เรื่องไม่เล็ก…ของเด็กเล็กปฐมวัย

สื่อ+พื้นที่สร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือสำคัญยกระดับ “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้ตอบโจทย์การแก้ปัญหาพัฒนาการสมวัย 


เรื่องไม่เล็ก...ของเด็กเล็กปฐมวัย thaihealth


รู้หรือไม่? เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญาลดลงเรื่อยๆ


“ผลสำรวจในรอบ 12 ปี (พ.ศ. 2540-2552) พบว่าค่าเฉลี่ยเชาว์ปัญญาเด็กไทยอยู่ที่ 88-91 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 เช่นเดียวกับพัฒนาการสมวัยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ลดลงจาก 72% ในปี 2557 ซึ่งคาดว่าจะเหลือ 67% ในปี 2560 ซึ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางกายและสติปัญญาต่ำ”


หลายๆ คนคงเกิดความรู้สึกกังวลใจกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุตรหลานของตนเองในอนาคตไม่ไกลนี้ โดยเฉพาะตัวเลขที่ระบุว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พัฒนาการจะลดลงอีก 5% ซึ่งถ้าโฟกัสไปที่พัฒนาการการเรียนรู้ ของเด็กเล็ก 0-5 ปี ก็จะพบว่าช่วงอายุดังกล่าว นับเป็นช่วงสำคัญที่สมองมีพัฒนาการสูงสุด อันส่งผลต่อสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์


เห็นได้ชัดว่า การลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงอายุดังกล่าว จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เพราะจากผลการศึกษาของ James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล (2542) ได้ติดตามศึกษาเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษในประเทศต่างๆ ซึ่งพบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า  โดยเด็กที่ได้รับสารอาหารและการดูแลสุขภาพที่ดีในช่วงแรกของชีวิตจะมีทักษะทางกายภาพ IQ และ EQ ที่ดีกว่า และมีโอกาสที่จะเข้าเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษาสูงกว่า สามารถลดโอกาสการซ้ำชั้นหรือออกกลางคัน และมีโอกาสเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ มีรายได้สูงในอนาคต


และถ้ามาดูสำรวจอัตราการมี “กิจกรรมทางกาย” โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเรื่องไม่เล็ก...ของเด็กเล็กปฐมวัย thaihealthกระทรวงสาธารณสุข และ สสส. ในปี 2555 พบว่าวัยเด็กเป็นวัยที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอน้อยที่สุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากการพฤติกรรมแน่นิ่ง (Sedentary Behavior) เด็กๆ จะใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า เด็กไทยถึง 1 ใน 5 จะตกอยู่ใน “ภาวะอ้วน”


ในขณะเดียวกัน “สื่อ” และ “พื้นที่สร้างสรรค์” ก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาวะทุกมิติ สร้างภูมิคุ้มกันและทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชน ให้มีความความฉลาดรู้เท่าทันสื่อและเกิดความตื่นรู้ทางปัญญา ดังนั้น การกระบวนการใช้สื่อสร้างสรรค์ จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้าง “พลเมืองเด็ก” ที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน เป็นพลเมืองที่มีทักษะชีวิต เท่าทันตนเอง เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม มีความฉลาดรู้ทางสุขภาพและมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม


ในส่วนการดูแลเด็กปฐมวัยของประเทศไทย พบว่า เด็กวัย 0-2 ปี จะอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3 – 5 ปี จะถูกส่งเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัยต่างๆ เช่น โรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจากผลการศึกษาของสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2550 พบว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัยของท้องถิ่นยังมีอุปสรรคจากการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ด้วยข้อจำกัดของคุณภาพและมาตรฐานของการจัดการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดใหญ่และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดเล็ก ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ดูแลเด็ก ไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดทำหลักสูตรเท่าที่ควร และปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับสภาพจริง


ดังนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้ใน “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” และการจัดการเรียนรู้ของครู (พี่เลี้ยง) จึงมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการพัฒนาศักยภาพของเด็กช่วงปฐมวัย รวมไปถึงการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเรื่องไม่เล็ก...ของเด็กเล็กปฐมวัย thaihealthการเรียนรู้ ตลอดจนทักษะและทัศนคติของครูและพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมสำคัญให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สมอง การเรียนรู้ บุคลิกภาพ นำไปสู่การส่งเสริมให้พวกเขาได้เป็นพลเมืองที่มีทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21


โดยสิ่งสำคัญคือ การใช้กระบวนการ “สื่อ+พื้นที่สร้างสรรค์” เป็นเครื่องมือนำไปสู่การเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้าน เพื่อให้เด็กๆ กลายเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยเน้นพัฒนาการและการสร้างคุณสมบัติที่เหมาะสมกับช่วงวัย ทั้งด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ สติปัญญา ความฉลาดรู้เท่าทัน และการพัฒนาสุขภาวะที่ดีในทุกมิติของเด็กๆ เพื่อให้พวกเขาได้กลายไปเป็นพลเมืองคุณภาพของประชาคมโลกต่อไป


ดังนั้น สสส.จึงขอเชิญชวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศมาร่วมเป็นเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างสรรค์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของท่านให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งความสุข ภายใต้ชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”เปิดรับข้อเสนอโครงการตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2558 นี้


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) โทร 0-2343-1500 ต่อ 1602 – 1609 โทรสาร 0-2343-1501 /e-mail : ตรีทิพย์นิภา [email protected] /ฤทธิรงค์ [email protected] หรือดาว์นโหลดแบบฟอร์มการขอรับทุนได้ที่ http://goo.gl/GgtGom


 


 


ที่มา : www.facebook.com/Section6TH (สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส.)


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ