เมื่อ…เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก

ที่มา : ไทยโพสต์


ภาพโดย สสส.


เมื่อ...เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก thaihealth


เด็กไทยครองแชมป์ใช้มือถือ-อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก ผู้ใหญ่เปิดใจกว้างเข้าใจและยอมรับเยาวชน


สสส. สำนักพิมพ์ bookscape จัดเวทีสาธารณะ "Why We Post" สถิติเด็กไทยครองแชมป์สถิติใช้โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนเข้านอน จักรวาลของเด็กกว้างไกลกว่าผู้ใหญ่มาก รสนิยมวัยรุ่นแต่ละยุคเปลี่ยนแปลง Role Model ที่แตกต่างกัน ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและยอมรับเยาวชน อย่าใช้วิธีครอบความคิดบังคับให้เรียนตามที่พ่อแม่ต้องการ ควรให้ชุดข้อมูลเยอะๆ เพื่อให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเอง


เวทีสาธารณะ "Why We Post: เข้าใจโลก ใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต" ร่วมแลกเปลี่ยนโดย: นพ.ประวิทย์ สี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อ.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหาร Blognone เกรียงไกร วชิรธรรมพร นักเขียนบทและผู้กำกับซีรีส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักจัดรายการเช้าทันโลก FM 96.5


เมื่อ...เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก thaihealth


กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักจัดรายการเช้าทันโลกทางสถานีวิทยุ FM 96.5 กล่าวว่า วิธีสื่อสารกับคนสองวัยให้เข้าใจกันอย่างดีต้องอ่านหนังสือ 2 เล่ม WHY WE POST How the World Changed Social Media ส่องวัฒนธรรมโซเชียล มีเดียผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล โดย Daniel Miller และคณะ ฐณฐ จินดานนท์ แปล และหนังสือ It's Complicated the social lives of networked teens เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต danah boyd แปลโดย ลลิตา ผลผลา ขณะนี้หัวหน้า คสช.มีความห่วงใยเด็กไทยติดโทรศัพท์มือถือและมีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก ใช้โทรศัพท์มือถือตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ส่งผล กระทบทางด้านอารมณ์ มีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพื่อสร้างความเข้าใจกันระหว่างผู้ใหญ่และเด็กเป็นการทลายกำแพง


เมื่อ...เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก thaihealth


เกรียงไกร วชิรธรรมพร นักเขียนบทและผู้กำกับซีรีส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น เล่าว่า เริ่มแรกทำซีรีส์เรื่องวัยรุ่นแล้ววัยรุ่นไม่ยอมดู ไม่มีเรตติ้ง ก็ต้องทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นทำไมถึงทำซีรีส์แล้วล้มเหลว ในช่วงที่ทำเรื่องฮอร์โมนวัยว้าวุ่นอายุ 28 ปี ขณะนี้ผมอายุ 34 ปีแล้ว วัยรุ่นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา "ผมบอกตรง ๆ ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจวัยรุ่น เราต้องเข้าไปทำความเข้าใจวัยรุ่นตลอดเวลา เราต้องรับมือ Social Media ที่เด็กเข้าไปใช้เพื่อระบายอารมณ์ ด่าคนโน้นคนนี้ คนก็เข้าไปประจาน ต่อยอดความคิดเห็น"


วิธีคิดของเด็กวัยรุ่นใน กทม.และต่างจังหวัดมีความแตกต่างกัน กก.ตัดสินงานประกวดวิดีโอ Logic วัยรุ่นตัดต่อเป็น Chanel ของตัวเอง ทำงานตามคาแรคเตอร์ เด็ก กทม.ลอกเลียนแบบ content คนเมือง รายการฝรั่งหรือรายการดังมาก ๆ ในขณะที่เด็กต่างจังหวัดสร้าง content จริงใจ ไม่ได้เน้นรูปแบบ แม้แต่บางฉากบางตอนก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แม่เรียกเด็กให้มากินข้าว เด็กก็ตะโกนบอกแม่ว่าขออีกแป๊บเดียว เด็ก Share ภาพรวม IG Story วัยรุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านี้เป็น Content ฝีมือของเด็กเหล่านี้มียอดวิวสูงกว่าภาพยนตร์ซีรีส์ที่ผู้ใหญ่ทำ ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดหรือถูก แต่เด็กเหล่านี้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง เราผู้ใหญ่ไม่มีทางคิดได้ เราไม่มีทางทำ content ในแบบอย่างที่เด็กทำ แต่เด็กทำแล้วเขาโดนใจกันเอง ได้เห็นชีวิตของเพื่อนที่ไม่ได้ไกลไปจากชีวิตจริงของพวกเขาเหมือนกับการส่องดูชีวิตเพื่อนบ้านว่าเขาทำอะไรกันอยู่


เรื่องของจินตนาการของเราเมื่อสมัยเป็นเด็กชั้น ม.1 เล่นดนตรี ดีดกีตาร์ กลายเป็นแบบอย่างของไลฟ์สไตล์ ชั้น ม.1-ม.6 คาบเกี่ยวกับ Social Media เด็กกลุ่มหนึ่งใช้ Social Media อย่างสะเปะสะปะกันมาก ผ่านเวลา 5 ปี เด็กอีกกลุ่มหนึ่งเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป จำคำพูดได้ไหมว่าเดี๋ยวจะไปฟ้องครูอังคณา เป็นการะบายความรู้สึกผ่าน Social Media


เรื่องของรสนิยมไม่เหมือนกันในแต่ละยุคแต่ละสมัย รุ่นพ่อแม่จะชื่นชมวงดนตรีสุนทราภรณ์ อรวี สัจจานนท์ รุ่นเดียวกับผมก็จะชอบเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ บอดี้สแลม รุ่นเด็กก็จะชอบบอยทีเจ พ่อแม่สงสัยว่าลูกฟังเพลงอะไรที่เสียงดังมาก ๆ แต่ละคนเติบโตในบริบทที่แตกต่างกัน พ่อแม่ฟังเพลงสุนทราภรณ์ที่ทุกอย่างบอกอยู่ในเนื้อหา ในขณะที่คนรุ่นผมเห็นเบิร์ดเป็น Role Model ดี เท่ ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อยากเป็น youtuber ในขณะที่คนรุ่นเก่าไม่ใช่ เมื่อย้อนเวลากลับไปคนรุ่นเก่าไปเดินเล่นอยู่ย่านคลองถม ถ้าใครอยากเล่นเกมเก่ง ๆ ก็ต้องเข้าไปที่ MBK ดูว่าเขาเล่นเกมกันอย่างไร ด้วย Role Model คนนี้เก่งกว่าด้วยบริบทสังคม youtube ที่มียอดวิวสูง ๆ กลายเป็นช่องทางอาชีพในการหาเงินด้วย


โลกอยู่ยากขึ้น เพราะเรากำหนดคำตอบตายตัว หาคำนิยาม คนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อ่อนไหวตามสัญชาตญาณ เราใช้ Social Media มากไปเข้าไปครอบงำและหลอนเราเอง เราควรได้ฟังเพลงที่แตกต่างที่เราเลือกได้ ความอยู่ยากอันเนื่องมาจากเราถูกคัดกรอง ทำงานไปฟังเพลงไปด้วยก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเราอยากฟังเพลงใหม่ ๆ ไม่ได้แล้วเราจะแชร์เพลงใหม่ก่อนกินข้าวดีไหม เราอยากจะเป็นคนที่ยอมรับได้ในสายตาของคนอื่น มีอยู่ช่วงหนึ่งผมปิดรับข่าวสารเป็นเวลา 3 เดือน หยุดการติดต่อผ่าน facebook 3 เดือน ได้มีเวลาอ่านหนังสือมากมาย พอกลับมาอ่าน facebook เพื่อนเราแต่งงาน ก็ต้องยอมรับว่า facebook ไม่ได้มีอะไรดีหรือไม่ดี 100% ทุกอย่างต้องมีความรับผิดชอบ มีการคัดกรอง ใช้วิจารณญาณในการจัดการ เราต้องรู้เท่าทัน ต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา คนยุคใหม่อยู่ยาก เหนื่อยกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ต้องมีวิธีการจัดการกับความรู้เหล่านั้นให้ได้


เมื่อ...เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก thaihealth


อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหาร Blognone ตั้งข้อสังเกตว่า วัยรุ่นมีความต้องการเหมือนเดิม เปลี่ยนแต่ platform วัยรุ่นต้องการมีพื้นที่ Social ของตัวเอง แต่ก่อนมีพฤติกรรมการเดินห้างสรรพสินค้า เดินวนไปเวียนมาไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เด็กอีกประเภทหนึ่งพ่อแม่ไม่ให้ออกจากบ้าน วัยรุ่นก็ต้องหาที่ระบายออก ยุคนี้ facebook กลายเป็นที่ระบายออก เด็กต้องการหาที่เล่นซึ่งไม่มีพ่อแม่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีทวิตเตอร์ อินสตาแกรม youtube


"ผมใช้ facebook ตั้งแต่ปี 2006 ตอนนั้นยังไม่มี Iphone ต้องใช้คีย์บอร์ดพิมพ์ วัยรุ่นยุคนี้เกิดมาก็รู้จัก Smart Phone กันแล้ว ใช้กล้องถ่ายภาพตัวเองและ share ส่งรูปโป๊ต่อ ๆ กันเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม snapchat ต่อไปเรื่อย ๆ เราต้องย้อนเวลากลับไปทบทวนว่าสมัยที่เราเป็นเด็กเราทำอะไรกันบ้าง นั่งเขียนนั่งวาดรูปในเศษกระดาษแล้วปาให้เพื่อนส่งต่อ บางคนก็ยังเก็บกระดาษไว้ บางคนก็ไม่ได้เก็บกระดาษไว้ การสะท้อนวิธีคิดสื่ออารมณ์ตัวตน มาร์ค ซัคเคอร์ เบิร์ก ใช้ Reduce ลดข้อมูล ด้วยทิศทางของโลก Social จะลดการนำเสนอข้อมูลให้น้อยลง


การที่เด็กเล่น Dark Social กันเป็นกลุ่ม 5 คน 8 คน 10 คน นำบทความแชร์กันในไลน์ แต่กลุ่มอื่นตามเข้าไปดูไม่ได้ การใช้ Social แสดงออกถึงตัวตน เกมติ๊กต๊อก มีการโหลดข้อมูลมาเป็นวิดีโอเลื่อนข้อมูลไปเรื่อย ๆ ทุกคลิปเป็นเด็กต่างจังหวัดเปิดเพลง ผู้ใหญ่ต้องทำใจเมื่อเข้าไปดูว่าเด็กเขาทำอะไรกันอยู่ เด็กต้องการพื้นที่ในการแสดงออก ดีดกีตาร์ให้เพื่อนดูทั้งโรงเรียน วัยรุ่นต้องการที่จะได้รับการยอมรับตามยุคสมัยของเขาเอง


เมื่อ...เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก thaihealth


อ.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ด้วยมุมมองของนักสังคมวิทยาต่อ social media ทำประโยชน์ให้เราศึกษาเรื่องสื่อได้ มีการทำงานด้าน IT การทำไมโครซอฟท์ทำให้ Intel วิชามานุษยวิทยามีคุณูปการต่อการศึกษา สังเกตการณ์มีส่วนร่วมของความหลากหลาย การศึกษาเชิงเปรียบเทียบใน 9 ประเทศ เขตเมือง เขตชนบท เห็นความแตกต่างและความหลากหลาย facebook ในแต่ละประเทศให้คำอธิบายด้วยการใช้ชื่อสังคมออนไลน์ มีฐานความคิด


มิลเลอร์เป็นนักวิจัยคนแรกที่ใช้แว่นตาของนักมานุษยวิทยา นำผลงานของคณะนักวิจัยจาก University College London ที่ถ่ายทอดประสบการณ์การลงพื้นที่ศึกษา 9 ประเทศทั่วโลก เพื่อสำรวจการใช้ Social Media อินเทอร์เน็ตจนได้คำตอบในบริบทในเรื่องงาน การศึกษา ความสุข ความสัมพันธ์ไปจนถึงประเด็นที่ลึกซึ้งในเรื่องการเมืองหรือความเหลื่อมล้ำส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เราได้ Post อย่างไรบ้าง "มิลเลอร์สนใจการศึกษาของโลกดิจิทัล วิธีคิด วัตถุสภาวะเป็นฐานสำคัญเป็นการยกระดับงานวิจัย แทนที่จะมองเรื่องเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกอย่างเดียว แต่เป็นการมองผ่านปรากฏการณ์ประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกัน


ทุกวันนี้เราสื่อสารแบบดั้งเดิมด้วยการพูดคุยกันต่อหน้า ใช้โทรศัพท์ในชีวิตประจำวัน เราเลือกที่จะใช้เพื่อวัดความสัมพันธ์แต่ละแบบ เราเปลี่ยนไปใช้วิธีการอย่างอื่นด้วยหรือไม่ เรื่องสื่อไม่ได้เป็นของใหม่ที่มีตอนนี้ การสื่อสารจึงมีระดับของการใช้เครื่องมือ คนทุกวัยเลือกปรับระดับความเป็นสังคมภายใน platform เดียวกัน การเลือกใช้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่ที่ว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับใคร แต่ละคนจะมี account ใน facebook ที่ใช้ชื่อหลากหลาย เพื่อแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน มีการเลือกเรื่องที่จะนำมา post ใน facebook ก็จะมีแฟนคลับเฉพาะในกลุ่มนั้น ๆ ด้วย มีทั้งประเภทฉาบฉวย ซับซ้อน กรณีที่เด็กนักเรียนแกล้งกันไปแกล้งกันมา ทาง รร.ก็ต้องเข้ามามีบทบาท จัดตั้งเป็น twitter class ใช้สื่อ Social Media ในเชิงสร้างสรรค์ได้ มีการ add ครูเป็นเพื่อน แต่บางครั้งเด็กโตก็ไม่อยากอยู่ใกล้ชิดกับครู เพราะครูก็อยู่ในระดับเดียวกับพ่อแม่


เมื่อ...เด็กไทยใช้มือถือ-เน็ตมากที่สุดในโลก thaihealth


นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในฐานะ กสทช.เสียงข้างน้อยตลอดกาล ได้รับหนังสือทั้งสองเล่มให้มาอ่านก่อนที่จะมีการจัดอภิปรายในครั้งนี้ จึงอ่านอยู่หลายรอบ ถ้าอยากรู้จัก Social Media อย่างมีโลกทัศน์จะต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ "ทุกวันนี้ผมยังขำแบงก์ชาติในการจัดการบิตคอยส์ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องสมมติ เงินทองเป็นของสมมติ บิตคอยส์ก็เป็นเรื่องสมมติเหมือนกัน แบงก์ชาติต้องยอมรับสิ่งสมมติ


การจัดการกับโลกจริงและเสมือนจริงอย่างที่เรียกว่าปากว่าตาขยิบ มี Social Media Dark ทำให้คนปกปิดตัวตน ก็ต้องถามว่ารัฐยึดในเรื่องอะไร ถ้ายังยึดระบบคิดแบบเดิม ๆ ก็เป็นเรื่องอันตราย แต่ถ้ารัฐยึดอะไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รัฐไม่ต้องการสิทธิเสรีภาพมาก แต่เน้นเรื่องความมั่นคง คนรุ่นเก่าไม่มีเวลาแล้ว ต้องใช้วิธีการเผด็จศึกเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง แต่คนรุ่นใหม่ยังมีแต้มต่อคือเวลาทอฝัน รอให้คนรุ่นเก่าตายให้หมดเสียก่อน ถ้าผู้มีอำนาจเปิดกว้าง ศึกษาร่วมกันถึงอนาคตใน 10 ปีข้างหน้า สุขทุกข์คือคนรุ่นนี้จะต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ด้วย


นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กล่าวว่า คนไทยให้คุณค่าในการแสดงออกให้กลมกลืนกับสังคม เพื่อทำให้เราปลอดภัย ไม่อยากจะมีเรื่องไปฟ้องร้องที่ศาลปกครองสูงสุด ขอใช้ชีวิตอย่างสบาย ๆ จะดีกว่า "Connect to the World ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการดักฟังเราตลอด 24 ชั่วโมง การมี Line ทำให้ Message เป็น platform facebook มี marketplace คนจะนั่งอยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือตลอด 20 ชั่วโมง ตราบใดที่ยังไม่นอน วิถีชีวิตเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่"

Shares:
QR Code :
QR Code