เยาวชนสัตหีบ สร้างความสมานฉันท์ ป้องปรามยาเสพติด

เยาวชนสัตหีบ สร้างความสมานฉันท์ ป้องปรามยาเสพติด

จากอดีตที่ผ่านมานโยบายมักถูกกำหนดจากเบื้องบนและไม่รับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ จึงนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและบาดหมางในชุมชน เครือข่ายสมานฉันท์อำเภอสัตหีบ จึงได้จัดทำโครงการสมานฉันท์ขึ้นด้วยการอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่นรวมถึงมีจิตอาสาในการร่วมกันพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องปัญหายาเสพติดที่เป็นมหันตภัยและเป็นตัวการสำคัญอยู่ในขณะนี้

โดยเมื่อเร็วๆนี้ นายชายชาญ เอี่ยมเจริญ นายอำเภอสัตหีบ ได้เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรม “เวทีสร้างสำนึกพลเมืองแก่เยาวชนในพื้นที่สัตหีบ” โดยเครือข่ายสมานฉันท์อำเภอสัตหีบ เพื่อส่งเสริมสร้างค่านิยมให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นผู้มีจิตอาสาและมีสำนึกรักท้องถิ่นร่วมกัน ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ จึงได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าจัดทำโครงการจิตอาสาป้องปรามยาเสพติดให้ความรู้แก่เยาวชนในพื้นที่สัตหีบรวม 3 โรงเรียนเป็นโรงเรียนนำร่องโดยมี นางอภิรมย์ เป็นสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสัตหีบ คณะครู อาจารย์ในพื้นที่สัตหีบ ตลอดจนผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะวิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้าร่วมในพิธีเปิดในวันนี้ด้วยเป็นจำนวนมาก

นายสมใจ แสงทองนายสมใจ แสงทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลสัตหีบ กล่าวว่า เนื่องจากอำเภอสัตหีบได้เกิดความขัดแย้งทางด้านการเมืองท้องถิ่นที่และการเมืองท้องถิ่นอย่างรุนแรง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2551 และทีมงานจากสถาบันพระปกเกล้า ได้ร่วมกับผู้อำนวยการสันติศึกษาจากสถาบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นนำโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ พร้อมคณะได้ดำเนินการนำเข้าสู่กระบวนการสานเสวนารวม 5 ขั้นตอน ได้แก่ การพบปะของ 3 ภาคส่วน ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน และการเมืองท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความต้องการก่อนการอบรม ขั้นตอนที่ 3 การสนทนาจากกลุ่มย่อยทั้ง 9 หมู่บ้านในชุมชนขั้นตอนที่ 4 การเข้าสู่เวทีเสวนา 3 ภาคส่วนและการลงนามข้อตกลงร่วมกัน และขั้นตอนสุดท้าย การตั้งคณะทำงาน 3 ภาคส่วนจากภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคท้องถิ่น

โดยทุกฝ่ายตกลงและมีความเห็นพ้องต้องกันว่า กระบวนการสานเสวนาที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เป็นวิธีการที่ดี จึงควรจัดให้มีการสาวเสวนาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการนำของ นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในขณะนั้นให้ความเห็นชอบร่วมกับนายอำเภอสัตหีบตลอดจนผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมจัดโครงการนี้ขึ้น โดยขอความร่วมมือจาก 3 สถาบันการศึกษาจากโรงเรียนบ้านนา โรงเรียนอนุบาลบ้านเตาถ่าน และโรงเรียนวัดเขาคันธมาทน์ เป็นโรงเรียนนำร่องจัดโครงการขึ้นในครั้งนี้

นายชายชาญ เอี่ยมเจริญนายชายชาญ เอี่ยมเจริญ นายอำเภอสัตหีบ กล่าวว่า โครงการสมานฉันท์ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2551 ซึ่งเป็นโครงการที่สถาบันพระปกเกล้า โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ และทีมงานจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นนำเข้ามา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ตั้งแต่ปลายปี 2551

“โครงการนี้เข้ามาโดยมีเป้าหมายมุ่งส่งเสริมความสมานฉันท์ และสุขภาพกายและจิตของคนในชุมชน จึงเห็นด้วยและให้การสนับสนุนเสมอมาและลักษณะการจัดกิจกรรมด้วยการเปิดเวทีให้คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน จึงนับเป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้องตรงจุดและที่สำคัญเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนตลอดไป” นายอำเภอสัตหีบ กล่าว

นายอำเภอสัตหีบ บอกว่า เมื่อปลายปี 2552 ภายหลังการเปิดเวทีปรึกษาหารือหลายรอบ ก็ได้คณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาคณะหนึ่ง ซึ่งนำโดย นายสมใจ แสงทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 และมีคณะทำงานประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกลูกบ้านทั้ง 9 หมู่ ในตำบลสัตหีบ ร่วมกันเป็นกลุ่มเครือข่ายสมานฉันท์ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามัคคีแก้ไขปัญหาและสร้างความสามัคคีในชุมชน ดังนั้น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เสียสละ เป็นผู้ที่ทำงานเพื่อสังคม บางครั้งไม่มีงบประมาณสนับสนุน แต่เป็นการกระทำที่ออกมาจากใจ จากจิตอาสา ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับโครงการในวันนี้คือ “จิตอาสาป้องปรามยาเสพติด” ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งประเทศใดมีผู้ที่มีจิตอาสามากประเทศนั้นก็จะเจริญ

เยาวชนสัตหีบ สร้างความสมานฉันท์ ป้องปรามยาเสพติด เยาวชนสัตหีบ สร้างความสมานฉันท์ ป้องปรามยาเสพติด

หากมีจิตอาสาตั้งแต่เด็กและเยาวชนด้วยแล้ว ยิ่งส่งผลให้ประเทศนั้นเจริญรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว โครงการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องพิษภัยยาเสพติด ในโครงการจิตอาสาป้องปรามยาเสพติดที่มีเป้าหมายสำคัญคือเด็กและเยาวชนนั้น จึงนับว่าได้เล็งเห็นผลลัพธ์ต่อเนื่องในอนาคต เกี่ยว กับพิษภัยยาเสพติดที่จะส่งผลต่อลูกหลานชาวสัตหีบ จึงนับได้ว่าผู้ดำเนินโครงการนี้เป็นผู้มองการณ์ไกล เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างสรรค์สังคมที่ดี สร้างสังคมสัตหีบที่น่าอยู่ให้แก่ลูกหลาน เพราะสังคมที่ดีที่น่าอยู่สร้างได้ยากและอาจจะไม่ได้สำเร็จในรุ่นเดียว จึงต้องฝากให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ร่วมกันสานต่อให้สังคมที่น่าอยู่ด้วยตัวของพวกเขาต่อไป

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

Shares:
QR Code :
QR Code