบัติ เพราะต้องรู้ทั้งทฤษฎีและมีการปฏิบัติถึงจะเกิดผลตามมา การพัฒนาจิตจึงต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน บุคลากรของโรงพยาบาลก่อน ก่อนขยายไปที่ผู้รับบริการและชุมชนอันเป็นแนวทางโรงพยาบาลวิถีพุทธ”
การซาบซึ้งศรัทธาหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดาที่สำคัญ ขนาดพระพุทธเจ้าแสดงพุทธพจน์ไว้ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุป บาท” และตระหนักถึงการเรียนรู้ปัญหา ค้นหาสาเหตุ กำหนดจุดหมาย และวางวิธีการแก้ไข เช่นนี้ทำให้สมจิตร์เป็นแกนชักชวนพัฒนาจิตในโรงพยาบาล กระทั่งปัจจุบันเกิดกิจกรรมตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติบำบัด โยคะสมาธิบำบัด ลานธรรม และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
“กิจกรรมเยอะแยะเหล่านี้มุ่งเพือพัฒนาจิต แต่สุดท้ายก็หนีทุกข์ไม่พ้น ไม่สามารถแก้ทุกข์ได้แท้จริง จึงนำหลักอริยสัจมาปรับกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น ประกอบกับเข้าใจธรรมชาติแท้จริงของชีวิตว่าไม่มีใครอืนทำให้ทุกข์ได้ นอกจากตัวเราเอง จึงต้องเริ่มแก้ที่ใจเราเอง พอพัฒนาตัวเราเองแล้วก็พัฒนาทีมงาน แล้วค่อยเผยแพร่สู่ภายนอก เพราะทุกข์เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต เป้าหมายสูงสุดจึงเป็นการสร้างปัญญาให้คนไข้พึ่งตนเองได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา”
ก่อนขยายความการพัฒนาจิตอย่างต่อเนืองของบุคลากรที่ถ่ายทอดสู่คนไข้ในแนวทาง “ธรรมะสุขภาพ” ที่บูรณาการกาย จิต สังคม และปัญญา เข้าด้วยกันว่าสามารถคลี่คลายทุกข์คนไข้ได้ ดังเคสคนไข้เบาหวานและความดันที่เครียด เพราะลูกหลานและคนในชุมชนไม่แยแส แต่ทว่ามีความสามารถรำผีฟ้า จึงดึงทักษะนี้มาส่งเสริมกิจกรรมชุมชน จนคนไข้อาการทางกายดีขึ้น ทางใจก็ไม่หงอยเหงาเศร้าซึม ส่วนคนไข้ไร้ญาติที่ป่วยเป็นเบาหวานหลังเข้ากลุ่มก็มีความเข้าใจและยอมรับความเจ็บป่วย มีความเครียดลดลง พฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น พึงพอใจในการบริการมากขึ้น กระทั่งขยายเป็นเครือข่าย
“แต่ปัญญาไม่ใช่สร้างได้ง่ายๆ เราจึงใช้หลักปฏิวัติกับปฏิรูป การปฏิวัติจะใช้กับผู้ที่มีปัญญาดีเพือบอกสิ่งผิดสิ่งถูกเลย ส่วนการปฏิรูปจะเริ่มจากค้นหาศักยภาพก่อนว่าเขามีอะไรดี เชืออะไรอยู่ แล้วดึงสิ่งที่เขาทำและเชือออกมา ค่อยๆ แทรกคำสอนลงไปในกิจกรรมเพือให้เขาภูมิใจในคุณค่าตัวเอง”
การตระหนักว่าสังคมประกอบด้วยมนุษย์ที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญาต่างๆ กัน ไม่เว้นแม้แต่สังคมคนไข้และคนให้บริการ กอปรกับตนเองเป็นผู้จุดประกายการแพทย์ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จนบุคลากรทุกคนสามารถไปอบรมหลักสูตรพัฒนาจิต 7 วัน ได้โดยไม่ถือเป็นวันลา ก็ทำให้ทั้งตัวเธอและคนอืนๆ มีความสุขในการงาน มีที่พึ่งทางใจ และมีทางออกในอุปสรรคปัญหาที่พบเผชิญเพิ่มขึ้น
“การแก้ปัญหาแท้จริงต้องแก้ที่ตัวเอง ต้องปรับวิธีคิดตัวเอง เลยไม่เคยโทษใครไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะทุกคนเกิดมาอยากเป็นคนดีมีคุณค่าด้วยกันทั้งนั้น การผิดพลาดไปก็เพราะเขาไม่รู้ ถ้ารู้เขาคงไม่ทำ การจัดการจึงต้องดูว่าตัวเขามีทุนรอนอยู่เท่าไรก่อนเลือกใช้เทคนิควิธีการ” การตืนรู้บนหนทางสายงานสุขภาวะชุมชนจนเห็นจุดอ่อนของตัวเองว่าต้องปรับปรุงจุดใดแก้ไขได้ด้วยสิ่งใด เพือพัฒนาการทางจิตของเธอจะไปพัฒนาสุขภาพผู้คนทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนเช่นนี้ ทำให้ห้วงยามการงานเป็นห้วงยามเดียวกันกับการพากเพียรพัฒนาจิต เนืองเพราะถึงที่สุดแล้ว สมจิตร์รู้ซึ้งถึงคุณค่าของจิตในฐานะประธาน ถ้าพัฒนาจิตได้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการงานมากมาย
มากกว่านั้นการมีกัลยาณมิตรเคียงข้าง นอกจากจะก่อเกิดปัญญาเวลาพูดคุยกันแล้ว ยังได้ทบทวนเพือเรียนรู้เข้าใจและเห็นข้อบกพร่องของตนเอง ตลอดจนทวงถามสติที่หลงลืมไปในบางคราให้กลับมาได้จากการเผลอพลั้งผิดไปโดยไม่รู้ไม่ได้ใคร่ครวญ จนกระทั่งมีเสียงสะท้อนของมิตรสหาย
“นอกจากกัลยาณมิตรแล้ว ทุกวันนี้ก็ขอบคุณความทุกข์ที่เจอ รู้สึกโชคดีมากที่เกิดมาแล้วเห็นความทุกข์ ถ้าเกิดมารวยมาสวยคงติดสวยติดสบาย เมือไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นธรรม ทุกข์ทำให้เข้าใจชีวิต การดิ้นรนหนีทุกข์จึงไม่ใช่ แต่ทุกข์มีไว้ให้เรียนรู้และหาสาเหตุที่เกิด ถึงแม้นเราจะปฏิบัติธรรมโดยเริ่มจากความเข้าใจแก่นพุทธศาสนา ไม่ใช่ความเข้าใจในความทุกข์ก็ตามที แต่การอ่านหนังสืออาจารย์พุทธทาสที่สอนอานาปานสติตั้งแต่สมัยเรียนก็ทำให้ได้ฝึกตนเอง ตืนตี 4 นั่งสมาธิ 1 ชั่วโมงก่อนไปเรียน”
การนั่งสมาธิสม่ำเสมอจนจบการศึกษา และได้เล่าเรียนพระธรรมกับพระอริยะที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตลอดจนปฏิบัติธรรมเป็นกิจวัตร ใช่เพียงเปลี่ยนแปลงด้านใน หากด้านนอกยังหายขาดจากไมเกรนที่เป็นมาตั้งแต่มัธยม 2 จากความคิดว้าวุ่นลงได้ ด้วยรู้ว่าถ้าเมือใดมีทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุแห่งทุกข์
“คนเราทุกข์เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของชีวิต และคิดพึ่งคนอืน คนที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องคิดพึ่งตนเองเท่านั้น ที่จริงแล้วสุขแท้ในโลกไม่มี มีแต่ความทุกข์เท่านั้นที่ลดลง แต่ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติชีวิต เวลาทำงานเราก็จะวางใจเป็น กลางมากขึ้นได้ เพราะให้บริการคนไข้ด้วยความเข้าใจ แต่ระหว่างมีชีวิตก็ต้องเรียนรู้ทุกข์ หากแต่ทุกข์ก็จบก็สิ้นสุดได้ถ้าไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก จึงต้องถอยออกมามองธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จะทำให้ไม่ยึดไม่อยากไม่ทุกข์ เพราะไม่ยึดติดเป็นของเรา”
อีกทั้งปณิธานชีวิตสูงสุดที่วาดหวังว่าท้ายสุดจะไม่เอาอะไรเลยนั้น ก็นับเป็นพัฒนาการภายในจากการสลายแก่นแกนความเป็นตัวกูของกู กระทั่งปัจจุบันขณะทุกการกระทำเป็นไปเพือพัฒนาจิตปัญญาอันเป็นแก่นสารแห่งชีวิตมนุษย์ทุกคน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
update: 30-11-52
อัพเดทเนื้อหาโดย: ภราดร เดชสาร