เรื่องของหัวใจ ยังไงก็สำคัญ

เรื่องโดย ฐิติพร โยทาพันธ์ Team Content www.thaihealth.or.th


ข้อมูลจาก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, Infographic บุหรี่ภัยร้าย ทำลายหัวใจ, RAMA CHANEL ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพดี, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


ภาพโดย ชยวี ลิ้มถาวรรักษ์ Team Content www.thaihealth.or.th  และแฟ้มภาพ


เรื่องของหัวใจ ยังไงก็สำคัญ thaihealth


            “โอ๊ย หัวใจอ่อนแอนัก แก้ไขกันซักนิด มาลองกันมะ มาฟิตหัวใจกันหน่อย ยิ่งเอ็กเซอร์ไซส์บ่อย ๆ ยิ่งเติมคำว่ามัดใจ” รู้หรือไม่ว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจมากถึง 9.2 ล้านคน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โรคหัวใจเป็นหนึ่งในกลุ่มโรค NCDs หรือกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง และเพื่อให้โลกตระหนักถึงภัยอันตรายจากโรคหัวใจจึงกำหนดให้ทุกวันที่ 29 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันหัวใจโลก”


รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2559 พบทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 57 ล้านคน โดยโรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 9.2 ล้านคน  สำหรับประเทศไทยในปี 2560 พบว่า คนไทยมีแนวโน้มการป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดถึง 326,946 คน และเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดถึง 20,746 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 57 คน และมีแนวโน้มการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ


สาเหตุส่วนใหญ่ของการป่วยด้วยโรคหัวใจมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา พฤติกรรมเสี่ยงส่งผลมากที่สุดคือ “การสูบบุหรี่” เพราะสารพิษกว่า 7,000 ชนิดในบุหรี่ จะขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้หัวใจได้รับออกซิเจนน้อยไม่เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ซึ่งสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในบุหรี่ จะเพิ่มความหนืดของเกล็ดเลือดและทำให้เกิดลิ่มเลือด  เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลัน


นอกจากพฤติกรรมเสี่ยงการสูบบุหรี่แล้ว ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ มีภาวะความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดผิดปกติ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ภาวะอ้วนลงพุง ไม่ออกกำลังกาย ไม่กินผักและผลไม้ และมีความเครียดสะสม


เรื่องของหัวใจ ยังไงก็สำคัญ thaihealth


อาการเหล่านี้บ่งบอกได้ว่าเราอาจเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ มาเช็กกัน


  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • พูดลำบาก ปากเบี้ยว
  • มีการแขน ขา ชาใช้งานไม่ได้ อ่อนแรงเฉียบพลัน
  • ปวดหน้าอกข้างซ้ายร้าวไปถึงแขนซ้าย


เรื่องของหัวใจ ยังไงก็สำคัญ thaihealth


         


ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อหัวใจว่า “จะเห็นได้ว่าผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่มีอัตราที่ลดลง แต่นักสูบหน้าใหม่กลับเพิ่มขึ้น มีความคิดที่ว่าถ้าอยากเลิกบุหรี่ต้องหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน อันนี้ถือว่าเป็นความคิดที่ผิด เพราะในบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินและสารพิษอื่น ๆ อีกมากมายหากร่างกายได้รับสารพิษเป็นเวลานานจะส่งผลร้ายโดยตรงทั้งตัวคนสูบและคนรอบข้าง"


ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า บุหรี่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งการรับควันบุหรี่มือสองยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ โดยการรับควันบุหรี่มือสองเพียง 30 นาที ก็เกิดอันตรายต่อเยื่อบุหลอดเลือด และทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตจากจากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองปีละกว่า2,615 คน


การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ


  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว และอาหารเค็มจัด
  • กินอาหารที่มีไขมันน้อย
  • ลดอาหารหวานจัด เค็มจัด
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


เรื่องของหัวใจ ยังไงก็สำคัญ thaihealth


           


โรคหัวใจและหลอดเลือดป้องกันได้ หากทุกคนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ออกกำลังกายให้มากขึ้น สสส. และภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนและรณรงค์ให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากกลุ่มโรค NCDs ลดการเสียชีวิต สร้างสุขภาวะที่ดีให้สังคมไทย คาสิโนออนไลน์เครดิตฟรี


           

Shares:
QR Code :
QR Code