เส้นทางการเรียนรู้ผ่านการ ‘ร้อยเรื่องเป็นภาพ’

ที่มา : แฟนเพจมูลนิธิสยามกัมมาจล


ภาพประกอบจากแฟนเพจมูลนิธิสยามกัมมาจล


เส้นทางการเรียนรู้ผ่านการ 'ร้อยเรื่องเป็นภาพ' thaihealth


เส้นทางการเรียนรู้ (Learning Journey) ผ่านการ “ร้อยเรื่องเป็นภาพ” (Story Board)


ละอ่อนน่านฮักบ้านเกิด ถ่ายทอดประสบการณ์ เส้นทางการทำโครงการเพื่อชุมชนของตนเอง มาตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปี ผ่าน Story Board ซึ่งเป็นเครื่องมือ ฝึกให้เยาวชนคิด กลั่นกรองข้อมูล รวมถึงการเรียนรู้ของพวกเขา พร้อมทั้งฝึกที่จะตั้งคำถามกับเพื่อนในกลุ่ม เพื่อที่จะดึงใจความสำคัญจากประเด็นที่ตัวเองทำออกมาเป็น “ภาพ” บอกเล่าเรื่องราว “หัวใจสำคัญ” ของการทำโครงการ ภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที


ซึ่งการฝึก “คิด” เป็น “ภาพ” นี้ทำให้เยาวชนสามารถเล่าเรื่องด้วยความเข้าใจ ในสิ่งที่ตนเองทำ ทำให้เยาวชนได้มีโอกาสทบทวน “เส้นทางการเรียนรู้” (Learning Journey) ของพวกเขา ผ่านการระดมความคิดเห็นและการทำงานเป็นทีม


นอกจากนี้ ใน “เส้นทางการเรียนรู้” (Learning Journey) ของเยาวชนยังทำให้เห็นถึง


1. เยาวชนเห็นถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง


2. มองเห็นถึงเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และหาวิธีการที่จะแก้ไขปัญหานั้น


3. สำรวจต้นทุนทางสังคม และศักยภาพที่ตนเองมี วางเป้าหมายเพื่อที่จะแก้ปัญหากัน


4. การออกแบบกระบวนการทำงาน ร่วมกันเป็นทีม และดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน


5. การรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ การจัดการความรู้จากการทำโครงการ ส่งคืนข้อมูล ผลการดำเนินงานต่อพื้นที่และชุมชน


6. สังเคราะห์ข้อมูล ถอดบทเรียนทีม เพื่อสำรวจตัวเอง ว่าสิ่งที่เรียนรู้จากโครงการนี้คืออะไร?


เส้นทางการเรียนรู้ผ่านการ 'ร้อยเรื่องเป็นภาพ' thaihealth


สิ่งสำคัญที่สุดคือ เยาวชนรู้จักชุมชนบ้านเกิดของชุมชนตนเองมากขึ้น ซึ่ง เส้นทางการเดินทางของเยาวชน ดังที่กล่าวมาจากที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้เห็นถึงสถานการณ์เด็กและเยาวชน รวมถึงสถานการณ์ปัญหาของเมืองน่าน ที่ยังต้องการได้รับได้ดูแลและสืบสานต่อ ไม่ว่าจะเป็น 1. สถานการณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติป่า และน้ำของชุมชน ฯลฯ ในท่ามกลางสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงรวมถึงปัจจัยที่เข้ามากระทบมางกมายเหล่านี้ จะเป็นหน้าที่ของใคร? และจะร่วมกันดูแลอย่างไร? 2. สถานการณ์ของเรื่องวัฒนธรรมบางอย่างชุมชนท้องถิ่นจะหายไป ใครจะช่วยกันดูแล? 3. สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต้องการคนดูแล และคนในชุมชน อยากมีสุขภาพที่ดี จะสามารถช่วยกันได้อย่างไร? 4. สถานการณ์ขยะที่เป็นปัญหาระดับโลก ผ่านมากี่ยุคสมัยก็ยังไม่สามารถแก้ได้ จะทำอย่างไร?


สถานการณ์เหล่านี้ ด้วยพลังของเยาวชนจะสามารถมีส่วนช่วยให้สถานการณ์เหล่านี้คลี่คลายได้อย่างไร? และพวกเขาได้เรียนรู้อะไรระหว่างการเดินทางตลอดระยะเกือบ 1 ปีที่ผ่านมานี้ สามารถหาคำตอบได้ที่ นิทรรศการ”บนเส้นทางการเรียนรู้” (Learning Journey) ของเยาวชนละอ่อนน่านฮักบ้านเกิด ในงานมหกรรมพลังเยาวชน “พลังละอ่อนน่านฮักบ้านเกิดปีที่ 3 “ เร็ว ๆ นี้ ในวันที่ 27 มกราคม 2561 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง จ.น่าน


สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ