เรียน เล่น วิถีเดิมกับโรงเรียนใต้ต้นตะขบ

          โรงเรียนใต้ต้นตะขบช่วยกล่อมเกลาให้เด็กๆ เห็นคุณค่า และวิถีชีวิตในบ้านเกิดของตนเองที่นี่มักจะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและธรรมชาติอย่างเช่นทำขนมพื้นบ้าน การทำของเล่น อีกสถานที่หนึ่งใน ต.ทุ่งกุลา อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

 /data/content/19430/cms/dfhmorswxy46.jpg    

     แม่เหรียญ สิงห์โพนงาม อายุ 53 ปี เป็นผู้เฒ่าผุ้แก่ในหมู่บ้านที่มาช่วยสอนวิถีต่างๆ ให้กับเด็กๆที่โรงเรียนใต้ต้นตะขบแห่งนี้ แม่เหรียญสอนหลายอย่างให้กับเด็กๆทั้งสอนทำไม้ตุง หุ่นฟาง ทำขนม ห่อข้าวต้ม ตำเมี่ยง

     แม่เหรียญเล่าว่า “เด็กๆ ก็สิถามว่าขั้นตอนของตำเมี่ยงเฮ็ดจังได๋แหน่ กะบอกว่าตอนแรกกก็ใส่บักพริก ตำหอม แล้วใส่เกลือ ตำให้ละเอียด เอาบักยมใส่ตำบักยมละเอียดแล้วก็เอากล้วยใส่ แล้วเอาน้ำปลาร้าใส่”

     การพี่แม่เหรียญได้มามีพื้นที่มาสอนเด็กๆตรงนี้ ทำให้ตัวแม่เองรู้สึกภูมิใจดีใจที่มีเด็กๆ ให้ความสนใจ รู้ซักจักถาม เราได้บอกไปแล้วจำได้เมื่อโตขึ้นก็จะได้นำไปบอกลูกบอกหลานได้

     “ได้บอกไปแล้วจำได้ ใหญ่มาก็สิได่ไปบอกลูกบอกหลานต่อเวลายายตายไปแล้วก็สิมีคนสอนไปเรื่อยๆ เผยแพร่ไปเวลายายตายไปแล้วก็สิมีคนสอนไปเรื่อยๆ เผยแพร่ไป”แม่เหรียญบอก

/data/content/19430/cms/jkmnqv136789.jpg/data/content/19430/cms/acejpqsvwy14.jpg

          ด.ญ.ศิริกัลยา ภูต้ายผาหรือ น้องป๊อป เป็นเด็กในชุมชนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนใต้ต้นตะขบบ่อยๆ อธิบายขั้นตอนการทำบัวลอยให้ฟังว่า “เราก็เก็บดอกไม้สีที่เราต้องการ เช่นดอกอัญชัน เราก็เอามาคั้นให้เป็นน้ำแล้วเอามาผสมกับแป้งที่เตรียมไว้ ก็จะกลายเป็นแป้งสีดอกอัญชันแล้วเราก็มาปั้นแป้งให้เป็นวงกลม แล้วพักแป้งทิ้งไวเอาหม้อที่เตรียมน้ำไว้มาตั้งไฟขึ้น คนกลับกะทิให้มันเข้ากันแล้วเทแป้งที่เราปั้นลงไปคนให้เข้ากันก็ได้ขนมบัวลอยแล้วค่ะ”

     น้องป๊อปยังบอกอีกว่า “รู้สึกสนุกและดีใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หลายคนค่ะ”

     ส่วน ด.ญ.สุจิตรา สอนสระครู หรือ น้องฟ้า บอกว่า กิจกรรมที่ทำก็มีหลายอย่าง เล่นเกมส์ ทำขนมทำน้ำยาล้างจาน ทำหุ่นฟาง ทำผ้าเช็ดหน้า แต่ชอบการวาดภาพมากที่สุดเพราะมันสนุกและได้ใช้จินตนาการความเพลิดเพลิน ได้ฝึกทักษะมีความคิดสร้างสรรค์ ฝึกสายตา ฝึกมือ

     พื้นที่โรงเรียนใต้ต้นตะขบแห่งนี้ ได้สอนให้เด็กๆ ได้รู้จักวิถีเดิมของบ้านตนเองมีการสะสมการเรียนรู้ทักษะชีวิตทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เกิดความรักบ้านตนเอง อีกแนวความคิดในการจัดพื้นที่เหล่านี้ก็ไม่ได้ต่างกันมากนักเป็นพื้นที่ที่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ตนเอง เรียนรู้วิถีชีวิตและการอยู่ร่วมกัน

 

 

     ที่มา : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยสวิชญา ชินพงศธร

Shares:
QR Code :
QR Code