เอสวีเอ็นอวอร์ด ไอเดียล้ำสร้างธุรกิจเพื่อสังคม

Ma:D (มาดี) Club for Change  พื้นที่รวบรวมคนดีร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม 


เอสวีเอ็นอวอร์ด ไอเดียล้ำสร้างธุรกิจเพื่อสังคม thaihealth


พื้นที่ย่านกลางเมืองอย่างเอกมัยซอย 4 นั้นยกให้เป็นทำเลทอง จากสถานีรถไฟฟ้าเอกมัยมาถึงที่แห่งนี้ใช้เวลาเดิน 10 นาที จุดนี้รายรอบไปด้วยคอนโดมิเนียม ร้านค้าต่าง ๆ ด้วยความคิดของ ปรีห์กมล จันทรนิจกร ผู้ก่อตั้ง Ma:D Club for Change เห็นโอกาสทางธุรกิจมองว่า ทำเลตรงนี้น่าจะเป็นสถานที่ดี ๆ ให้คนมีความคิดดี ๆ มาร่วมสุมหัวแลกเปลี่ยนไอเดีย เพื่อเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น เธอเข้าไปเปลี่ยนสถานที่เดิมที่เคยเป็นร้านเหล้า ให้มาเป็นห้องประชุม สถานที่จัดอีเวนต์ จัดกิจกรรม เรียนรู้ร่วมกัน โดยที่เธอเป็นนักลงทุนเช่าอาคารแห่งนี้มา หารายได้จากผู้ต้องการใช้สถานที่ประชุม จัดอีเวนต์ ในราคาที่เป็นธรรม


ยกตัวอย่างเช่น ตารางการแจ้งทำกิจกรรม ที่โพสต์ในเฟซบุ๊ก Ma:D Club for Change ในกิจกรรม Happy Meal Time ผลิตสินค้าโดยเน้นความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภคโดยเลือกใช้เม็ดพลาสติกออแกนิก และแบ่งปันภาชนะและสินค้าเหล่านั้นให้เด็กด้อยโอกาสได้เข้าถึงอีกด้วยหรือกิจกรรม


ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้ง กล่องดินสอ กล่องนักพัฒนาสื่อสารการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นอีกคนที่คิดต่างทางธุรกิจ เช่น ปรีห์กมล เขาสนใจเรื่องสื่อการเรียนรู้ของผู้พิการทางสายตา นอกจากอักษรเบรลล์แล้ว เขาเห็นความต้องการผู้พิการทางสายตาเมื่อจะวาดรูป จะทำได้ไหม จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า "เล่นเส้น"  ขึ้นมาโดยต่อยอดแนวคิดเส้นไหมพรมกับหนามเตย เมื่อน้อง ๆ ต้องการวาดรูปใช้วิธีจับปากกาที่บรรจุไหมพรมแล้วลากไปบนหนามเตย ขณะวาดผู้พิการทางสายตา ใช้มือคลำไปด้วย สินค้าตัวนี้ได้รับการตอบรับ จนสามารถส่งออกได้ นอกจากนี้เขาได้ริเริ่มธุรกิจพี่เลี้ยง เพราะมองเห็นว่าตามกฎหมายแรงงาน ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องจ้างผู้พิการมาทำงาน ถ้าไม่จ้างต้องส่งเงินเข้ารัฐเป็นรายปีแทน


"มีบริษัทจิวเวลรี่ มีอยู่หนึ่งโซนที่เสียงดังซึ่งคนปกติไม่สามารถทำงานได้ แต่คนหูหนวกกลับทำงานได้ดีเพราะไม่ได้ยินเสียง หรือคนที่มีรูปร่างแคระแกรนเราได้หางานประดิษฐ์ชิ้นเล็ก ๆ ให้เขา ปรากฏว่าเขาทำได้ดี ซึ่งบางครั้งจุดด้อยของผู้พิการทำให้เขามีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าคนปกติ"  ฉัตรชัย บอกเล่า ว่านี่คือโปรเจคท์ใหม่ทางธุรกิจของบริษัท ที่จะเข้า ไปจัดหางานให้ตรงกับความสามารถของผู้พิการ ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้ประโยชน์ด้วย


เอสวีเอ็นอวอร์ด ไอเดียล้ำสร้างธุรกิจเพื่อสังคม thaihealthรูปแบบของธุรกิจ  Ma:D Club for Change และกล่องดินสอ คือธุรกิจที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทมีรายได้ แตกต่างจากการทำงานช่วยเหลือสังคมแบบที่ผ่าน ๆ มาที่มุ่งหวังเพียงแต่การบริจาค หรือระดมทุน  เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  SVN Social Venture Network Asia (Thailand) ได้มอบรางวัล SVN AWARD ครั้งที่ 16 ให้กับทั้ง 2 บริษัท ในฐานะผู้เริ่มประกอบการเพื่อสังคม


นอกจากนี้ยังมี 13 องค์กร 5 ประเภทรางวัลได้รับรางวัลในครั้งนี้  อาทิ รางวัล  SVN AWARD ภาคสังคมดีเด่น ทีมงานแพทย์วิถีธรรม รพ.โพธาราม ที่มีความพยายามมากกว่าตามหน้าที่ เพื่อให้คนไข้กลับมามีสุขภาพอย่างยั่งยืน และ SVN AWARD ประเภทธุรกิจดีเด่น ได้แก่ 1. กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ 2. ม.รังสิต 3. สามพรานริเวอร์ไซด์ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมุยอักษร


ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้เข้าพัฒนาให้เกิดการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ใน อ.สามพราน มา  5 ปี ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผัก ผลไม้ ขับเคลื่อนในรูปแบบสามพรานโมเดล ภายใต้มูลนิธิสังคมสุขใจ ได้นำองค์ความรู้จากนักวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์สู่ชุมชน นอกจากนี้ยังหาตลาดให้จำหน่ายผลผลิต โดยใช้พื้นที่ของสามพรานริเวอร์ไซด์ จัดตลาดนัดสุขใจทุกวันเสาร์อาทิตย์ ขณะเดียวกัน รร.ก็รับซื้อผลผลิตอินทรีย์ มาปรุงอาหารให้กับแขก นอกจากนี้ยังมีโครงการตลาดนัดสุขใจสัญจร นำผลผลิตอินทรีย์จากสามพรานมาขายใน ธ.ไทยพาณิชย์ และธ.กรุงไทย สำนักงานใหญ่เดือนละครั้ง และกำลังเปิดระบบสมาชิกให้กับผู้บริโภคในเมืองที่ต้องการพืชผักอินทรีย์ โดยมีบริการส่งให้ถึงที่ทำงานสัปดาห์ละครั้งเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกร


"งานพวกนี้ไม่มีมาสุดทาง ณ วันนี้เราทำไปเรื่อย ๆ เรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงจึงไม่มีวันจบสิ้น แต่เป้าหมายเรายิ่งทำยิ่งชัดเจนขึ้น  และเราก็มีทีมที่ดีมีความเชื่อว่าเปลี่ยนได้ แม้จะได้ทุนจาก สสส. สกว. ก็จริงแต่เป็นทุนที่จะมาช่วยเสริม เอสวีเอ็นอวอร์ด ไอเดียล้ำสร้างธุรกิจเพื่อสังคม thaihealthช่วยขับเคลื่อนโครงการแม้ไม่มีทุนก็ทำ เพราะโครงการของเราอยู่บนพื้นฐานธุรกิจที่เป็นธรรม ที่เป็นธุรกิจผลิตอาหารอินทรีย์" กรรมการผู้จัดการ สามพราน ริเวอร์ไซด์ ย้ำ


วัลลภ  พิชญ์พงศา ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รางวัลนี้พยายามสะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จะต้องเป็นธุรกิจที่นำความรับผิดชอบต่อสังคมในหลายบริบทเข้าสู่องค์กรของตนไม่ใช่แค่การให้วัตถุดิบหรือการบริจาค ทุกคนมีส่วนร่วมในการลดปัญหาในฐานะพลเมือง โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม


ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ต่างมีศักยภาพที่จะทำเพื่อสังคม…อยู่ที่ว่าจะเริ่มต้นหรือไม่.


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ภาพประกอบจากเพจมาดี

Shares:
QR Code :
QR Code