เปิดเทอมใหม่จราจรหมวกส้ม…ช่วยได้

ขณะนี้โรงเรียนหลายแห่งเปิดเทอมวันแรก ภาพที่เห็นจนชินตาผู้ปกครองขับรถส่วนตัวมาส่งบุตรหลานกลับมามีให้เห็นอีกแล้ว หลังจากห่างหายไปนานในช่วงปิดเทอมปัญหาการจราจรคับคั่งรถราติดขัดจึงกลับมาเยือนคนกรุงเทพฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไหนจะรถผู้ปกครอง ไหนจะรถโดยสารสาธารณะ ไหนจะรถส่วนตัวเต็มท้องถนนไปหมด ปัญหารถติดจะแก้กันอย่างไร ใครก็แก้ไม่ตกเสียที นอกเสียจากผ่อนหนักให้เป็นเบา


เปิดเทอมใหม่จราจรหมวกส้ม...ช่วยได้


ภาระความรับผิดชอบที่คอยดูแลอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน จึงต้องตกอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


“จราจรหมวกส้ม” สังกัดกองกำกับการ 1 (สายตรวจ) กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ที่รับผิดชอบดูแลการจราจรในเมืองหลวงทั้งหมดต้องทำงานอย่างหนักยิ่งขึ้น ทั้งการรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกด้านการจราจรแถมยังต้องตักเตือนคนใช้รถใช้ถนนที่ฝ่าฝืนกฎหมายอีกด้วย


ยิ่งชั่วโมงเร่งด่วน คับคั่งไปด้วยรถรา ยังมีปัญหาอาชญากรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ประชาชนหลายคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยไว้เช่นกัน ไหนจะส่งลูก แถมยังมาสุ่มเสี่ยงกับปัญหาฉกชิงวิ่งราวจี้ปล้นขณะไปส่งบุตรหลานอีก


พ.ต.อ.วีระวิทย์ วัจนะพุกกะ ผู้กำกับการ 1 สายตรวจ บก.จร. จึงคิดโครงการ “ตำรวจหมวกส้มตรวจสัมพันธ์สถานศึกษา” ขึ้นมา เพื่อให้ตำรวจจราจรได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถานศึกษาต่างๆ เพื่อให้การทำงานควบคุมการจราจรและปัญหาต่างๆ ง่ายขึ้นในช่วงเปิดเทอม


“ตำรวจหมวกส้ม หรือตำรวจจราจรทั่วไป ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมและจัดการจราจรในเขตกรุงเทพฯ แต่ช่วงเปิดเทอม จึงเพิ่งเริ่มโครงการตำรวจหมวกส้มตรวจสัมพันธ์สถานศึกษา เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่น และความรู้สึกอบอุ่นใจให้แก่พี่น้องประชาชน ให้รู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน และเพื่อให้เกิดความรู้สึก หรือทัศนคติที่ดีต่อการทำงานของตำรวจจราจร”


ความคาดหวังของ พ.ต.อ.วีระวิทย์ ยังต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสังคม ด้วยการให้ข้อมูล ข่าวสาร และเฝ้าระวังภัย ตลอดจนร่วมกันป้องกันเหตุร้าย และปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในรอบบริเวณโรงเรียน รวมถึงสามารถเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจราจรได้อีกด้วย


ส่วนการช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องทำอย่างไร และตำรวจจะทำอย่างไรในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรบริเวณโรงเรียน เรื่องนี้ พ.ต.อ.วีระวิทย์ ได้กำชับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงไปปฏิบัติงานไว้หลายประการ


โดยกำชับให้งานสายตรวจ 1, 2, 3 และ 5 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจราจรสัมพันธ์ ออกตรวจตราเพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และตรวจสภาพการจราจรในเขตพื้นที่ ในช่วงเวลา 09.00-15.00น. โดยกำหนดให้ตรวจในช่วงเวลา09.00-12.00 น. 1 ครั้ง และเวลา 12.00-15.00 น. 1 ครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังชั่วโมงเร่งด่วนการจราจรหนาแน่น


นอกจากนั้น สั่งให้เจ้าหน้าที่ชุดจราจรสัมพันธ์ของแต่ละงาน ออกตรวจสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอดจนศิษย์เก่า และสมาคมผู้ปกครองต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การป้องกันอาชญากรรม และเหตุร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น


รวมทั้งเพื่อรับทราบสภาพปัญหาด้านการจราจรในพื้นที่ เพื่อนำมาสู่การกำหนดมาตรการแก้ไขต่อไป นี่เป็นแผนงานคร่าวๆ ที่จะส่งตำรวจลงไปปฏิบัติงาน โดยจะเริ่มโครงการในวันที่ 1 มิ.ย.นี้


นอกจากการทำงานของตำรวจที่ต้องเน้นให้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ในส่วนของวินัยจราจรที่ต้องอยู่กับผู้สัญจร ก็ต้องเข้มงวดไม่แพ้กัน พ.ต.อ.วีระวิทย์ เจ้าของแนวคิด “ละ เลิก ทำ” จึงทำคู่มือเตรียมให้จราจรหมวกส้มนำไปแจกจ่าย ตรงตามหัวข้อชัดเจน “เปิดเทอมเมื่อใด มีวินัยเหมือนเดิม”


ผู้กำกับวีระวิทย์ บอกว่า การเคารพกฎหมายต้องเข้มงวดจริงจัง เพราะถือเป็นวินัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถ เกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สิน ยิ่งช่วงเปิดเทอมต้องเข้มงวดเพราะนั่นรวมถึงความปลอดภัยของบุตรหลานด้วย


“เปิดเทอมเมื่อใด วินัยเหมือนเดิม” จึงกลายเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำมาใช้ แต่จะมีข้อปฏิบัติอย่างไรให้สอดคล้องกับ”ละ 4ทำ 5หน้าโรงเรียน ลดปัญหาจราจร”ไปดูกันโครงการละ 4 ทำ 5 กัน


1.ละ!จอดรถฝ่าฝืนกฎ 1.ทำ!ศึกษาเส้นทาง ไม่จอดรถฝ่าฝืนกฎจราจร เช่น การจอดรถในเขตเครื่องหมายห้ามศึกษาเส้นทาง และช่องทางการจราจรให้ถูกต้องและควรออกจากบ้าน จอดซ้อนคัน หรือจอดรถกีดขวางการจราจรให้เร็วกว่าปกติ 20-30นาที


2.ละ!ขับรถไร้น้ำใจ 2.ทำ !เตรียมความพร้อมไม่ขับรถปาดหน้าคันอื่นที่ต่อแถวอยู่ ไม่ขับรถตัดกระแสทางตรงหรือวงเวียน ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์การเรียน กระเป๋าหนังสือไว้ให้พร้อม


3.ละ!จอดแช่ไว้นานๆ ไม่จอดรถแช่ไว้นานเกินความจำเป็น เพื่อให้รถคันอื่นได้มีที่จอด 3.ทำ! จอดรถในจุดที่กำหนดหรือหยุดรถรอนักเรียนนานจนรถคันหลังที่ตามมาติดขัด จอดรถบริเวณที่ทางโรงเรียน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจกำหนดไว้


4.ละ!ลงรถกลางถนน 4.ทำ!นัดหมายให้ชัดเจนไม่ปล่อยให้นักเรียนลงรถบริเวณช่องทางเดินรถที่สอง หรือกลางถนนโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการกีดขวางการจราจร การรับนักเรียน ควรนัดเวลาและสถานที่ให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว


5.ทำ!ปฏิบัติตามกฎจราจร ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามเครื่องหมาย สัญญาณจราจร และคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอย่างเคร่งครัด


อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาจราจรทุกอย่างต้องช่วยกัน โดยเฉพาะเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องไม่ประมาท เพียงเท่านี้ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับทุกฝ่าย แต่หากใครไม่ปฏิบัติตาม ครั้งนี้ตำรวจเขาเอาจริงจะหาว่าไม่บอกกันนะครับ !!!


แจ้งข้อเสนอแนะผ่าน sms


กองบังคับการตำรวจจราจร จัดทำแผน “SMS ช่วยงานตำรวจ” โดยให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสงานจราจรว่า มีความต้องการให้ตำรวจทำอย่างไร ปรับตรงไหน เพิ่มตรงไหน แจ้งเข้ามาได้ทันทีผ่านระบบข้อความของโทรศัพท์มือถือ หมายเลข 4221227 ครั้งละ 3 บาท รายละเอียด คือ พิมพ์ 1 เว้นวรรค หากต้องการแจ้งข้อมูลการกระทำผิดกฎหมาย อันเป็นเหตุให้เกิดจราจรติดขัด พิมพ์ 2 เว้นวรรค หากต้องการแนะนำการจัดการจราจร พิมพ์ 3 เว้นวรรค หากต้องการร้องเรียน หรือชมเชยการทำงานของตำรวจจราจรกลาง(หมวกส้ม) เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงการทำงานต่อไป


 


 


ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ โดย กันติพิชญ์ ใจบุญ

Shares:
QR Code :
QR Code