เปิดการเรียนรู้จาก “ตำรา” สู่ “การทำงานจริง”

          สพป.ชม.2 ร่วมกับสสค.และภาคส่วนต่างๆ เปิดคาราวานการเรียนรู้จาก “ตำรา” สู่ “การทำงานจริง-ขายจริง” ตามฮอยวิถีคนดอยจาวแม่แตง หนึ่งในต้นแบบนำร่องการจัดการศึกษาในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การมีงานทำให้สุดทาง ชี้ส่วนกลางต้องปรับการวัดประเมินผลใหม่ให้สอดรับกับการศึกษาภาคท้องถิ่น


/data/content/25315/cms/e_bdeilntv2378.jpg


           เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ปางช้างแม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2 ร่วมกับปางช้างแม่แตง องค์การบริหารส่วนตำบลกี๊ดช้าง และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดคาราวานการเรียนรู้จาก “ตำรา” สู่ “การทำงานจริง-ขายจริง” ตามฮอยวิถีคนดอยจาวแม่แตง หนึ่งในต้นแบบนำร่องการจัดการศึกษาในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การมีงานทำให้สุดทาง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเวทีการศึกษาล้านนาสไตล์ บนเส้นทางการเป็นจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อชาวเชียงใหม่ทุกคน ซึ่งจัดร่วมโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และสสค.


            นายรตนภูมิ โนสุ  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 กล่าวว่า สพป.เชียงใหม่เขต 2 ได้มีความพยายามในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำมาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ว่า ยังมีโรงเรียนแกนนำที่ทำงานได้เฉพาะจุด ไม่ครบวงจร เพราะแต่ละโรงเรียนต่างมีจุดแข็งจุดอ่อนในบริบทชุมชมที่ต่างกัน สิ่งสำคัญคือ ทำอย่างไรให้เกิดการทำงานที่เป็นเครือข่าย มีการประสานงานให้ท้องถิ่น โรงเรียน อบต. ร่วมทั้งภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่มาช่วยกันจัดการศึกษาร่วมกันเพื่อให้สอดรับตามวิถีชุมชน และต้องยอมรับว่า ปัจจุบันทั้งตัวครู หรือผู้อำนวยการโรงเรียนจะทำงานเพียงลำพังอีกไม่ได้ แต่ต้องอาศัยการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกัน วันนี้จึงจัดให้โรงเรียนที่สนใจจำนวน 40 โรงเรียน ส่งครูมาเรียนรู้งานจากเด็กตามอาชีพต่างๆที่สนใจ เพื่อกลับไปดูว่าหลักสูตรในห้องเรียนจะบูรณาการวิชาชีพ และวิชาทักษะชีวิตต่างๆเหล่านี้เข้าไปได้อย่างไร ซึ่งจะสร้างให้เกิดความสบายใจในการทำงานระดับพื้นที่และวิถีชีวิตจริง ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า ทั้งครูและเด็กนักเรียนยังถูกบีบรัดจากการประเมินผลที่ไม่สอดรับกับสภาพความเป็นจริง ทำให้ครูเองก็ไม่กล้ากระโดดลงมาบูรณาการกิจกรรมดังกล่าวอย่างเต็มที่


          “หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าต้องมีการปรับวิธีวัดประเมินผลใหม่ ไม่ใช่วัดเฉพาะความรู้จากการสอบ เพราะความรู้บางครั้งวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่เรื่องทักษะชีวิตหรืออาชีพ เด็กบางคนมีความรู้มากกว่าครูที่สอนเสียอีก ฉะนั้นสังคมก็ต้องปรับวิธีการคิดและค่านิยมเรื่องปริญญา เพราะปัจจุบันแรงงานต่างชาติกำลังจะกลับประเทศของเขาเมื่อเปิดการค้าเสรีเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลในอนาคตคนไทยจะขาดแรงงานบางประเภทได้ หากไม่มีการเตรียมพร้อมอย่างเหมาะสม”


          ดร.บุญทา ชัยเลิศ ผู้ประกอบการปางช้างแม่แตง กล่าวว่า ทั้งในฐานะครูเก่า ในฐานะคนแม่แตง และใน/data/content/25315/cms/e_cdghjlnry157.jpgฐานะที่เคยเป็นเด็กด้อยโอกาสมาก่อน ตนก็อยากจะทำอะไรให้เด็ก เยาวชนแม่แตงบ้าง ก็เลยคิดว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ ผมจึงได้เปิดพื้นที่ในปางช้างแม่แตงให้เด็กมีโอกาสได้นำอาชีพที่ลองฝึกทำ ไม่ว่าจะเป็นการนวด การทำขนม การทำของที่ระลึกจากที่ทำและบริการกันในหมู่กลุ่มโรงเรียน ก็ขยายสู่ชุมชน สู่กลุ่มนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น เด็กจะได้เรียนรู้นำเสียงสะท้อนของลูกค้าไปปรับใช้ให้ได้บริการและผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เราจะช่วยกันจัดการศึกษาอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนด้วย เพื่อไม่ให้เด็กของเราเมื่อเรียนจบไปต้องออกไปทำงานต่างบ้านต่างเมือง ฉะนั้นเขตพื้นที่การศึกษาจึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่สกัดศักยภาพและความพร้อมของเด็กและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนว่าเหมาะสมเรื่องใด จะได้ส่งเสริมต่อยอดได้อย่างเหมาะสมต่อไป


         ด.ช.นราธิป ธิใจ หรือน้องทู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่าจี้วังแดง กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุคที่ได้เรียนรู้จากการเรียนเพื่อประกอบอาชีพคือ การได้ลงมือคิดทำและปฏิบัติด้วยตัวเอง เพราะถ้าเรียนอยู่แต่ในห้อง อย่างมากก็ขีดเขียนคิดในกระดาษ แต่ถ้าเรียนภาคปฏิบัติจะได้ลงมือทำด้วยตนเอง ได้ลงหว่านข้าว ได้ฝึกแปรรูปผลิตภัณฑ์ ได้เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู ปลูกผัก ซึ่งจะได้เรียนรู้จากหน้างานว่า ถ้าเกิดปัญหาขึ้นจะคิดแก้ไขอย่างไรเป็นกระบวนการจนสำเร็จ นอกจากนี้การฝึกทักษะอาชีพยังสอนให้เรียนรู้การทำงานเป็นระบบ ฝึกการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ ความอดทน และอดออม จากแต่ก่อนที่อาจจะบ่นขี้เกียจ แต่สุดท้ายจะเรียนรู้ว่าเราโชคดี ได้เรียนรู้ว่าความเหนื่อยยากในการทำงาน ซึ่งผมภูมิใจมากเวลาเห็นคนมาซื้อข้าว ซื้อปลา ซื้อผัก และเชื่อว่า ผมสามารถนำกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไปใช้หารายได้ หรือประกอบอาชีพได้จริง


 


 


           ที่มา : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

Shares:
QR Code :
QR Code