เยาวชนบ้านม้าร้อง ร่วมรับมือภัยพิบัติ

เยาวชน 'บ้านม้าร้อง' บางสะพานชวนผู้ใหญ่ฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติ


เยาวชนบ้านม้าร้อง ร่วมรับมือภัยพิบัติ thaihealth


ที่ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน ชาวบ้านทั้งเด็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ กว่า 40 คน มารวมตัวกันตามที่ นัดหมายกันไว้ วันนี้ชาวบ้านม้าร้อง ต.พงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะร่วมกันเรียนรู้ ฝึกฝน และซักซ้อม เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาเป็นวิทยากรหลักในการให้ความรู้


บ้านม้าร้อง มักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วม แทบทุกปี เนื่องจากเป็นที่ลุ่ม ยามใดฝนตกติดต่อ กันหลายวัน ก็จะเกิดน้ำฝนสะสม น้ำจากคลองบางสะพานจะล้นตลิ่ง บวกกับน้ำทะเลหนุนจะทำให้เกิดการระบายช้าลง น้ำจึงเอ่อท่วมบ้านเรือน เรือกสวนที่ทำกิน และถนนเข้าหมู่บ้าน สร้างความเสียหายและไม่อาจติดต่อกับภายนอกได้ ชาวบ้านจึงร่วมกันเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือ กับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอีก


เยาวชนบ้านม้าร้อง ร่วมรับมือภัยพิบัติ thaihealthกิจกรรมเตรียมความพร้อมดังกล่าว เป็นหนึ่ง ในหลายๆ กิจกรรมตามโครงการ 'เยาวชนคนม้าร้อง ชวนพี่น้องรับมือภัยพิบัติ (น้ำท่วม)' ซึ่งเป็นหนึ่ง ในหลายๆ โครงการย่อยในชุดโครงการชุมชน คนรุ่นใหม่ เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุน โดยส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น


น้องเกด หรือ พจนาฏ ยงยศ ผู้เป็นหัวหน้า โครงการเยาวชนคนม้าร้อง ชวนพี่น้องรับมือ ภัยพิบัติ เล่าว่า เธอได้ชักชวนเพื่อนๆ เยาวชน พี่ๆ และน้องๆ ในหมู่บ้านประมาณ 30 คน มาเป็น อาสาสมัครหรือคนทำงานนี้ร่วมกับเธอ จากนั้น ก็แยกย้ายกันไปหาข้อมูลภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน ว่าแต่ละครอบครัวได้รับผลกระทบ อย่างไรบ้าง


"เราไปชักชวนเขา ชวนเขาคุยเรื่องน้ำท่วม และบอกว่า น้ำท่วมนะ หนูอยากแก้ไขไม่ให้มันท่วมอีก หรือถ้าจะท่วม เราก็พร้อมจะรับมือกับมัน มาร่วมอบรมกับหนูนะ คือเราอยากจะได้รับความร่วมมือกับผู้ใหญ่เยอะๆ" น้องเกด ว่า


จากการลงไปพูดคุยกับชาวบ้าน พบว่า บ้านม้าร้องมีทั้งหมด 7 คุ้ม ประสบปัญหาน้ำท่วม ซ้ำซาก 5 คุ้มบ้าน แต่จะท่วมหนักๆ มีอยู่ 2 คุ้ม แต่ละปีจะมีครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจนสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินประมาณ 30 ครัวเรือน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ กลุ่มเยาวชนคนทำโครงการได้คืนข้อมูลแก่ชุมชน และเสนอให้ทำแผนรับมือภัยพิบัติ โดยนำเข้าไปบรรจุไว้ในแผนชุมชนด้วย การทำงานของกลุ่มเยาวชนบ้านม้าร้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยสังเกตได้จากการมีส่วนร่วมของชาวบ้านทุกเพศทุกวัยที่มาร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนานครื้นเครง ความสำเร็จส่วนหนึ่งน่าจะ มาจากการได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากผู้นำหมู่บ้าน รวมทั้งรากฐานในการจัดการชุมชนที่เข้มแข็ง อันเป็นต้นทุนสำคัญที่ช่วยให้ทุกๆ กิจกรรมในบ้านม้าร้องประสบความสำเร็จ


บ้านม้าร้องมีโครงสร้างบริหารจัดการชุมชน ที่น่าสนใจ คือมีสภาผู้นำชุมชนคอยขับเคลื่อนให้ชุมชนเดินหน้าไปในทิศทางที่ควรจะเป็น ซึ่งสมาชิกสภาผู้นำชุมชน จะมาจากตัวแทนคุ้ม ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ตัวแทนจากผู้สูงอายุ ตัวแทนจากกลุ่มเยาวชน รวมทั้งหมด 34 คน โดยน้องเกด พจนาฏ หัวหน้าโครงการเยาวชนคนม้าร้อง ก็เป็น หนึ่งในสมาชิกสภาผู้นำชุมชนด้วย


"เวลาหนูจะทำอะไร ก็จะขอความคิดเห็นจากที่ประชุมสภาก่อนทุกๆ วันที่ 3 ของเดือน อย่างโครงการภัยพิบัตินี้ เวลาไปประชุมมาก็จะบอกให้รู้ หรือถ้ามีอะไรเกินกำลังของเรา ก็จะปรึกษากันหรือขอความช่วยเหลือไปทางผู้ใหญ่ ให้ช่วยอีกทางหนึ่ง" น้องเกด เล่า


ทุกกิจกรรมจึงราบรื่น เหมือนมีลมใต้ปีกคอยพยุงให้กลุ่มเยาวชนบ้านม้าร้องมีความสุข สนุกกับการทำงาน ทำให้แต่ละกิจกรรมประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างน่าพอใจ ซึ่งคนที่อยู่เบื้องหลัง ก็คือ ประวิทย์ รัตนพงศ์ ผู้ใหญ่บ้านม้าร้อง นั่นเองเยาวชนบ้านม้าร้อง ร่วมรับมือภัยพิบัติ thaihealth


"บางเรื่องที่เป็นทางการ เช่น การประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆ จากภายนอกหมู่บ้าน อย่าง ปภ.ที่มาช่วยอบรมชาวบ้านในครั้งนี้ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่เป็นคนช่วยอำนวย ความสะดวกให้ หากให้เด็กๆ เยาวชนทำกันเองอาจจะล่าช้า เพราะหน่วยงานก็ต้องย้อนมาถามผมอีก" ผู้ใหญ่ประวิทย์ กล่าว และชี้แจง เพิ่มเติมว่า สมาชิกสภาผู้นำชุมชนที่เป็นเยาวชนและรับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการรับมือภัยพิบัตินี้ จะรายงานทุกครั้ง หากมีกิจกรรมผู้ใหญ่บ้านในฐานะประธานสภาฯจะมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนช่วยทำงานด้วย


ผลของการจัดโครงการการบริหารจัดการชุมชนที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกกลุ่มในหมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ปัจจุบันบ้านม้าร้องเป็นหมู่บ้านต้นแบบ เป็นสถานที่ดูงาน โดยเฉพาะเรื่องสภาผู้นำชุมชน และยังเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องธนาคารชุมชนที่มีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 17 ล้านบาทอีกด้วย


ที่สำคัญบ้านม้าร้อง คือหมู่บ้านตัวอย่างที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ใช้ศักยภาพตนเองทำงานเพื่อชุมชนตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งต่อไป "เยาวชนคนม้าร้อง" ที่ชวนพี่น้องในหมู่บ้านเตรียมรับมือภัยพิบัติ-ในวันนี้ จะเป็น แกนหลักสำคัญในการบริหารจัดการชุมชนรุ่นต่อไป


"การทางานของกลุ่มเยาวชนบ้านม้าร้องถือว่าประสบความสาเร็จอย่างดียิ่ง โดยสังเกตได้จากการมี ส่วนร่วมของชาวบ้าน ทุกเพศทุกวัย  ที่มาร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนานครื้นเครง"


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ภาพประกอบจากเฟสบุ๊คสภาผู้นำชุมชนบ้านม้าร้อง 

Shares:
QR Code :
QR Code