เปิดเรือนจำอุบลฯ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง

ที่มา : มติชนออนไลน์ 


ภาพประกอบจาก สสส.


เปิดเรือนจำอุบลฯ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง thaihealth


สสส.ร่วมเรือนจำอุบล เปิดเรือนจำ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง


เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ และ ผศ.ดร.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย หัวหน้าโครงการเรือนจำสุขภาวะ:พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง น.ส.จำปา ไขแสง นักทัณฑวิทยาชำนาญการพิเศษ ผอ.ส่วนการพัฒนาผู้ต้องขัง จ.อุบลราชธานี นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะ ประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานี นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมความเป็นอยู่หลังกำแพง ภายใต้โครงการเรือนจำสุขภาวะ:พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง


โดยโครงการเรือนจำสุขภาวะพัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ (สสส.) หลังใช้การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับเรือนจำนำร่องทั้ง 3 แห่ง อาทิ เรือนจำกลางอุบลราชธานี เรือนจำกลางอุดรธานี และเรือนจำกลางราชบุรี ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ตามแผนองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ 1.เพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ต้องขัง 2.ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคที่พบบ่อยในเรือนจำ 3.เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ 4.ผู้ต้องขังมีกำลังใจ มีพลังชีวิต คิดบวก 5.ดำรงชีวิตอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและเอื้ออาทร 6.สามารถธำรงบทบาทของการเป็นแม่ ลูก และสมาชิกในครอบครัว 7.มีโอกาสสร้างและมีที่ยืนในสังคมได้


เปิดเรือนจำอุบลฯ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง thaihealth


โดยการปรับเปลี่ยนเรือนจำให้เป็นพื้นที่ในการส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีประสบการณ์ในเชิงบวก มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ รวมถึงการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในการเตรียมความพร้อม เพื่อออกไปเผชิญและใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเมื่อคราวพ้นโทษ ซึ่งมีการฝึกฝีมือวิชาชีพตามความชอบและถนัดต่างๆมากมาย อาทิ การเพ้นท์วาดรูป ถักโครเชต์ จัดสวนถาด ศิลปะบำบัด รวมถึงมีการสอนให้ฝึกเรียน โยคะ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ จิต มีสมาธิ ไม่เครียด และคิดบวก เนื่องจากการอาศัยอยู่ภายในเรือนจำเป็นเวลานานและมีเนื้อที่จำกัดมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขังที่มีจำนวนมาก ไร้ความอิสระบางครั้งอาจเกิดสภาวะกดดัน ความเครียด ทั้งทางกายและจิตใจให้กับผู้ต้องขัง


ซึ่งจากข้อมูลสถิติตัวเลขของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวและกลับไปกระทำผิดซ้ำในช่วงเวลา 3 ปี หลังได้รับการปล่อยตัวอยู่ที่ร้อยละ 27% (คิดจากจำนวนผู้ต้องขังเด็ดขาดที่เคยกระทำผิดมาแล้วครั้งหนึ่ง) โดยคาดการว่าในอนาคตอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะสามารถลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำของไทยจะลดลงเหลือประมาณเพียงร้อยละ 10% ให้ได้ตามเป้าหมาย


เปิดเรือนจำอุบลฯ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง thaihealth


รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ หัวหน้าโครงการเรือนจำสุขภาวะ:พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง เปิดเผยว่า เราเชื่อมั่นว่าโครงการที่เรามอบให้นี้จะเป็นกำลังใจและสร้างแรงบันดาลใจ คิดบวก เสริมพลังในชีวิต มีเป้าหมาย มีวิธีคิดที่ดี จิตดี มีสุข ให้กับผู้ต้องขังทั้งที่อาศัยอยู่ภายในเรือนจำและที่กำลังพ้นโทษออกไปสู่อิสระภาพ ออกกลับไปอยู่กับครอบครัวและสังคมที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเราได้เตรียมปรับเปลี่ยน บ่มเพาะขัดเกลา จิตใจ ส่งเสริมฝึกอาชีพ สร้างต้นกล้า สุขภาวะ ที่ดีเริ่มต้นมาจากภายในเรือนจำก่อนแล้ว ซึ่งทั้งหมด ทั้งมวลที่เราได้สร้าง โครงการ สุขภาวะ ที่ดีขึ้นให้กับ ผู้ต้องขังนั้น จะสำเร็จหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับทางสังคมต้องให้และเปิดโอกาส “เราขอเพียงให้พวกเขาเรานั้นได้กลับมามีที่ยืนในสังคมได้บ้างอีกครั้งหนึ่ง” โปรดเห็นใจและอย่าปิดกั้นหรือตีตราพวกเขาไปจนตลอดชีวิตอีกเลย สิ่งนี้สำคัญยิ่งในการเป็นตัวแปรที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีตัวเลือกที่จะไม่หวนกลับไปสู่วังวนเดิมในการกระทำความผิดซ้ำขึ้นได้อีก


เปิดเรือนจำอุบลฯ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง thaihealth


นางปราณี (สงวนนามสกุล) อายุ 33 ปี ครูสอนโยคะระดับเหรียญทองแดง เปิดเผยว่า ในอดีตตนเคยเดินทางผิดพลาดและถูกต้องโทษจองจำในเรือนจำอุบลราชธานีแห่งนี้มาก่อน ปัจจุบันได้พ้นโทษออกมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว


ได้พูดเปิดใจต่อไปว่า ครั้งแรกสำหรับผู้ต้องขังที่เข้ามาอยู่ใหม่ทุก ๆ คน จะเกิดความเครียด คิดถึง ครอบครัว คิดถึงบ้าน ไร้ความอิสระ มีความกดดันเครียด ทบทวนเรื่องต่าง ๆ นอนไม่หลับ กินไม่ค่อยได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปและอยู่ในพื้นที่จำกัด เวลาล้มตัวลงนอนก็จะหงายหน้าเห็นแต่เพดานปูนสีขาว คิด เครียด ฟุ้งซ่าน สภาวะจิตใจไม่ปกติ จนกระทั่งอาจารย์ได้นำโครงการสุขภาวะเข้ามาภายในเรือนจำ ได้ทำ ได้ลองกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เริ่มที่จะไม่เครียด จิตใจดีขึ้น จนกระทั่งได้มาฝึกเรียนโยคะจึงเกิดความชอบขึ้นมาอย่างจริงจัง เพราะมันได้มีสมาธิ อารมณ์แจ่มใส มีวินัย และที่สำคัญทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง กระทั่งร่ำเรียนฝึกตามครูสอนโยคะของโครงการนี้จนเก่ง ช่ำชอง และชำนาญ จนสามารถเล่นท่ายากและท่าแอดวานซ์ได้ หลายท่า กระทั่งพ้นโทษออกมาเคยไปสมัครแข่งขันโยคะในสถานที่แห่งหนึ่งจนได้ระดับรางวัลเหรียญทองแดงมาแล้ว


เปิดเรือนจำอุบลฯ นำเยี่ยมชีวิตผู้ต้องขังหลังกำแพง thaihealth


และเล่นโยคะพัฒนาเรื่อย ๆ มา จนได้มีโอกาสตระเวนได้เข้าไปสอนโยคะ ภายในเรือนจำต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง และได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสุขภาวะนี้ด้วย ซึ่งทางตนเองก็ดีใจ และมีความยินดีที่ได้ตอบแทนคืนสู่สังคม ในการช่วยสร้างฝึกจิตสำนึกที่ดี ๆ ให้กับผู้ต้องขังอีกครั้ง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ตนอยากร้องขอทางสังคมให้ช่วยเปิดโอกาส “ขอแบ่งพื้นที่ยืนทางสังคมให้กับผู้ที่เคยต้องโทษออกมาได้ใช้ชีวิตกลับมามีตัวตนอีกครั้ง อย่าตีตราหรือบอยคอต เขาไปตลอดชีวิตเลย”


ซึ่งมีหลายคนที่อาจพลาดพลั้งหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้กระทำความผิดลงไป และได้ถูกรับโทษจองจำตัดขาดจากความอิสระ ครอบครัว คนที่รัก และสูญเสียสังคมที่เคยอยู่ไปแล้ว หากพวกเขาเหล่านั้นได้ชดใช้ในสิ่งที่กระทำลงไปแล้ว เมื่อพ้นโทษออกมา โปรดเมตตาให้โอกาสอย่ากีดกัน ขอที่ยืนทางสังคมบ้าง และอย่าตราหน้าเขาไปตลอดชีวิตอย่างที่ตนเคยเจอมาอีกเลย และขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสำหรับโครงการเรือนจำ สุขภาวะ ที่มอบสิ่งที่ดีให้กับผู้ต้องขัง ได้กลับมามีชีวิต มีความหวัง มีแรงบันดาลใจอีกครั้งหนึ่ง

Shares:
QR Code :
QR Code